ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การกักตัวช่วงโควิด-19 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องดีขึ้นหรือแย่ลง?


Foxton Harding, left and Adison Pucci, both 12, who both attend Northshore Middle School in the Northshore School District, which has moved to online only schooling for two weeks due to coronavirus concerns, work on school assignments at their home.
Foxton Harding, left and Adison Pucci, both 12, who both attend Northshore Middle School in the Northshore School District, which has moved to online only schooling for two weeks due to coronavirus concerns, work on school assignments at their home.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:55 0:00

พ่อแม่ผู้ปกครองบางคนอาจไม่ค่อยแน่ใจว่าปฏิกิริยาตอบโต้ระหว่างพี่น้องซึ่งต้องใช้เวลาร่วมกันมากขึ้นในช่วงที่โรงเรียนปิดหรือถูกกักตัวจะยิ่งเพิ่มความขัดแย้งหรือช่วยสร้างความสัมพันธ์ฉันน้องพี่ให้เหนียวแน่นมากขึ้นได้

รายงานการศึกษาเบื้องต้นที่ทำในอังกฤษกับราว 500 ครอบครัว พบว่าสองในสามของครอบครัวเหล่านี้บอกว่าพี่ ๆ น้อง ