วิกฤติโควิด-19 สกัดหลายประเทศอาเซียนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง

FILE - Traders are seen in front of a screen with mostly red trading figures, at Thailand's Stock Exchange, in Bangkok, March 13, 2020.

Your browser doesn’t support HTML5

Business News

รายงานของบริษัทวิจัยด้านเศรษฐกิจ Capital Economics ชี้ว่า การระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก อาจส่งผลให้ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 8 จาก 10 ประเทศ มีการเจริญเติบโตติดลบ ยกเว้นแค่ 2 ประเทศ คือ เวียดนาม และเมียนมา

Capital Economics คาดการณ์ว่า มูลค่าผลผลิตรวมหรือ จีดีพี ของอาเซียน จะลดลงราว 10% ในปีนี้ จากที่เพิ่มขึ้นราว 5% เมื่อปีที่แล้ว โดยคาดว่า มาเลเซีย ฟิลิิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย จะมีการหดตัวของเศรษฐกิจมากที่สุดในอาเซียน

การถดถอยของภาคการท่องเที่ยว ภาคการผลิต และการส่งออก ล้วนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนที่พึ่งพาอุตสาหกรรมเหล่านี้ ขณะที่การจับจ่ายใช้สอยในประเทศก็ลดลงในช่วงที่รัฐบาลใช้มาตรการล็อคดาวน์เช่นกัน

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำลงยังส่งผลกระทบต่อรายได้ของบรูไน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลักด้วย

รายงานคาดว่า อัตราการเจริญเติบโตที่ลดลงนี้จะทำให้หลายประเทศในอาเซียนยังไม่สามารถขยับขึ้นไปอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางได้ในปีนี้

เอมี เซียร์ไรท์ ที่ปรึกษาอาวุโสของ Center for Strategic and International Studies (CSIS) เตือนว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 อาจฝังลึกและยาวนานกว่าเมื่อคราวที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว แม้ว่าประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนจะมีเครื่องมือที่ดีกว่าเดิมในการรับมือกับการเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจรอบใหม่แล้วก็ตาม

เวลานี้หลายประเทศในอาเซียนได้นำมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจออกมาใช้ รวมถึงการให้เงินสดแก่ครอบครัวต่าง ๆ การงดเว้นภาษีให้กับบางธุรกิจ และการให้เงินกู้พิเศษแก่บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ด้วย