ลิ้งค์เชื่อมต่อ

UN เรียกร้องรัฐบาลต่างๆ เร่งปกป้องโลกจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง


000_1MX0QM
000_1MX0QM

รายงานขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN เตือนว่า ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น เว้นแต่จะมีการดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างเร่งด่วนเพื่อปกป้องมวลมนุษยชาติและโลกของเรา

รายงานดังกล่าวเผยแพร่ออกมาเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ (IPCC) และมีเนื้อหาเกี่ยวกับการที่ธรรมชาติและสังคมโลกที่กำลังประสบปัญหาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับสภาพอากาศ

รายงานระบุว่า ความร้อนจัด สภาพอากาศที่แห้งแล้ง และน้ำท่วมกำลังคุกคามการอยู่รอดของพืชและสัตว์บางชนิด โดย IPCC กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่างๆ กำลังปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็ว ร้ายแรงและแพร่กระจายเป็นวงกว้างมากกว่าที่คาดไว้เมื่อ 20 ปีก่อน

อันโตนิโอ กูเทอเรซ (Antonio Guterres) เลขาธิการใหญ่ UN กล่าวว่า โลกจำเป็นต้องมีการลงทุนในวิธีการใหม่ๆ เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น แต่บรรดาผู้นำโลกกลับล้มเหลวในการดำเนินการตามขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อจำกัดสาเหตุหลักประการหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็คือ ก๊าซคาร์บอนที่ดักจับความร้อน

In this file photo, Bruce McDougal watches embers fly over his property as the Bond Fire burns through the Silverado community in Orange County, Calif., on Dec. 3, 2020. (AP Photo/Noah Berger, File)
In this file photo, Bruce McDougal watches embers fly over his property as the Bond Fire burns through the Silverado community in Orange County, Calif., on Dec. 3, 2020. (AP Photo/Noah Berger, File)

เขากล่าวด้วยว่า จำเป็นต้องมีการลงทุนจำนวนมากในโครงการและเทคโนโลยีเพื่อจำกัดมลพิษดังกล่าว ซึ่งเป็นอันตรายต่อประชากรโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเปราะบางมากที่สุดในโลก

ทางด้าน โมฮัมเม็ด อาดาว (Mohamed Adow) ผู้อำนวยการองค์กรนโยบายสภาพภูมิอากาศ Power Shift Africa ระบุในแถลงการณ์ว่า รายงานของสหประชาชาติฉบับนี้เป็นการปลุกสำนึกไปยังทุกพื้นที่ของโลกอย่างจริงจัง พร้อมชี้ว่า “ประเทศทางตอนเหนือของโลกที่ร่ำรวยและก่อมลพิษทั้งหลาย ได้เปลี่ยนแปลงโลกโดยการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล และตอนนี้ประเทศเหล่านั้นก็ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมเหล่านั้น”

นอกจากนี้ สหประชาชาติยังคาดหวังให้บรรดาผู้นำโลกใช้รายงานฉบับนี้เพื่อกำหนดนโยบายใหม่ๆ โดยรายงานดังกล่าวเผยแพร่ออกมา หลังบรรดาผู้นำโลกเข้าร่วมการประชุมเรื่องสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อ 3 เดือนก่อน

Roots are photographed near the old village of Aceredo in northwestern Spain, Friday, Feb. 11, 2022. (AP Photo/Emilio Morenatti, File)
Roots are photographed near the old village of Aceredo in northwestern Spain, Friday, Feb. 11, 2022. (AP Photo/Emilio Morenatti, File)

ทั้งนี้ ข้อตกลงปารีสปี ค.ศ. 2015 ขององค์การสหประชาชาติมีเป้าหมายที่จะควบคุมภาวะโลกร้อนโดยตั้งเป้าที่จะทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับยุคก่อนอุตสาหกรรม โดยรายงานของ UN ให้คำอธิบายถึงยุคก่อนอุตสาหกรรมว่า เป็นช่วงเวลาก่อนอุตสาหกรรมยุคใหม่ และกำหนดช่วงดังกล่าวให้เป็นระยะเวลา 50 ปีก่อนสิ้นปีคริสต์ศตวรรษ 1900

