ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รายงานพิเศษ: มุมมองคนไทยในลอนดอนต่อกระแสเกลียดชังชาวมุสลิมหลังเหตุก่อการร้าย


A young boy plays with a water pistol as onlookers stand at the police cordon as police search a property in Barking Road, east London, June 4, 2017.
A young boy plays with a water pistol as onlookers stand at the police cordon as police search a property in Barking Road, east London, June 4, 2017.

วีโอเอภาคภาษาไทย นำเสนอมุมมองของคนไทยในอังกฤษ ว่าพวกเขาคิดเห็นอย่างไรกับชาวมุสลิมหลังเหตุโจมตีที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในอังกฤษ

เหตุโจมตีถึง 3 ครั้งในอังกฤษที่เกิดขึ้นภายในปีนี้ ได้สร้างความกังวลให้กับชาวมุสลิมและตะวันออกกลางที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร

ตามข้อมูลของ Measuring Anti Muslim Attack ที่รวบรวมสถิติการก่ออาชญากรรมจากความเกลียดชังชาวมุสลิมในอังกฤษ พบว่า หลังเหตุโจมตีในแมนเชสเตอร์ เมื่อ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา พบการก่ออาชญากรรมจากความเกลียดชังชาวมุสลิมมากถึง 139 คดีเพียงสัปดาห์เดียว ทั้งการทำร้ายร่างกายและการใช้คำพูด

Chairman of the London Fatwa Council, Mohammad Yazdani Raza, right, holds a sign as he marches with others near Borough Market in London, Sunday, June 4, 2017.
Chairman of the London Fatwa Council, Mohammad Yazdani Raza, right, holds a sign as he marches with others near Borough Market in London, Sunday, June 4, 2017.

แต่ในมุมมองของ คุณรมิดา วิจิตรพันธ์ บรรณาธิการ Am Thai paper หนังสือพิมพ์คนไทยในอังกฤษ บอกว่า อังกฤษเองก็เปิดรับคนหลากหลายเชื้อชาติต่างภาษา เช่นเดียวกับคนไทยในลอนดอน ซึ่งผูกพันกับชาวมุสลิมและตะวันออกกลางค่อนข้างมาก ไม่ได้รู้สึกเกลียดชังหรือต่อต้าน แต่จะแสดงออกในลักษณะของการระมัดระวังและเป็นหูเป็นตาหากมีบุคคลต้องสงสัย

Ramida Vijitphan
Ramida Vijitphan

“คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะลอนดอนนะคะ จะเป็นเมืองที่หลายชนชาติอยู่ด้วยกัน และค่อนข้างที่จะไม่มีการกีดกันสีผิว ไม่ว่าเอเชีย แขก หรือคนดำอะไรอย่างนี้ค่ะ เพราะฉะนั้นเราก็จะชินกับการอยู่ด้วยกันอยู่แล้วค่ะ ... แต่จะมีการโทษเหมือนกัน อย่างล่าสุด มีชาย 2 คน เคยโทรไปบอกตำรวจแล้วว่ามีพฤติกรรมของคนที่ก่อการ ตอนที่ลอนดอน (เหตุการณ์ล่าสุด) ว่าค่อนข้างที่จะรุนแรง”

- รมิดา วิจิตรพันธ์ บรรณาธิการ Am Thai paper หนังสือพิมพ์คนไทยในอังกฤษ

เช่นเดียวกับ คุณสุนันทา โพธิ์พุฒรักษ์ นักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจ London Business School บอกว่า ในมหาวิทยาลัยค่อนข้างมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ซึ่งเธอก็เข้าใจและเปิดรับความแตกต่างเหล่านี้ เพราะเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นมาจากปัจเจกบุคคลเท่านั้น

Sunantha Phophuttharak, a Thai student in London
Sunantha Phophuttharak, a Thai student in London

“จริงๆ แล้ว ด้วยความที่ อย่างโรงเรียน LBS เป็นโรงเรียนที่ค่อนข้าง diverse อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็จะมีครบเชื้อชาติอยู่แล้ว และมีเพื่อนที่เป็นมุสลิมหรือพวก middle east ซึ่งพวกเขาก็ใช้ชีวิตตามปกตินะคะ .. เรียกว่าคนที่นี่ค่อนข้างมีความเข้าใจเรื่องของ diversity เรื่องของเชื้อชาติ ไม่ได้ตัดสินโดยเชื้อชาติ แต่ว่าเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลมากกว่า ว่าใครทำอะไรยังไง ไม่ได้เป็นการเหมารวม เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากคนเฉพาะกลุ่ม”

- สุนันทา โพธิ์พุฒรักษ์ นักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจ London Business School

ด้านคุณภีรพล กาญจนภี คนไทยในกรุงลอนดอน เชื่อมั่นว่า หน่วยความมั่นคงและหน่วยข่าวกรองอังกฤษค่อนข้างแข็งแกร่ง และเตรียมมาตรการรับมือเพียงพอ ขณะเดียวกันคนไทยที่พำนักอยู่ในอังกฤษมานานจะแยกแยะออกว่าใครมีพฤติกรรมที่เสี่ยงเข้าข่ายกลุ่มก่อการร้าย ไม่ใช่การเหมารวมจากรูปลักษณ์หรือจากเชื้อชาติศาสนา

“ถ้าโดยทั่วๆ ไป ถ้าเดินเจอกัน เพราะในลอนดอนเป็น multicultural อยู่แล้ว แล้วผู้คนเราก็จะเคยชินกับคนมุสลิม คนแขก คนอะไร แม้แต่เพื่อนผมก็เป็นพวกนี้อยู่แล้วตั้งแต่รู้จักกันมาครับ อันนี้ถ้าเขาอยู่ที่นี่ และผ่านมาในช่วงที่มัน 10-20 ปีมาแล้ว หรือ blend-in กับคนอังกฤษ หรือคนชาติอื่นมาผสมผสานด้วย เขาก็จะไม่มีความแตกต่าง .. แต่ว่า กลุ่มที่จะเป็นกลุ่มก่อการร้ายจะเป็นอีกแบบหนึ่ง จะเป็นกลุ่มที่คลั่งศาสนาเป็นอะไรไป และยอมตายเพื่อพระเจ้าของเขาเลย ทำนองนี้ครับ”

- ภีรพล กาญจนภี คนไทยในกรุงลอนดอน

คุณภีรพล ยังทิ้งท้ายไว้ว่า จุดสังเกตผู้ต้องสงสัยคลั่งลัทธิก่อการร้าย จะมีลักษณะชอบสันโดษ ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งอาจมีประวัติการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมในแถบตะวันออกกลาง หรือพื้นที่ที่มีการก่อการร้ายบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ด้วย

XS
SM
MD
LG