เจาะสมรรถนะ 'แอร์ฟอร์ซวัน' เครื่องบินประจำตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ

President Barack Obama boards Air Force One during a refueling stop at Lajes Field, Azores on the island of Terceira, Nov. 18, 2016. Obama left Europe and is heading to South America to attend the annual Asia Pacific Economic Cooperation (APEC) forum, tak

สตีฟ เฮอร์แมน หัวหน้าผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบขาวของวีโอเอ ที่ติดตามภารกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯไปหลายแห่งถ่ายทอดประสบการณ์และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของเครื่องบินประจำตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ

Your browser doesn’t support HTML5

Air Force One

เครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือ ที่มีรหัสเรียกขานว่า ‘แอร์ฟอร์ซวัน’ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นเครื่องบินโบอิ้ง 747-200B ที่ผลิตขึ้นเป็นพิเศษสำหรับใช้งานในกองทัพสหรัฐฯ เมื่อปี ค.ศ. 1990 จำนวน 2 ลำ

ทั้ง 2 ลำมีรหัสที่ท้ายเครื่อง คือ 28000 และ 29000 และมีชื่อว่า VC-25A โดยสงวนไว้ใช้กับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

เครื่องบินยักษ์ความเร็วเทียบเท่า 'ความเร็วเสียง'

เครื่องบินแอร์ฟอร์ซวันมีความสูงราวตึก 6 ชั้นและความยาวพอๆกับสนามฟุตบอล มีสมรรถนะสูง และสามารถทำเพดานบินสูงสุดที่ 14,000 เมตร หรือราว 46,000 ฟุต ความเร็วสูงสุดที่ 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจจะทำความเร็วมากกว่านั้นได้หากต้องการ

Air Force One, with President Barack Obama aboard, departs on a rainy Dec. 6, 2016, from Andrews Air Force Base, Maryland.


นาวาเอก มาร์ค ทิลล์แมน ผู้ที่ทำหน้าที่กัปตันเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน เมื่อวันที่ 11 กันยายน ปีค.ศ.2001 หรือเหตุการณ์ 9/11 เคยบอกว่า นักบินบนเครื่องบิน F-16 ที่คุ้มกันและนำทางในขณะนั้นเคยขอให้ลดความเร็วลง เพราะเขาพาเจ้านกยักษ์บินในระดับเร็วเกือบเท่าความเร็วเสียง หรือ ราว 332 เมตรต่อวินาที จนเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่ากำแพงเสียง และทำให้เครื่องบินรบติดตามต้องเผาผลาญน้ำมันเร็วกว่าปกติ

'ห้องทำงานลอยฟ้า' กับระบบความปลอดภัยสูงสุดของผู้นำสหรัฐฯ

เครื่องบินเจท VC-25A ไม่เหมือนเครื่องบินโบอิ้งทั่วไป เพราะนอกจากจะมีอุปกรณ์และระบบการสื่อสารที่ออกแบบพิเศษให้ทนทานต่อคลื่นการระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ที่อาจจะทำลายการสื่อสารทางวิทยุแล้ว ยังมีระบบป้องกันจรวดมิสไซล์ และห้องปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ทันสมัยบนเครื่องด้วย

ภายในเครื่องจะครอบคลุม 3 ชั้น ขณะที่ผู้นำสหรัฐฯจะมีห้องทำงาน ห้องนอน และห้องน้ำ อยู่เป็นส่วนสัดเฉพาะ

President Donald Trump, with his Chief of Staff Reince Priebus, sits at his desk on Air Force One upon their arrival at Andrews Air Force Base, Jan. 26, 2017.

บินบนอากาศได้นานตามที่ต้องการ

เครื่องบินแอร์ฟอร์ซวันยังสามารถบินอยู่บนอากาศได้นานเท่าที่จะนานได้ เพราะแม้ถังน้ำมันที่จุน้ำมันได้กว่า 200,000 ลิตรจะหมด ก็สามารถเติมน้ำมันทางอากาศได้ตลอดเวลาผ่านเครื่องบินเติมเชื้อเพลิง KC-135 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ

สตีฟ เฮอร์แมน ผู้สื่อข่าววีโอเอ เล่าว่า การจะขึ้นเครื่องแอร์ฟอร์ซวันมีการกลั่นกรองหลายขั้นตอน และต้องมีการระบุรายชื่อล่วงหน้าก่อนการเดินทาง

ในวันเดินทาง ประธานาธิบดีสหรัฐฯจะนั่งรถกันกระสุนประจำตำแหน่งไปขึ้นเครื่องบริเวณด้านหน้า โดยจะมีเจ้าหน้าที่ไม่กี่คนติดตามเข้าไป ขณะที่คณะผู้ติดตามส่วนใหญ่ รวมทั้งคณะผู้สื่อข่าวติดตามที่มีรายชื่อจะขึ้นเครื่องทางด้านหลัง

