เตรียมยลโฉม "บลู ซูเปอร์มูน" เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนสู่จุดใกล้โลกที่สุดของปี

ภาพซูเปอร์มูนในนิวยอร์ก

ในเดือนสิงหาคมนี้เกิดเหตุการณ์พระจันทร์เต็มดวงถึงสองครั้ง ซึ่งโลกตะวันตกเรียกการเต็มดวงครั้งที่สองว่า "บลูมูน" โดยจะเกิดขึ้นในวันพุธนี้

ในคืนวันพุธเช่นกัน ฟ้าและดาวยังจะเป็นฉากให้กับพระจันทร์ดวงไซส์ใหญ่พิเศษ ที่รู้จักในชื่อ "ซูเปอร์มูน" จึงทำให้คืนวันพุธเป็นคืนเเห่ง "บลู ซูเปอร์มูน"

ณ เวลานั้น ชาวโลกจะเห็นดวงจันทร์ที่เคลื่อนมาอยู่ใกล้โลกที่สุดแห่งปี คือ อยู่ในระยะ 222,043 ไมล์ (357,344 กิโลเมตร) ถือว่าใกล้กว่า "ซูเปอร์มูน" ครั้งก่อนเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ราว 100 ไมล์ (160 กิโลเมตร)

AP Week in Pictures, Europe and Africa

เหตุการณ์พิเศษอีกอย่างหนึ่งคือดาวเสาร์จะปรากฏให้เห็นอยู่ด้านขวาของดวงจันทร์เหนือไป 5 องศาเมื่อดวงอาทิตย์ตกลงในบางพื้นที่ ตามข้อมูลขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซ่า

และดาวเสาร์จะเคลื่อนตามเข็มนาฬิการอบดวงจันทร์ เมื่อเวลายามค่ำคืนดำเนินไป

เจียนลูคา มาซี่ ผู้ก่อตั้งโครงการ Virtual Telescope Project กล่าวว่าหากใครพลาด "บลู ซูเปอร์มูน" ในครั้งนี้จะต้องรอต่อไปอีก 14 ถึงปี 2037 กว่าจะเกิดปรากฏการณ์นี้ซ้ำอีกครั้ง

  • ที่มา: เอพี