ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหรัฐฯ เผย เปียงยางยังไม่ตอบกรณีทหารอเมริกันวิ่งข้ามพรมแดนเข้าเกาหลีเหนือ


A North Korean military guard post, background, and a South Korean post, front, are seen in Paju South Korea, July 20, 2023. North Korea wasn't responding Thursday to U.S. attempts to discuss the American soldier who bolted across the border.
A North Korean military guard post, background, and a South Korean post, front, are seen in Paju South Korea, July 20, 2023. North Korea wasn't responding Thursday to U.S. attempts to discuss the American soldier who bolted across the border.

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เปิดเผยว่า กรุงเปียงยางยังไม่ได้ตอบกลับการติดต่อของกรุงวอชิงตันเพื่อสอบถามเกี่ยวกับชะตากรรมของนายทหารอเมริกันที่หนีข้ามชายแดนเข้าไปในเกาหลีเหนือ หลังถูกสั่งให้เตรียมตัวเดินทางกลับสหรัฐฯ เพื่อรับโทษทางวินัยและเตรียมถูกปลดจากกองทัพ

พลทหารทราวิส คิง คือ นายทหารที่วิ่งหนีออกจากกลุ่มทัวร์พื้นที่หมู่บ้านปันมุมจอม บริเวณพรมแดนเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในช่วงบ่ายวันอังคาร โดยไม่มีใครทราบเหตุผลว่าเกิดอะไรขึ้น แต่เจ้าหน้าที่ทหารวัย 23 ปีนั้นควรจะเดินทางกลับไปฐานทัพในสหรัฐฯ ตั้งแต่วันก่อนหน้าแล้ว หลังถูกจำคุกเป็นเวลา 2 เดือนในข้อหาทำร้ายร่างกายและได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำเกาหลีใต้เมื่อสัปดาห์ก่อน

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยเมื่อวันพุธว่า เจ้าหน้าที่เพนตากอนพยายามติดต่อไปยังกองทัพประชาชนเกาหลีเหนือเพื่อสอบถามเรื่องของ คิง แต่ไม่ได้รับการตอบกลับแต่อย่างใด

รายงานข่าวระบุว่า สหรัฐฯ สามารถติดต่อฝ่ายเกาหลีเหนือผ่านระบบสายด่วนซึ่งรู้จักกันในชื่อ “โทรศัพท์สายชมพู” และติดตั้งอยู่ที่กองบัญชาการองค์การสหประชาชาติซึ่งสหรัฐฯ ดูแลอยู่ที่หมู่บ้านปันมุมจอมบริเวณชายแดนระหว่างสองเกาหลี แต่ในเวลานี้ ไม่มีรายงานว่า สหรัฐฯ หรือ เกาหลีใต้ใช้ช่องทางดังกล่าวพูดคุยกับฝ่ายเกาหลีเหนือเลย

ในวันเกิดเหตุนั้น ผู้หญิงรายหนึ่งที่เข้าร่วมทัวร์พร้อมกับเขาเปิดเผยกับเอพีว่า ตอนแรกเธอคิดว่า การวิ่งข้ามพรมแดนของเขาเป็นเพียงการเล่นตลกเท่านั้น จนกระทั่งได้ยินเสียงเจ้าหน้าที่ทหารอเมริกันรายหนึ่งที่ลาดตระเวณอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ ตะโกนเรียกให้คนอื่นช่วยหยุดคิงเอาไว้

ทั้งนี้ พลทหารคิง คือ ชาวอเมริกันคนแรกที่ถูกควบคุมตัวในเกาหลีเหนือในรอบเกือบ 5 ปี

โดยปกตินั้น แทบไม่เคยมีข่าวเกี่ยวกับชาวอเมริกันหรือชาวเกาหลีใต้ที่แปรพักตร์ไปอยู่เกาหลีเหนือเลย แต่ในทางกลับกัน มีชาวเกาหลีเหนือกว่า 30,000 คนที่หลบหนีมาเกาหลีใต้เพราะการถูกกดขี่ทางการเมืองและสภาพการณ์อันยากเข็ญทางเศรษฐกิจที่ดำเนินมาตั้งแต่หลังสงครามเกาหลียุติลงเมื่อปี ค.ศ. 1953

  • ข้อมูลบางส่วนมาจากเอพี
XS
SM
MD
LG