ลิ้งค์เชื่อมต่อ

โคโรนาไวรัสกลายพันธุ์อาจทำให้วัคซีนต้านโควิดใช้ได้ผลไม่ถึงปี 


People line up to be tested for COVID-19 during a drive to test two million people in 48 hours, in Beijing.
People line up to be tested for COVID-19 during a drive to test two million people in 48 hours, in Beijing.
Mutations Vaccine Ineffective
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:31 0:00


นักระบาดวิทยาชั้นนำจาก 28 ประเทศทั่วโลกระบุในผลสำรวจล่าสุดของ องค์กรด้านวัคซีนเพื่อประชาชน หรือ People’s Vaccine Alliance ว่า การกลายพันธุ์ของโคโรนาไวรัสอาจจะทำให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 รุ่นแรกซึ่งเป็นสูตรที่ใช้อยู่ในตอนนี้ หมดประสิทธิภาพภายในระยะเวลาหนึ่งปี หรือ เร็วกว่านั้น เพราะฉะนั้นจึงควรมีการปรับสูตรและออกวัคซีนรุ่นที่สองเพื่อครอบคลุมเชื้อที่กลายพันธุ์โดยเร็ว

ในการสำรวจครั้งนี้ 88 เปอร์เซ็นต์ของนักระบาดวิทยาชี้ว่า ปัญหาการแจกจ่ายวัคซีนที่ล่าช้าและจำนวนผู้ที่รับวัคซีนที่มีน้อยในหลายประเทศล้วนส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ของโคราน่าไวรัส ทั้งนี้ การเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชากรทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่ยากจนที่ยังขาดแคลนวัคซีนควรได้รับความสำคัญจากทุกฝ่าย

อาจารย์ด้านสาธารณสุขโลกของมหาวิทยาลัยเอดินเบอระในประเทศสก็อต์แลนด์ ศาสตราจารย์ เดวี่ สิห์ดาร์ เตือนว่า ยิ่งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดำเนินต่อไปมากเท่าไหร่ โอกาสกาสเกิดการกลายพันธุ์จนถึงการเกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่จะทำให้วัคซีนป้องกันโควิดหมดประสิทธิภาพก็มีมากขึ้น ตามรายงานขององค์การอ็อกแฟม

เขายังพูดต่ออีกว่า ในขณะนี้ ประเทศยากจนหลายประเทศถูกมองข้ามและไม่ได้รับความช่วยเหลือในการรับมือกับโรคโควิด-19 ประเทศเหล่านี้ขาดแคลนทั้งวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน

กลุ่ม People’s Vaccine Alliance คาดการณ์ หากการฉีดวัคซีนในปัจจุบันดำเนินต่อไปด้วยอัตราเท่าเดิม เมื่อถึงปีหน้า ประชากรเพียง 10 เปอร์เซ็นต์จากประเทศยากจนจะได้รับวัคซีน

ผลข้างเคียงจากวัคซีน และ การฉีดกระตุ้น (บูสเตอร์โดส)

ในปีที่ผ่านมาจะมีการผลิตและรับรองวัคซีนต้านโควิดจากหลายบริษัท อาทิ เช่น แอสตราเซเนกา โมเดอร์นา ไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทค แต่ความกังวลเรื่องผลข้างเคียงจากวัคซีนของบริษัทแอสตราเซเนกาต่อลิ่มเลือดทำให้บางประเทศในยุโรปและประเทศไทยชะลอการฉีดวัคซีนดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หลังการตรวจสอบด้านความปลอดภัยของผู้ที่เข้ารับวัคซีนโควิด-19 บริษัทแอสตราเซเนกาได้ยืนยันว่าวัคซีนของทางบริษัทนั้นปลอดภัยและไม่เพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

นอกเหนือจากนี้ บริษัทยาต่างๆที่ผลิตวัคซีนต้านโควิดก็ได้มีประกาศถึงแผนการการคิดค้นบูสเตอร์โดสหรือการฉีดกระตุ้นการป้องกัน ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโครานาที่เกิดขึ้นแล้วในสหราชอาณาจักรและแอฟริกาใต้

รองศาสตร์จารย์ด้านการระบาดของมหาวิทยาลัยเยลของสหรัฐ เกร็กก์ กอนแซลเวส กล่าว ผ่านองค์การอ็อกแฟม ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีหลายล้านคนทั่วโลก และ การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแพร่กระจายของเชื้อก็เกิดขึ้นทุกวัน เชื้อกลายพันธุ์บางชนิดสามารถโจมตีภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ร้ายแรงขึ้นและส่งผลทำให้การระบาดอันตรายมากขึ้นอีกด้วย

เขายังพูดคล้ายคลึงกับอาจารย์สิห์ดาร์ จากมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ ถึงการความเป็นธรรมในการแจกจ่ายวัคซีน โดยระบุว่า ถ้าประชากรโลกทั้งหมดไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ การกลายพันธ์ุก็จะเกิดขึ้นและทำให้วัคซีนต้านโควิดที่มีอยู่ในตอนนี้หมดประสิทธิภาพ จะต้องมีการฉีดบูสเตอร์โดสเพื่อรับมือกับปัญหาการกลายพันธุ์

Isaac Hoffman holds his son Leo, 10 months, while receiving his Pfizer vaccine, March 25, 2021, in Spanish Fork, Utah.
Isaac Hoffman holds his son Leo, 10 months, while receiving his Pfizer vaccine, March 25, 2021, in Spanish Fork, Utah.

การแจกจ่ายวัคซีน

ตามรายงานของสำนักข่าวซีเอ็นบีซี ประเทศที่คิดค้นและผลิตวัคซีนต้านโควิดอย่าง สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ จีน นั้นจะให้ความสำคัญในการแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชากรของชาติตนเองมากกว่าการแจกจ่ายหรือบริจาคให้เพื่อนบ้าน

องค์กรอนามัยโลกยังได้ออกมาเรียกร้องให้ประเทศผู้ผลิตและประเทศที่พัฒนาแล้วเลิกกักตุนวัคซีนและเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ ซึ่งโครงการดังกล่าวรณรงค์ช่วยจัดหาวัคซีนให้กับประเทศที่มีรายได้ต่ำ

ทั้งนี้ ความขัดแย้งในการแจกจ่ายและการบริจาควัคซีนให้กับประเทศอื่นๆนั้นเป็นปัญหาที่หลายๆชาติยกขึ้นมาถกเถียงกัน โดยเฉพาะระหว่างสหภาพยุโรป กับ สหราชอาณาจักรที่ดูเหมือนจะเกิดความยืดเยื้อแต่สุดท้ายก็ตกลงกันได้เมื่อสหภาพยุโรปตัดสินใจไม่ใช้มาตรการห้ามส่งออกวัคซีนต้านโควิด-19 ผ่านช่องแคบอังกฤษ

XS
SM
MD
LG