A group of reporters about to board Air Force One at Joint Base Andrews, Maryland on Apr. 6, 2017. (Photo: S. Herman / VOA)


มาตรการเข้มก่อนขึ้นเครื่อง ต้องมีรายชื่อล่วงหน้า

แน่นอนว่าการรักษาความปลอดภัยตรวจสอบสัมภาระและบุคคลก่อนขึ้นเครื่องจะมีหลายขั้นตอน และก่อนขึ้นบันไดเครื่องก็จะมีการเช็ครายชื่อและบัตรประจำตัวอีกครั้ง เพื่อความแน่ใจ

ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบขาวของวีโอเอ เล่ารายละเอียดด้วยว่า ที่นั่งของของคณะผู้สื่อข่าวอยู่ด้านหลังเครื่องติดกับบันไดเชื่อมขึ้นไปด้านในขณะที่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมีไม่มากนัก และผู้สื่อข่าวจะไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนเครื่องได้ แต่สามารถขอเจ้าหน้าที่ใช้โทรศัพท์บนเครื่องได้ในกรณีเร่งด่วน

แน่นอนว่าการโดยสารเครื่องบินของกลุ่มผู้สื่อข่าวเพื่อติดตามประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะไม่สะดวกสบายเหมือนเครื่องบินพลเรือนทั่วไป แต่ก็มีของว่างประเภทผลไม้และของขบเคี้ยวให้รับประทาน

และหากมีการเดินทางเป็นระยะเวลานานจะมีบริการเสิร์ฟอาหาร แต่ก็จะไม่ทุกครั้งและไม่ระบุว่ามื้อต่อไปจะเสิร์ฟหรือไม่

ด้วยความที่เป็นเครื่องบินของกองทัพ สตีฟ เฮอร์แมน บอกว่า กฎเกณฑ์หลายอย่างที่บังคับใช้บนสายการบินพลเรือนจะไม่มีการกล่าวถึง เช่นการคาดเข็มขัดประจำที่ หรือการมีเสียงตามสายของกัปตันมาทักทายเรื่องของสภาพอากาศ

President Donald Trump arrives aboard Air Force One at Philadelphia International Airport in Philadelphia, Jan. 26, 2017.

ส่วนเจ้าหน้าที่บนเครื่องล้วนเป็นนายทหารอากาศ จะทำหน้าบริการบนเครื่อง แต่จะไม่สวมเครื่องแบบ บอกชั้น หรือลำดับยศ ด้วยเหตุผลในกรณีที่ต้องออกคำสั่งด้านความปลอดภัยกับผู้โดยสารที่อาจจะมีชั้นยศที่สูงกว่า

นักข่าวติดตามกับ ประธานาธิบดี 'ทรัมป์'

สตีฟ เฮอร์แมน เล่าบรรยากาศบนเครื่องจากประสบการณ์ตรงที่เดินทางร่วมกับ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ว่า ด้วยความที่ ประธานาธิบดีทรัมป์ไม่ค่อยจะลงรอยกับสื่อมวลชนกระแสหลักมากนัก ทำให้บรรยากาศการทำงานของผู้สื่อข่าวจะค่อนข้างระมัดระวัง ทั้งการวางตัวและการพูดคุยกันบนเครื่อง

แต่ก็มีบ้างที่ ผู้นำสหรัฐฯจะออกมาให้สัมภาษณ์บนเครื่องในประเด็นที่ต้องการแถลง แต่สไตล์ของ ประธานาธิบดีทรัมป์ คือมักจะพูดโดยไม่ค่อยรอให้ผู้สื่อข่าวเตรียมตัว เปิดกล้องหรือเครื่องบันทึกเสียงให้พร้อมก่อน ทำให้บางครั้งผู้สื่อข่าวต้องเปิดอุปกรณ์ต่างๆไว้เพื่อเตรียมพร้อมอยู่เสมอ

President Donald Trump speaks with reporters on Air Force One while in flight from Andrews Air Force Base, Md., to Palm Beach International Airport, Florida, April 6, 2017.

​อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของนายฌอน สไปเซอร์ โฆษกทำเนียบขาว ที่มักจะเดินลงมาทักทายทีมสื่อมวลชน และพูดคุยเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เป็นข่าวบ้าง

ก่อนหน้านี้ ทำเนียบขาวเตรียมการที่จะจัดทำเครื่องบิน แอร์ฟอร์ซวันลำใหม่ แต่ ประธานาธิบดี ทรัมป์ ได้สั่งยกเลิกการจัดทำเครื่องบินมูลค่า 4 พันล้านเหรียญดังกล่าว แต่จะมีการพิจารณาใหม่ภายใต้รัฐบาลของทรัมป์ในสมัยนี้