ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การศึกษาชี้ คนเรามี DNA ของมนุษย์ยุคใหม่อยู่เพียง 7%


The reconstruction of a Homo neanderthalensis, who lived within Eurasia from circa 400,000 until 40,000 years ago, mirrors at the Neanderthal Museum in Mettmann, Germany, located at the site of the first Neanderthal man discovery, Wednesday, July 3, 2019.
The reconstruction of a Homo neanderthalensis, who lived within Eurasia from circa 400,000 until 40,000 years ago, mirrors at the Neanderthal Museum in Mettmann, Germany, located at the site of the first Neanderthal man discovery, Wednesday, July 3, 2019.
Unique Modern Humans DNA
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:15 0:00


การศึกษาครั้งใหม่พบว่า มีเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ของจีโนมหรือยีนทั้งหมดของมนุษย์ยุคใหม่ที่มีความพิเศษเฉพาะสำหรับคนกลุ่มนั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกันอย่างมากทางด้านพันธุกรรมกับบรรพบุรุษของตนเมื่อหลายหมื่นปีก่อน

Nathan Schaefer นักชีววิทยาหรือนักวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตแห่งมหาวิทยาลัย University of California ซึ่งเป็นหัวหน้าการศึกษาวิจัยนี้ กล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นอัตราส่วนที่ค่อนข้างน้อย และว่าการค้นพบลักษณะนี้เป็นสาเหตุที่นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากปฏิเสธแนวคิดที่ว่า มนุษย์เรามีความแตกต่างอย่างมากจากกลุ่มมนุษย์ “นีแอนเดอทัล” หรือมนุษย์ยุคหินซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 40,000 ปีก่อน

การศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ใช้ดีเอ็นเอที่นำมาจากซากของมนุษย์นีแอนเดอทัลและกลุ่มมนุษย์ยุคแรก ๆ หรือที่เรียกว่า “เดนิโซวาน” โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นำดีเอ็นเอจากผู้คน 279 คนที่มีชีวิตอยู่จากทั่วโลกไปเปรียบเทียบกับดีเอ็นเอที่ได้มาจากซากมนุษย์โบราณเหล่านั้น

John Hawks นักบรรพชีวินวิทยา และเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่วิจัยต้นกำเนิดและการพัฒนาของมนุษย์ ที่มหาวิทยาลัย University of Wisconsin ในเมืองเมดิสัน ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษานี้ กล่าวว่า การระบุยีนที่กลุ่มต่าง ๆ มีร่วมกันนั้นเป็นการคำนวณที่ยาก เขายกย่องนักวิจัยที่ทำการศึกษาเรื่องนี้ว่าได้ "พัฒนาเครื่องมือที่มีคุณค่าซึ่งจะช่วยค้นหาข้อมูลที่ขาดหายไปในจีโนมโบราณ"

นอกจากนี้ การวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงอัตราส่วนที่น้อยกว่า คือ 1.5 เปอร์เซนต์ของจีโนมมนุษย์สมัยใหม่ที่มีการใช้ร่วมกันอย่างแปลกประหลาดในหมู่มนุษย์ในยุคปัจจุบัน ยีนจำนวนเล็กน้อยเหล่านี้อาจสามารถให้คำตอบถึงสิ่งที่ทำให้มนุษย์สมัยใหม่มีความแตกต่างออกไป

Richard Green นักชีววิทยาที่มหาวิทยาลัย University of California ที่เมืองซานตา ครูซ และเป็นหนึ่งในผู้เขียนรายงานนี้ กล่าวว่า จีโนมที่ใช้ร่วมกันเฉพาะในมนุษย์ในปัจจุบันนั้น "มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก" สำหรับยีนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการทำงานของสมอง

ในปี 2010 Green ช่วยสร้างโครงร่างแรกของจีโนมมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล สี่ปีต่อมา นักพันธุศาสตร์ Joshua Akey ได้ร่วมเขียนบทความที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์สมัยใหม่มี ดีเอ็นเอที่สืบทอดมาจากมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล ตั้งแต่นั้นมา นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาวิธีการในการศึกษาสารพันธุกรรมจากฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง

Akey กล่าวชื่นชมการศึกษานี้ว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถหาคำตอบได้มากขึ้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของมนุษย์ และว่าการค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าที่จริงแล้วมนุษย์เราเป็นสายพันธุ์ที่เยาว์วัยมาก และว่าเมื่อไม่นานมานี้ เราอยู่บนโลกใบนี้ร่วมกับมนุษย์สายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย

งานวิจัยเรื่องตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Science Advances

(ที่มา: The Associated Press)

XS
SM
MD
LG