วิเคราะห์ปัจจัยที่อาจทำให้ความตกลงการค้าเสรี "อาร์เซ็ป" เสร็จไม่ทันสิ้นปี

FILE - Trade ministers of 16 countries from the Asia-Pacific region stand for a photo at the Regional Comprehensive Economic Partnership ministerial meeting in Hanoi, May 22, 2017. The ministers gather in Hanoi to speed up the China-led trade agreement.

Your browser doesn’t support HTML5

Asia Trade

ขณะที่กำลังเกิดความหวังของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศคู่ค้า ต่อความพยายามสรุปความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) ให้ทันสิ้นปี

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ชี้ว่า กลุ่มการค้าที่อาจเกิดขึ้นมีความเสี่ยงจากการถูกตอบโต้จากสหรัฐฯ และจากความสลับซับซ้อนของประเด็นภายในอาร์เซ็ปเอง

ปัจจุบันอเมริกากำลังขัดแย้งทางการค้าอย่างต่อเนื่องกับจีน ซึ่งเป็นหนึ่งประเทศคู่ค้าภายใต้อาร์เซ็ป (Regional Comprehensive Economic Partnership)

กรอบความรวมมือซึ่งถูกริเริ่มขึ้นเมื่อ 7 ปีก่อน ประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมถึงไทย และหุ้นส่วนทางการค้าอีก 6 ชาติ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

หากพิจารณาถึงขนาดเศรษฐกิจรวม ประเทศเหล่านี้ มีจีดีพี (Gross domestic product) คิดเป็นร้อยละ 32 ของโลก และมีการค้าระหว่างกันคิดเป็นเกือบร้อยละ 30 ของการค้าโลก

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม นายกรัฐมนตรีไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวในงานแถลงข่าวที่กรุงเทพฯ ระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีของสมาคมอาเซียนว่า น่าจะมีการสรุปการเจรจาอาร์เซ็ปได้ก่อนสิ้นปีนี้

Thai Prime Minister Prayuth Chan-ocha gestures the Thai way shortly after accepting the ASEAN Summit and Related Summits' hosting and chairmanship for next year in Thailand from Singaporean Prime Minister Lee Hsien Loong, in Singapore, Nov. 15, 2018.

อาจารย์ สจ๊วต ออร์ ที่สอนวิชากฎหมายและธุรกิจ ที่มหาวิทยาลัย Deakin University ในออสเตรเลีย กล่าวว่าเป็นที่เข้าในได้ว่า ภายในอาเซียน มีความกังวลเกี่ยวกับอุปสรรคทางการค้าจากสหรัฐฯ ที่อาจกระทบกับประเทศสมาชิก

เขาเสริมว่าการก่อตั้งอาร์เซ็ปจะลดการพึ่งพาสหรัฐฯ ขณะที่จะมีการสร้างระบบของตลาดที่มีการประสานงานกันของอาเซียนเอง

เมื่อเดือนที่แล้วประธานาธิบดีทรัมป์ ขู่ว่าจะเพิ่มการใช้มาตรการลงโทษทางภาษีต่อสินค้าจากประเทศจีน มูลค่ารวม 3 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการยกระดับความขัดแย้งทางกาค้าระหว่างสองประเทศมหาอำนาจที่กินเวลามา 18 เดือนแล้ว

ท่ามกลางสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ดูเหมือนว่าจีนให้ความหวังกับอาร์เซ็ปเช่นกัน

สำนักข่าวซินหัวของจีน รายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า กว่าสองในสามของการเจรจาเรื่องการเข้าถึงตลาดระดับทวิภาคีภายใต้กรอบอาร์เซ็ป หาข้อสรุปได้แล้ว และน่าจะมีการสานต่อการเจรจาอย่างแข็งขันต่อไปจากนี้

นอกจากเรื่องการค้าเสรี และการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบราคาถูก อาร์เซ็ปยังครอบคลุม เรื่องกฎหมายแรงงาน สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา

ดังนั้นจึงดูเหมือนว่า ยังมีอีกหลายประเด็นที่ประเทศสมาชิกต้องหารือกัน

ราจีฟ บีสวาส หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจ ของ IHS Markit ที่สิงคโปร์กล่าวว่า ความหวังที่จะให้เกิดข้อสรุปอย่างสมบูรณ์ภายในสิ้นปีนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะอาร์เซ็ปมีหัวข้อในการเจรจา 18 หัวข้อ แต่มีเพียง 7 หัวข้อที่ได้รับความตกลงไปเท่านั้น

เขากล่าวว่าหากพิจารณาถึงเวลาที่ใช้ในการผลักดันให้เกิดกฎหมายรองรับอาร์เซ็ปในแต่ละประเทศ ขั้นตอนเหล่านี้ใช้เวลานาน ดังนั้นการรีบเร่งสรุปกรอบอาร์เซ็ปจึงดูไม่สมเหตุสมผลตามสถานการณ์จริง

ความล่าช้าอีกประการหนึ่งอาจมาจากอินเดีย

ราจีฟ บีสวาส แห่ง IHS Markit ระบุว่าอินเดียยังคงไม่ผลักดันการเจรจาอาร์เซ็ปเพราะ กังวลเรื่องสินค้านำเข้าราคาถูกจากจีน และการแข่งขันในภาคการผลิตจากแดนมังกร

นักวิเคราะห์ โอห์ ไอ ซุน แห่งสถาบัน Institute of International Affairs ที่สิงคโปร์ กล่าวว่า อินเดียประเทศเดียวสามารถชะลอการเจรจาของอีก 15 ประเทศในกลุ่ม แม้ว่า จีนและอาเซียนแทบจะเห็นพ้องต้องกันในเรื่องการเข้าถึงตลาดและการค้าที่เสรี

สถาบัน Brookings ที่กรุงวอชิงตันเปิดเผยเมื่อเดือนพฤศจิกายนว่า หากเกิด อาร์เซ็ปขึ้นจริงตามเป้าหมายคือ ในอีก 11 ปีจากนี้ กลุ่มประเทศอาร์เซ็ปซึ่งมีประชากรคิดเป็นร้อยละ 47 ของโลก จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 286,000 ล้านดอลลาร์ให้กับเศรษฐกิจโลกต่อปี