ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผลวิจัยชี้พิษแมงมุมอาจเป็นยาแก้ปวดได้


A worker at the Australian Museum tries to make the world's deadliest spider, a Sydney funnel-web, produce venom for research work in Sydney.
A worker at the Australian Museum tries to make the world's deadliest spider, a Sydney funnel-web, produce venom for research work in Sydney.

คนส่วนใหญ่ไม่ชอบหรือกลัวแมงมุม แต่ผลงานวิจัยที่เพิ่งเผยแพร่ออกมาระบุว่าพิษของแมงมุมมีสารประกอบที่อาจจะนำมาผลิตเป็นยาแก้ปวดได้

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:23 0:00
Direct link

A Sydney funnel-web spider rears up on its hind legs as a tube used to extract venom is placed near its claws at the Australian Reptile Park at Gosford.
A Sydney funnel-web spider rears up on its hind legs as a tube used to extract venom is placed near its claws at the Australian Reptile Park at Gosford.

เฉพาะในอเมริกา ประมาณกันว่า อาการปวดเรื้อรังที่ผู้คนเป็นจำนวนมากเป็นกันอยู่นั้น ทำให้สูญเสียผลิตภาพรวมกับค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษา ปีละ 6 แสนล้านดอลลาร์ มากกว่าค่าใช้จ่ายและผลิตภาพที่สูญเสียสำหรับโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเส้นโลหิตอุดตัน รวมกัน

รายงานผลการวิจัยที่เพิ่มตีพิมพ์ลงในวารสารเภสัชวิทยาของอังกฤษ (British Journal of Pharmacology) ระบุว่า แมงมุมอาจเป็นกุญแจสำคัญสำหรับยาแก้ปวดรุ่นใหม่

ทีมนักวิจัยของสถาบัน Molecular Bioscience ที่มหาวิทยาลัย Queensland ในออสเตรเลีย ได้วิเคราะห์สารประกอบของพิษแมงมุมพันธุ์ต่างๆ 206 ชนิดด้วยกัน และระบุว่ามีสารประกอบ 7 ชนิดในพิษของแมงมุมที่ทำงานสะกัดกั้นสัญญาณแสดงความปวด ไม่ให้เดินทางไปถึงสมองได้

Julie Garb นักวิจัยพิษแมงมุมของภาคชีววิทยาที่มหาวิทยาลัย Massachusetts วิทยาเขต บอกว่า ถ้าเอาพิษแมงมุมที่สะกัดกั้นเส้นทางไปสู่สมอง มาผลิตเป็นตัวยาได้ก็จะช่วยคนที่มีอาการปวดเรื้อรังได้มาก

ประมาณกันไว้ว่า โลกเรามีแมงมุมพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งหมด 45,000 ชนิด และจำนวนโปรทีนของพิษแมงมุมทั้งหมดมีมากถึง 9 ล้าน ในขณะนี้ นักวิจัยได้ศึกษา peptide หรือลูกโซ่โมเลกุลของโปรทีนของพิษแมงมุมไปแล้วเพียง .01% เท่านั้น

นักวิจัย Julie Garb บอกว่า ในจำนวนโปรทีนทั้งหมดนี้ อาจมีส่วนประกอบสารพิษเพียงส่วนเดียวที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ และเมื่อนักวิจัยสามารถแยกแยะออกมาได้ว่าเป็นส่วนไหน ก็จะนำไปผลิตเป็นยาได้

และทีมนักวิจัยในออสเตรเลียเชื่อว่า น่าจะนำเทคนิคการกลั่นกรองสารประกอบในพิษแมงมุมที่พัฒนาขึ้นมาไปใช้หาสารประกอบที่ต้องการได้ด้วย

XS
SM
MD
LG