ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ธนาคารเอดีบีเตือนการขยายตัวรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรมเวียดนามกำลังสร้างมลภาวะด้านสิ่งเเวดล้อม


FILE - Traffic moves besides the Saigon river during rush hour in Ho Chi Minh City, Vietnam, Nov. 18, 2015. Senior officials warn air pollution levels in Ho Chi Minh City and Hanoi alone could soon match the deteriorating air quality of Beijing.
FILE - Traffic moves besides the Saigon river during rush hour in Ho Chi Minh City, Vietnam, Nov. 18, 2015. Senior officials warn air pollution levels in Ho Chi Minh City and Hanoi alone could soon match the deteriorating air quality of Beijing.

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วของเวียดนามนี้สร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก

please wait

No media source currently available

0:00 0:05:20 0:00

เจ้าหน้าที่อาวุโสหลายคนของเวียดนามเตือนว่า ระดับมลพิษทางอากาศในกรุงฮานอยและเมืองโฮจิมินห์ซิตี้ อาจจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นไปเทียบเท่ากับที่เกิดขึ้นในกรุงปักกิ่งของจีน

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ ADB ได้เตือนว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรมเวียดนาม ได้ส่งผลให้มลภาวะทางสิ่งเเวดล้อม ทั้งดิน น้ำและอากาศ ทวีความรุนแรงขึ้น

ในการศึกษาปัญหาสิ่งเเวดล้อมในเวียดนามจากปี ค.ศ 2011 ถึง 2015 กระทรวงสิ่งเเวดล้อมเวียดนามเปิดเผยว่า ระดับคุณภาพอากาศได้ย่ำแย่ลงในเขตเมืองหลายเมือง โดยเฉพาะในกรุงฮานอย และเมืองฮาลอง เช่นเดียวกับเมืองโฮจิมินห์ซิตี้

ความกังวลหลักคือการเพิ่มขึ้นของปริมาณเเก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)

ในกรุงฮานอย ปริมาณของเเก๊สชนิดนี้เพิ่มขึ้นไปสูงกว่าปริมาณที่ได้รับอนุญาตถึง 1.3 เท่าตัว และในเมืองฮาลอง ระดับ NO2 เพิ่มสูงกว่าระดับมาตรฐาน 1.2 เท่าตัว ในเมืองโฮจิมินห์ซิตี้ เมืองใหญ่ทางเศรษฐกิจทางใต้ของประเทศ ระดับเเก๊ส NO2 อยู่สูงกว่าระดับที่ได้รับอนุญาตถึง 2 เท่าตัว

เเก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์มีผลเสียต่อสุขภาพของเด็กและผู้สูงวัย เพราะปอดที่อ่อนแอกว่าผู้ใหญ่ทั่วไปทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจชนิดต่างๆ

Hoang Duong Tung รองผู้อำนวยการผ่ายจัดการด้านสิ่งเเวดล้อมแห่งเวียดนาม กล่าวกับสื่อมวลชนท้องถิ่นว่า การจราจรที่คับคั่งและกิจกรรมของภาคอุตสาหกรรม เป็นสาเหตุหลักให้เกิดมลภาวะทางอากาศในกรุงฮานอย และเมืองโฮจิมินห์ซิตี้

ส่วนในเมืองฮาลอง สาเหตุหลักมาจากการทำเหมืองถ่านหินและโรงงานไฟฟ้า

เศรษฐกิจที่ดีขึ้นในเวียดนามทำให้คนเวียดนามมีกำลังซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์มาขับขี่กันมากขึ้น ตำรวจจราจรในกรุงฮานอยรายงานว่า มียวดยานส่วนตัวรายใหม่ลงทะเบียนโดยเฉลี่ย 19,000 คันต่อเดือน

รายงานด้านสิ่งแวดล้อมระดับชาติประจำปี 2013 พบว่า ระดับมลพิษทางอากาศในกรุงฮานอย ย่ำเเย่ลงจากระดับที่ถือว่าไม่ดีต่อสุขภาพ ไปอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย 265 วันต่อหนึ่งปี