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ปัจจุบันโลกร้อนขึ้น 1.1 องศาเซลเซียสแล้วเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และก๊าซคาร์บอนที่ทำการกักเก็บความร้อนไว้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศกล่าวว่า สิ่งนี้จะเป็นตัวผลักดันอุณหภูมิให้สูงกว่าเป้าหมายของสหประชาชาติที่ 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2030

รายงานฉบับใหม่เตือนด้วยว่า หากความร้อนเพิ่มขึ้นเกินขีดจำกัดนั้น ระบบต่างๆ ของมวลมนุษย์และธรรมชาติจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่รุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งบางสิ่งบางอย่างจะไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ แม้ว่าภาวะโลกร้อนจะลดลงก็ตาม

IPCC ชี้ด้วยว่า ผู้คนหลายล้านกำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหารและน้ำอย่างรุนแรง โดยคนเหล่านั้นอาศัยอยู่ในแอฟริกา เอเชีย อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และบนเกาะเล็กๆ และในแถบอาร์กติก

In this file photo, rangers from the Sabuli Wildlife Conservancy supply water from a tanker for wild animals in the conservancy in Wajir County, Kenya, Oct. 26, 2021. (AP Photo/Brian Inganga, File)
In this file photo, rangers from the Sabuli Wildlife Conservancy supply water from a tanker for wild animals in the conservancy in Wajir County, Kenya, Oct. 26, 2021. (AP Photo/Brian Inganga, File)

หนึ่งในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็คือ แอฟริกา ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าที่อื่นในช่วงศตวรรษที่ 21 โดยมีผู้คนจำนวนมากอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล รายงานระบุว่าภายในปี 2060 ชาวแอฟริกันมากกว่า 190 ล้านคนจะตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

รายงานระบุด้วยว่า ผู้คนทั่วโลกราว 1,000 ล้านคนจะเผชิญกับความเสี่ยงจากภาวะน้ำท่วมบริเวณชายฝั่งจากน้ำทะเลที่สูงขึ้น และผู้คนจำนวนมากขึ้นจะต้องอพยพออกจากบ้านเรือนเนื่องจากภัยพิบัติทางสภาพภูมิอากาศต่างๆ โดยภัยทางธรรมชาติหลักๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นก็คือ เหตุอุทกภัย ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น และพายุโซนร้อน

Homes are flooded in the aftermath of Hurricane Ida, Monday, Aug. 30, 2021, in Jean Lafitte, Louisiana. (AP Photo/David J. Phillip, File)
Homes are flooded in the aftermath of Hurricane Ida, Monday, Aug. 30, 2021, in Jean Lafitte, Louisiana. (AP Photo/David J. Phillip, File)

อย่างไรก็ดี หากอุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชากรในประเทศที่มีรายได้ต่ำราว 183 ล้านคนต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหารภายในปี 2050 ด้วย

อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น แคร์รี (John Kerry) ซึ่งเป็นทูตพิเศษด้านสภาพอากาศของประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวว่า รายงานของ UN ฉบับนี้ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เลวร้ายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหากผู้คนยังคงเพิกเฉยต่อวิทยาศาสตร์ เขาคิดว่า มันไม่ใช่คำถามอีกต่อไปแล้วว่า โลกของเราจะสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤตได้หรือไม่ หากแต่เป็นคำถามที่ว่า เราจะสามารถหลีกเลี่ยงผลที่เลวร้ายที่สุดที่ตามมาได้หรือไม่ มากกว่า

  • ข้อมูลบางส่วนมาจาก เอพี รอยเตอร์

un climate report immediate action protect humanity planet ipcc parisagreement

XS
SM
MD
LG