ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชาวเน็ตเกาหลี-จีน ปะทะคารมเดือด หลัง 'ผักดองจีน' ผ่านการรับรองระดับโลก


A woman poses for photographs with traditional side dish 'Kimchi' during the Seoul Kimchi Festival in central Seoul, South Korea, Nov. 4, 2016.
A woman poses for photographs with traditional side dish 'Kimchi' during the Seoul Kimchi Festival in central Seoul, South Korea, Nov. 4, 2016.
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:57 0:00


สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ความพยายามของจีนที่ต้องการให้อาหารประเภทผักดองจากมณฑลเสฉวน ที่เรียกว่า เปาฉ่าย (Pao Cai) ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการโดยองค์กรระหว่างประเทศ กำลังก่อให้เกิดการถกเถียงอย่างหนักระหว่างประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนกับชาวเกาหลีใต้ สืบเนื่องจากต้นกำเนิดของผักกาดดองสูตรเกาหลี หรือ กิมจิ (Kimchi) ที่ทั่วโลกรู้จักกันดี

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน หรือ ISO เพิ่งให้การรับรองผักดองเปาฉ่าย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งสื่อ Global Times ของทางการจีน พาดหัวข่าวนี้ว่า "เป็นการรับรองมาตรฐานสากลสำหรับอุตสาหกรรมกิมจิที่จีนเป็นผู้นำ"

สื่อในเกาหลีใต้ตอบโต้การกล่าวอ้างของ Global Times ทันที พร้อมกล่าวหาจีนว่าพยายามจะทำให้อาหารประจำชาติของเกาหลีกลายเป็นส่วนหนึ่งของผักดองของจีน

ต่อมาบรรดาผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเกาหลีใต้ได้แสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรงทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ในลักษณะโจมตีว่าจีนพยายาม "ขโมย" วัฒนธรรมของเกาหลี ซึ่งอาจไม่หยุดอยู่แค่อาหารอย่างกิมจิเท่านั้น

คิม โซล-ฮา ชาวเกาหลีใต้วัย 28 ปี กล่าวกับรอยเตอร์ว่า "ข่าวที่จีนบอกว่ากิมจิเป็นของตัวเอง และพยายามหาทางรับรองในระดับโลกนั้นเป็นเรื่องที่โง่เขลา และน่ากังวลว่าต่อไปจีนอาจขโมยชุดฮันบกและวัฒนธรรมอื่น ๆ ไปเป็นของตัวเองก็เป็นได้"

สื่อเกาหลีบางแห่งบอกว่าจีนพยายามหาทางครอบครองโลก และบอกว่าจีนกำลังใช้วิธีขู่กรรโชกทางเศรษฐกิจต่อเกาหลีใต้

ขณะเดียวกัน ผู้ใช้สื่อเว่ยโป๋บางรายในประเทศจีน กล่าวอ้างว่ากิมจิคืออาหารเก่าแก่ของจีน และคำว่า "กิมจิ" ก็มาจากภาษาจีน รวมทั้งยังบอกด้วยว่ากิมจิที่คนเกาหลีส่วนใหญ่รับประทานอยู่ในปัจจุบันล้วนผลิตในจีน

ด้านกระทรวงเกษตรเกาหลีใต้มีคำแถลงออกมาเมื่อวันอาทิตย์ว่า การที่ผักดองเปาฉ่ายของมณฑลเสฉวนผ่านการรับรองของ ISO ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับผักดองกิมจิของเกาหลี และควรมีการแยกแยะอาหารสองเมนูนี้ออกจากกันอย่างชัดเจน

XS
SM
MD
LG