ลิ้งค์เชื่อมต่อ

‘อนามัยโลก’ ครวญ ยุโรปฉีดวัคซีนต้านโควิดให้ประชาชนช้าไปมาก


FILE - Hans Kluge, World Health Organization regional director for Europe, attends a meeting in Moscow, Russia, Sept. 23, 2020. (Sputnik/via Reuters)
FILE - Hans Kluge, World Health Organization regional director for Europe, attends a meeting in Moscow, Russia, Sept. 23, 2020. (Sputnik/via Reuters)

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า ยุโรปมีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 แก่ประชาชาชนอย่าง “ล่าช้ามาก” ขณะที่กำลังเผชิญกับการระบาดระลอกใหม่และเชื้อโคโรนาไวรัสที่กลายพันธุ์และติดต่อได้ง่ายขึ้น

ดร.ฮานส์ คลุกย์ ผู้อำนวยการยุโรปของ WHO ระบุในแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดี เรียกร้องให้ผู้นำชาติยุโรปเร่งการผลิตวัคซีน ลดขั้นตอนการแจกจ่ายวัคซีน และแจกจ่ายวัคซีนทุกโดสที่มีอยู่ให้แก่ประชาชน

แม้จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสรายใหม่ทั่วยุโรปจะลดลงจนเหลือต่ำกว่า 1 ล้านคนเมื่อห้าสัปดาห์ที่แล้ว แต่ทาง WHO ระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่กลับมาเพิ่มขึ้นเป็น 1.6 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตรายใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 24,000 คน

ดร.คลุกย์ระบุว่า มีชาวยุโรปไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับวัคซีนต้านโรคโควิด-19 อย่างน้อยหนึ่งโดส และมีชาวยุโรปเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว

A sign reading "Vaccination" is pictured as Spain resumes vaccination with AstraZeneca shots, amid the coronavirus outbreak, at Enfermera Isabel Zendal hospital in Madrid, Spain, March 24, 2021.
A sign reading "Vaccination" is pictured as Spain resumes vaccination with AstraZeneca shots, amid the coronavirus outbreak, at Enfermera Isabel Zendal hospital in Madrid, Spain, March 24, 2021.

ทั้งนี้ โครงการฉีดวัคซีนของยุโรปเผชิญปัญหาจากการแจกจ่ายวัคซีนของบริษัทแอสแตราเซเนกา (AstraZeneca) และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด โดยฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน ประกาศว่าจะจำกัดการให้วัคซีนสูตรดังกล่าวแก่ประชาชนเนื่องจากกังวลถึงภาวะข้างเคียงอย่างการเกิดลิ่มเลือด แม้ว่า อีเมอร์ คุก ผู้อำนวยการบริหารขององค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) จะกล่าวเมื่อวันพุธว่า ทางองค์การไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อสนับสนุนการจำกัดการให้วัคซีนดังกล่าวก็ตาม

ในขณะเดียวกัน บริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) และบริษัทไบโอเอนเท็ค (BioNTech) ประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีว่า วัคซีนของทางบริษัทมีประสิทธิผลสูงสุดถึง 6 เดือนหลังได้รับวัคซีนครบทั้งสองโดสแล้ว โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากการศึกษาขั้นสุดท้ายในอาสาสมัครกว่า 44,000 คน ที่ยังคงดำเนินการศึกษาอยู่

ผลการศึกษาชิ้นนี้ระบุว่า วัคซีนสูตรนี้มีประสิทธิผลต้านโรคโควิด-19 ที่แสดงอาการอยู่ที่ 91 เปอร์เซ็นต์ และมีประสิทธิผลยิ่งขึ้นไปอีกในการป้องกันโรคโควิด-19 ระยะรุนแรง โดยจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 927 คน นับจนถึงวันที่ 13 มีนาคมนั้น มี 77 คน อยู่ในกลุ่มอาสาสมัครรับวัคซีนตัวจริง และอีก 850 คนเป็นอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนหลอก

ผลการศึกษาระบุด้วยว่า ไม่พบข้อกังวลร้ายแรงเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน และวัคซีนสูตรนี้ยังเหมือนจะป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัสกลายพันธุ์ที่พบในแอฟริกาใต้เป็นแห่งแรกได้ด้วย

ความคืบหน้าล่าสุดนี้มีขึ้นหนึ่งวันหลังจากที่ไฟเซอร์ประกาศว่า ได้ผลิตวัคซีน 120 ล้านโดสสำหรับสหรัฐฯ โดยทางบริษัทจะส่งวัคซีน 200 ล้านโดสให้สหรัฐฯ ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม และ 300 ล้านโดส ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม ตามที่เคยประกาศไว้เมื่อช่วงต้นปี

French President Emmanuel Macron is seen on a TV screen as he addresses the nation about the state of the coronavirus disease (COVID-19) outbreak as a fast-spreading third wave of COVID-19 infections threatens to over-run hospitals in France, March 31, 20
French President Emmanuel Macron is seen on a TV screen as he addresses the nation about the state of the coronavirus disease (COVID-19) outbreak as a fast-spreading third wave of COVID-19 infections threatens to over-run hospitals in France, March 31, 20

ทางด้านฝรั่งเศส ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาคร็อง สั่งให้มีการปิดเมืองทั่วประเทศเมื่อวันพุธ เพื่อชะลอการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่สาม ซึ่งรวมถึงการปิดโรงเรียนเป็นเวลาสามสัปดาห์ โดยจะเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ และการจำกัดการเดินทางทั่วประเทศเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันเสาร์นี้

เดิมทีนั้น ผู้นำฝรั่งเศสต้องการเลี่ยงมาตรการปิดเมืองและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม มีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฝรั่งเศสแล้วเกือบ 100,000 คน ฝรั่งเศสยังฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ช้ากว่ากำหนด จำนวนผู้ติดเชื้อที่มากขึ้นยังส่งผลต่อแผนกผู้ป่วยวิกฤติในพื้นที่ที่มีการระบาดหนักด้วย

XS
SM
MD
LG