ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จับตาทะเลจีนใต้! เมื่อจีนใช้กลยุทธ์ "ไม้อ่อน-ไม้แข็ง" หลังคำตัดสินของศาลระหว่างประเทศ


แต่นักวิเคราะห์มองว่าท่าทีแข็งกร้าวสะท้อนการขาดนโยบายที่ชัดเจนและมีเหตุผลจากการเมืองในประเทศ

please wait

No media source currently available

0:00 0:01:22 0:00
Direct link

หลังจากที่ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่กรุงเฮก มีคำวินิจฉัยปฏิเสธการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนเหนือพื้นที่เกือบสามล้านห้าแสนตารางกิโลเมตรในทะเลจีนใต้ กองทัพจีนได้แสดงท่าทีอย่างแข็งกร้าวมากขึ้น

โดยผู้บัญชาการกองทัพเรือของจีน กล่าวว่า จีนพร้อมจะตอบโต้การคุกคามใดๆ ในทะเลจีนใต้ และการก่อสร้างต่างๆ รอบหมู่เกาะ Spratly จะดำเนินต่อไป รวมทั้งความพยายามใดๆ ที่จะบีบบังคับให้จีนยอมรับแรงกดดันก็จะไม่เป็นผลดี

ส่วนกองทัพอากาศของจีนก็ยืนยันว่า มีการบินซ้อมรบเหนือแนวสันทราย Scarborough Shoal ซึ่งจะเป็นเรื่องปกติต่อไปในอนาคต ทางด้านกองทัพเรือของจีนก็เตือนว่า การส่งเรือออกลาดตระเวนโดยกองทัพต่างประเทศในน่านน้ำซึ่งเป็นกรณีพิพาทนี้อาจนำไปสู่หายนะได้

Chinese ship and helicopter are seen during a search and rescue exercise near Qilian Yu subgroup in the Paracel Islands, which is known in China as Xisha Islands, South China Sea, July 14, 2016.
Chinese ship and helicopter are seen during a search and rescue exercise near Qilian Yu subgroup in the Paracel Islands, which is known in China as Xisha Islands, South China Sea, July 14, 2016.

อย่างไรก็ตาม ผู้บัญชาการกองทัพเรือของจีนได้กล่าวยกย่องการเยือนโดยผู้บัญชาการกองทัพเรือของสหรัฐฯ และว่าการเยือนดังกล่าวแสดงว่าประเทศทั้งสองเข้าใจถึงความจำเป็น ของการส่งเสริมการสื่อสารทำความเข้าใจเพื่อลดโอกาสความเสี่ยงของการประจันหน้ากัน

อาจารย์ Shao Jianping แห่งมหาวิทยาลัย Honghe มองว่า จีนกำลังพยายามใช้ท่าทีหรือมาตรการทั้งไม้แข็งและไม้นวม

แต่อาจารย์ Wu Fei จากมหาวิทยาลัย Jinan กลับไม่เห็นด้วย และเชื่อว่าการแสดงท่าทีอย่างแข็งกร้าวนี้สะท้อนให้เห็นว่า จีนเองยังไม่มียุทธศาสตร์ที่แน่นอนในเรื่องนี้

ส่วนคุณ Tim Johnston ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของ Crisis Group ให้ความเห็นว่า ท่าทีที่แข็งกร้าวของจีนนี้ มีเหตุผลผลักดันจากการเมืองในประเทศอยู่ด้วย เพราะนโยบายปราบคอรัปชั่นและการปฏิรูปเศรษฐกิจของผู้นำจีน มีผลกระทบต่อหลายกลุ่มในประเทศ ดังนั้นผู้นำจีนจึงต้องพยายามรักษากลุ่มชาตินิยมไว้เป็นพันธมิตร โดยอาศัยการแสดงท่าทีอย่างแข็งขันเกี่ยวกับอธิปไตยในทะเลจีนใต้นั่นเอง

South China Sea Territorial Claims
South China Sea Territorial Claims

นักวิเคราะห์ของ Crisis Group เชื่อว่า แม้คำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งปฏิเสธคำกล่าวอ้างของจีนเรื่องอำนาจอธิปไตยในทะเลจีนใต้ จะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับการต่อสู้ของประเทศที่เป็นคู่พิพาทของจีนก็ตาม

แต่กรณีพิพาทในทะเลจีนใต้นี้ก็เหมือนกับปัญหาการเมืองและประเด็นทางการทูตอื่นๆ ซึ่งความสำเร็จในการแก้ปัญหา มักจะขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นและการผ่อนปรนเป็นสำคัญ

XS
SM
MD
LG