ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วุฒิสภาสหรัฐฯ ผ่านกฎหมายจำกัดอำนาจ 'ทรัมป์' ประกาศสงครามอิหร่าน


FILE - President Donald Trump listens to a question from a reporter, in the Oval Office of the White House, in Washington, Feb. 12, 2020.
FILE - President Donald Trump listens to a question from a reporter, in the Oval Office of the White House, in Washington, Feb. 12, 2020.

วุฒิสภาสหรัฐฯ ลงมติในวันพฤหัสบดี ผ่านร่างกฎหมายที่เรียกร้องให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่มีอำนาจสั่งการโดยตรงให้ใช้กำลังทหารต่ออิหร่านภายใต้ War Power Act นอกจากจะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาสหรัฐฯ เสียก่อน

วุฒิสมาชิกจากพรรครีพับลิกันบางส่วนเปลี่ยนฝ่ายมาสนับสนุน ส.ว. ของพรรคเดโมแครต ทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านสภาสูงไปด้วยคะแนนเสียง 55 - 45

คาดว่า ปธน.ทรัมป์ จะใช้อำนาจผู้นำฝ่ายบริหารวีโต้ร่างกฎหมายนี้ ด้วยเหตุผลว่าการจำกัดอำนาจประธานาธิบดีในการประกาศสงคราม ถือเป็นเรื่องอันตราย โดยทรัมป์ได้ทวีตข้อความเมื่อวันพุธก่อนการลงมติว่า

"เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงแห่งชาติ ที่ร่างกฎหมายจำกัดอำนาจการประกาศสงครามกับอิหร่านนี้จะไม่ผ่านวุฒิสภา นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญที่เราไม่ควรแสดงความอ่อนแอ และหากมือของประธานาธิบดีโดนมัดเอาไว้ อิหร่านจะได้ใจ"

ปธน.ทรัมป์ กล่าวว่า คนอเมริกันส่วนใหญ่ต่างสนับสนุนการโจมตีเพื่อสังหารนายพลกาส์เซ็ม สุไลมานี ผู้บัญชาการทหารระดับสูงของอิหร่าน เมื่อเดือนที่แล้ว และบอกด้วยว่า พรรคเดโมแครตเพียงแต่ต้องการทำให้พรรครีพับลิกันขายหน้าเท่านั้น

แต่ ส.ว.ทิม เคน จากพรรคเดโมแครต ผู้เสนอร่างกฎหมายนี้ ระบุว่าถึงเวลาแล้วที่จะดึงอำนาจการประกาศสงครามกลับมาอยู่ในมือของรัฐสภา ในขณะที่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน รุนแรงขึ้น

ตามบทที่หนึ่งของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการประกาศสงคราม ขณะที่รัฐธรรมนูญบทที่สองกำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพ

โดยผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญมีเจตนาให้มีการแยกและถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการนำประเทศเข้าสู่สงครามโดยปราศจากการไตร่ตรอง หรือด้วยการตัดสินใจเพียงฝ่ายเดียว

อย่างไรก็ตาม ในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกันนั้น ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารมักจะขัดแย้งกันเสมอในการตีความเรื่องอำนาจการประกาศและทำสงครามตามรัฐธรรมนูญ

ในปี ค.ศ. 1973 หรือเมื่อ 47 ปีที่แล้ว สภาคองเกรสได้ออกกฏหมายชื่อ War Powers Act หรือรัฐบัญญัติอำนาจในการทำสงคราม เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับปฏิบัติการทางทหารในต่างประเทศ กฎหมายฉบับนี้เป็นผลจากการที่ประธานาธิบดีนิกสันในขณะนั้น สั่งให้กองทัพสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดโจมตีเป้าหมายในกัมพูชาในช่วง "สงครามเวียดนาม” อย่างลับ ๆ

โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดว่าประธานาธิบดีจะต้องรายงานต่อรัฐสภาภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากที่ส่งกำลังทหารสหรัฐฯ ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ และจะต้องให้คำอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับการตัดสินใจดังกล่าวด้วย

กฎหมาย War Powers Act เมื่อปี 1973 นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่า จะมีการตัดสินใจร่วมกันโดยสภาคองเกรสกับประธานาธิบดีเรื่องการส่งทหารอเมริกันไปรบในต่างประเทศ รวมทั้งกำหนดว่าผู้นำฝ่ายบริหารจะต้องยุติบทบาททางทหารในต่างแดนดังกล่าวหลังจาก 60 วัน หากรัฐสภาไม่มีมติประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ

ถึงกระนั้นก็ตาม ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทั้งที่มาจากพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันมักท้าทายและตีความกฎหมายเรื่องนี้ต่างไปจากการตีความของรัฐสภา และหลังจากนั้นในปี 2001 มีการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในสหรัฐฯ ซึ่งประธานาธิบดีบุชระบุว่าเป็นการกระทำในทางมุ่งร้ายที่ยั่วยุให้เกิดสงคราม รัฐสภาสหรัฐฯ จึงได้ผ่านกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่มีชื่อว่า Authorization for Use of Military Force หรือกฎหมาย AUMF เพื่ออนุมัติให้ใช้กำลังทหารต่อสู้กับภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศได้ ทั้งที่เป็นบุคคลหรือเป็นองค์กร

อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ก็ยิ่งทำให้เกิดการโต้เถียงเรื่องการใช้อำนาจของประธานาธิบดี เพราะทั้งประธานาธิบดีบุช ประธานาธิบดีโอบามา และประธานาธิบดีทรัมป์ ต่างได้ตีความเรื่องภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายในวงกว้างเพื่อใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนเรื่องการใช้กำลังทหารสหรัฐฯ ในต่างประเทศ

สำหรับการสังหารนายพลกาส์เซ็ม สุไลมานี แม้ประธานาธิบดีทรัมป์จะไม่ได้อ้างอำนาจตามกฏหมาย AUMF เรื่องการดำเนินการกับผู้ก่อการร้าย ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เคยประกาศให้นายพลสุไลมานีเป็นผู้ก่อการร้ายก็ตาม

แต่นักวิเคราะห์ด้านตะวันออกกลา งอย่างเช่น คุณ Kirsten Fontenrose ได้ชี้ว่า ดูเหมือนประธานาธิบดีทรัมป์จะใช้อำนาจตามกฏหมาย War Powers Act ฉบับเดิม

XS
SM
MD
LG