วิกฤติโควิด-19 ดันกระแสต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่าในอาเซียน

In this Jan. 9, 2020, photo provided by the Anti-Poaching Special Squad, police look at items seized from store suspected of trafficking wildlife in Guangde city in central China's Anhui Province.

การสำรวจความคิดเห็นล่าสุดในอาเซียน ชี้ว่า ประชาชนเกือบทั้งหมดต้องการให้ภาครัฐจัดการกับปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าให้หมดไป โดยผลสำรวจนี้ถือเป็นเสียงต่อต้านประเด็นดังกล่าวที่ชัดเจนที่สุดนับตั้งแต่มีการสอบถามความเห็นคนทั่วไปมา และออกมาหลังเกิดวิกฤติโควิด-19 ที่เชื่อกันว่าน่าจะเริ่มต้นจากสัตว์ป่า

องค์กร World Wildlife Fund (WWF) เปิดเผยว่า ในการทำการสำรวจประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 9 ใน 10 คน เรียกร้องให้รัฐบาลของตน กำจัดตลาดค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายและไม่ได้รับการควบคุมโดยภาครัฐให้หมดไป

WWF กล่าวว่า การลักลอยค้าสัตว์ป่านั้นคือภัยคุกคามรุนแรงอันดับสอง รองจากการทำลายที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ที่ส่งผลร้ายแรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพบนโลกนี้

ทั้งนี้ ภูมิภาคอาเซียนมักถูกใช้เป็นเส้นทางผ่านของผู้ที่ลักลอบค้าสัตว์ป่าไปยังประเทศจีน และรัฐบาลที่เกี่ยวข้องจะออกกฎเกณฑ์และกฎหมายใหม่ๆ มาปราบปรามแล้วบ้าง

รายงานข่าว ระบุว่า ความเชื่อที่ว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้แพร่กระจายมาจากสัตว์สู่มนุษย์ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ทำให้เกิดปฏิกิริยาหลายอย่างจากทั่วโลก ทั้งการแชร์ภาพชาวจีนทานค้างคาวหรืองู และการที่รัฐบาลจีนเองสั่งห้ามการรับประทานเนื้อสัตว์ป่าทันที

การสำรวจของ WWF ชี้ว่า รัฐบาลในอาเซียนเริ่มออกคำสั่งเช่นเดียวกันนี้แล้ว

ในฟิลิปปินส์ รัฐบาลกำลังร่างกฎหมายที่มีบทลงโทษจำคุกสูงสุด 20 ปี สำหรับผู้ที่ทำความผิดกรณีลักลอบค้าสัตว์ป่า ส่วนที่เวียดนาม รัฐบาลเริ่มการปราบปรามการค้าผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ป่า ขณะที่รัฐบาลไทย กัมพูชา และพม่า กำลังถูกกดดันให้ยกระดับความเข้มข้นของมาตรการต่างๆ อยู่

องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า การเชื่อมต่อกันในโลกเวลานี้หมายถึง ความเสี่ยงของการกลับมาระบาดใหม่ของโรคยังมีได้ต่อไป และยืนยันด้วยว่า โควิด-19 นั้นคือ โรคที่อุบัติจากการที่มนุษย์ได้รับเชื้อจากสัตว์ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นค้างคาว เช่นเดียวกับ ไวรัสซาร์ส ไวรัสเมอร์ส และไวรัสอีโบลา