ชวนดูทรัพยากรแร่ในอัฟกานิสถาน 

Afghanistan Mining Gold mine Afghanistan local miners

กลุ่มตาลิบันกลับมามีอำนาจควบคุมแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในอัฟกานิสถานอีกครั้ง หลังถูกโค่นอำนาจไปเมื่อ 20 ก่อน

อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียมของอัฟกานิสถานเคยระบุเมื่อปีค.ศ. 2010 ว่า แหล่งแร่ธรรมชาติในประเทศอาจมีมูลค่าสูงถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่า มูลค่าในปัจจุบันอาจสูงกว่าเดิม โดยเฉพาะหลังจากที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นหลังสถานการณ์การระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสในหลายประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้นในปีนี้ ทำให้ราคาแร่ในปีนี้พุ่งสูงขึ้น

ทั้งนี้ อัฟกานิสถานอุดมไปด้วยแหล่งแร่ต่างๆ เช่น ทองแดง ทองคำ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ยูเรเนียม บอกไซต์ ถ่านหิน แร่เหล็ก แร่หายาก ลิเธียม โครเมียม ตะกั่ว สังกะสี หินอัญมณี ทัลก์ กำมะถัน ทราเวอร์ทีน ยิปซัม และหินอ่อน

สำนักข่าวรอยเตอร์รวบรวมข้อมูลและมูลค่าของแร่ที่สำคัญในอัฟกานิสถาน ตามการประมาณการของกระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียมของอัฟกานิสถานและรัฐบาลสหรัฐฯ

Afghanistan Economy


ทองแดง

รายงานจากกระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียมของอัฟกานิสถานเมื่อปีค.ศ. 2019 ระบุว่า อัฟกานิสถานมีแหล่งแร่ทองแดงในประเทศเกือบ 30 ล้านตัน

แผนงานการทำเหมืองของกระทรวงที่เผยแพร่ในปีเดียวกันยังประมาณการด้วยว่า มีแร่ทองแดงอีก 28.5 ล้านตันในแหล่งสะสมชั้นหินเนื้อดอกที่ยังไม่ถูกสำรวจ ทำให้อัฟกานิสถานมีแร่ทองแดงในประเทศรวมกันทั้งสิ้นเกือบ 60 ล้านตัน ซึ่งมีมูลค่าหลายแสนล้านดอลลาร์ตามราคาปัจจุบันในท้องตลาด


เมื่อปีค.ศ. 2008 บริษัท Metallurgical Corp of China หรือ MCC และบริษัท Jiangxi Copper สองบริษัทโลหะของจีน ได้สัมปทานเหมืองเมส อัยนาค ซึ่งเป็นเหมืองทองแดงที่ใหญ่ที่สุดของอัฟกานิสถาน เป็นเวลา 30 ปี MCC คาดการณ์ว่า บริษัทจะทำเหมืองแร่ทองแดงได้ปริมาณ 11.08 ล้านตัน ซึ่งมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ ตามราคาของตลาดซื้อขายโลหะลอนดอน



แร่ลิเธียมและกลุ่มแร่หายาก

บันทึกภายในของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อปีค.ศ. 2010 เรียกอัฟกานิสถานว่าเป็น “ซาอุดิอาระเบียแห่งลิเธียม” ซึ่งหมายความว่า อัฟกานิสถานอาจเป็นแหล่งแร่ลิเทียมที่สำคัญของโลก เช่นเดียวกับที่ซาอุดิอาระเบียเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญของโลก

ทั้งนี้ แร่ลิเธียมเป็นแร่ที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่ในเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า และเป็นแร่ที่มีบทบาทสำคัญในการวงการอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ

รายงานจากกรมสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐฯ เมื่อปีค.ศ. 2017-2018 ระบุว่า อัฟกานิสถานมีแหล่งแร่สปอดูมีน ซึ่งเป็นแร่ในกลุ่มแร่ลิเธียม แต่ไม่ได้ประมาณการว่ามีแร่ดังกล่าวจำนวนเท่าใด ในขณะที่รายงานของอัฟกานิสถานเมื่อปีค.ศ. 2019 ซึ่งอ้างอิงการประเมินร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และอัฟกานิสถาน ไม่ได้ระบุถึงแร่ลิลิเธียมเลย

อย่างไรก็ตาม รายงานของอัฟกานิสถานฉบับดังกล่าวระบุว่า มีกลุ่มแร่หายากจำนวน 1.4 ล้านตันในประเทศ โดยกลุ่มแร่ดังกล่าวประกอบด้วยแร่ 17 ชนิดที่ใช้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและอุปกรณ์ทางทหารนอกจากนี้ อัฟกานิสถานยังมีน้ำมันดิบราว 1,600 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 107,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก๊าซธรรมชาติ 15 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และก๊าซธรรมชาติเหลวอีก 500 ล้านบาร์เรล

FILE - An Afghan businessman checks lapis lazuli at his shop in Kabul, March 28, 2016. The brilliant blue stone, prized for millennia, is found almost exclusively in Afghanistan and is a key part of the nation's mineral wealth.


หินอัญมณี

จังหวัดบาดัคชานทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานเป็นแหล่งแร่ลาพิส ลาซูลี หรืออัญมณีสีน้ำเงินเข้ม ที่สำคัญมานานหลายพันปี นอกจากนี้อัฟกานิสถานยังมีหินอัญมณีอื่นๆ เช่น ทับทิมและมรกต ด้วย

รายงานของอัฟกานิสถานเมื่อปีค.ศ. 2019 ระบุว่า ลาพิส ลาซูลี ที่มีคุณภาพสูงอาจมีมูลค่าถึง 150 ดอลลาร์ต่อกะรัต อย่างไรก็ตาม การทำเหมืองแร่หินอัญมณีส่วนใหญ่ในประเทศเป็นการทำเหมืองแร่ผิดกฎหมายและทำให้ประเทศขาดรายได้ไป

แร่อื่นๆ

รายงานจากกระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียมยังระบุด้วยว่า อัฟกานิสถานมีแร่เหล็กสำหรับผลิตเหล็กกล้ากว่า 2,200 ล้านตัน มูลค่ากว่า 350,000 ล้านดอลลาร์ตามราคาท้องตลาดในปัจจุบัน

อัฟกานิสถานยังมีแหล่งแร่ทองคำ 2,700 กิโลกรัม มูลค่าเกือบ 170 ล้านดอลลาร์ ทางกระทรวงยังระบุด้วยว่า อัฟกานิสถานมีแร่อะลูมิเนียม ดีบุก ตะกั่ว และสังกะสีในหลายพื้นที่ของประเทศ

mineral resources in afghanistan infographic