ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เลขาฯ ยูเอ็น เตือนเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจากโควิดไม่เท่าเทียมกัน


U.N. Secretary-General Antonio Guterres is seen on a TV screen addressing remotely the WEF Davos Agenda virtual sessions at the WEF's headquarters in Cologny near Geneva, Jan. 17, 2022.
U.N. Secretary-General Antonio Guterres is seen on a TV screen addressing remotely the WEF Davos Agenda virtual sessions at the WEF's headquarters in Cologny near Geneva, Jan. 17, 2022.
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:56 0:00


เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเทอเรซ กล่าวกระตุ้นให้บรรดานักธุรกิจชั้นนำระหว่างประเทศและนักเศรษฐศาสตร์ ช่วยกันทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากการระบาดของโควิด-19 เป็นไปอย่างเท่าเทียมทั่วโลก

นายกูเทอเรซ กล่าวในวันจันทร์ที่การประชุม World Economic Forum ซึ่งปีนี้จัดขึ้นผ่านวิดีโอออนไลน์เนื่องจากการระบาดใหญ่ โดยระบุว่า ปัญหาที่เกิดจากอัตราเงินเฟ้อสูง นโยบายการคลังแบบหดตัว การขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งราคาอาหารและพลังงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อทั่วทุกมุมโลกและสกัดกั้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง

เลขาธิการใหญ่ยูเอ็น กล่าวว่า การฟื้นตัวของประเทศต่าง ๆ ยังคงเปราะบางและไม่เท่าเทียม โดยประเทศรายได้ต่ำต่างเผชิญกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปีและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือด้านการบรรเทาหนี้และการเงิน

นายกูเทอเรซเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบการเงินโลกเพื่อให้กระจายประโยชน์ไปถึงทุกประเทศ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว องค์การอนามัยโลกระบุว่า 90% ของประเทศทั่วโลกยังคงไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนให้ถึง 40% ภายในสิ้นปีที่แล้ว โดยเฉพาะในแอฟริกา ที่ซึ่งประชากรราว 1,000 ล้านคนยังคงไม่ได้รับวัคซีนโควิดเข็มแรก

เลขาธิการใหญ่ยูเอ็น กล่าวว่า หากเรายังไม่สามารถฉีดวัคซีนให้กับทุกคนได้ ก็มีโอกาสที่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่จะกลับมาระบาดอีกครั้ง ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและเศรษฐกิจต่อไปไม่รู้จบ

นอกจากนี้ นายกูเทอเรซยังกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ เพิ่มการสนับสนุนแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก เพื่อลดปริมาณก๊าซที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจกลง 45% ภายในปี ค.ศ. 2030 ตามเป้าหมายการทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิของโลกกลายเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ด้วย

XS
SM
MD
LG