Hoang กล่าวว่า หากเวียดนามยังไม่ลุกขึ้นมาเเก้ปัญหา ก็เป็นไปได้ว่ากรุงฮานอยและเมืองโฮจิมินห์ซิตี้ จะกลายเป็นเมืองที่มีระดับมลพิษทางอากาศเลวร้ายเท่ากับกรุงปักกิ่งของจีนในอนาคตอันใกล้

มลภาวะทางสิ่งเเวดล้อมเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนในเวียดนามเเล้ว

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา บรรดาชาวประมงในเวียดนามออกมาชุมนุมประท้วงด้วยความโกรธ หลังจากมีปลาตายกว่า 100 ตัน ตามเเนวชาวฝั่งทะเลในสี่จังหวัดตอนกลางของประเทศ

จากการสอบสวนสาเหตุการตายของปลา พบว่าโรงงานผลิตเหล็กกล้าของบริษัทไต้หวัน Formosa Ha Tinh เป็นต้นเหตุของปัญหา เพราะได้ระบายน้ำเสียที่เป็นพิษลงในแหล่งน้ำ

และต่อมาในเดือนมิถุนายน ทางบริษัทได้ยอมรับความรับผิดชอบทั้งหมด และสัญญาว่าจะจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหายมูลค่า 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

Protesters hold placards during a protest calling for Taiwanese largest industrial group Formosa Plastics to investigate and voluntarily disclose its own findings on massive fish deaths in Vietnam, in Taipei, Taiwan, June 17, 2016.
Protesters hold placards during a protest calling for Taiwanese largest industrial group Formosa Plastics to investigate and voluntarily disclose its own findings on massive fish deaths in Vietnam, in Taipei, Taiwan, June 17, 2016.

นายกรัฐมนตรีเวียดนาม Nguyen Xuan Phuc ได้ประกาศคำสั่งของทางการเมื่อเร็วๆ นี้ให้บริษัทไต้หวันดังกล่าว จ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม โดยทางการเวียดนามชี้ว่า ผู้เสียหายเริ่มได้รับค่าชดเชยกันเเล้วในเดือนนี้ โดยได้รับกันตั้งเเต่คนละ 130 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ถึง 1,600 ดอลล่าร์สหรัฐฯ

Jonathan London อาจารย์สอนด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองโลก ที่มหาวิทยาลัย Leiden ในเนเธอร์เเลนด์ กล่าวว่า การส่งเสริมเศรษฐกิจและการลงทุนที่เปิดเสรีของเวียดนาม สร้างความกังวลในเรื่องผลกระทบทางสิ่งเเวดล้อมที่ตามมา

London กล่าวว่าผลลัพท์ของยุทธศาสตร์นี้ไม่ใช่ความสำเร็จเสมอไป โดยเฉพาะเมื่อมาถึงประเด็นการปกป้องสิ่งเเวดล้อม เขายกตัวอย่างโรงงาน Formosa Ha Tinh ของไต้หวันที่ระบายน้ำเสียที่เป็นพิษลงในเเหล่งน้ำจนทำให้ปลาตายจำนวนมาก

Xavier Depouilly ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท Indochina Research กล่าวว่า มลภาวะทางสิ่งเเวดล้อมที่เลวร้ายลงในเวียดนามนี้ เป็นเพียงเเค่หนึ่งในปัญหาหลายๆ อย่างที่รัฐบาลเวียดนามกำลังประสบ

อย่างไรก็ดี การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามยังเป็นไปในทางบวกสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ประมาณว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะลดลงจาก 6.7 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 2015 มาอยู่ที่ 6 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ และน่าจะกระเตื้องขึ้นไปอยู่ที่ 7 เปอร์เซ็นต์ในปีหน้า

ทางการเวียดนามชี้ว่า ในปี 2015 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเวียดนาม เพิ่มขึ้น 12.5 เปอร์เซ็นต์เป็น 22,800 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และในอีกหลายปีต่อจากนี้ คาดว่าจะมีการลงทุนมากขึ้นจากจีน เพราะนักลงทุนต่างมองหาทางเลือกฐานการผลิตที่ถูกกว่าจีน

บรรดานักลงทุนต่างชาติใหญ่ๆ เหล่านี้มาจาก เกาหลีใต้ มาเลเซีย ญี่ปุ่น อังกฤษ และไต้หวัน

(รายงานโดย Ron Corben / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG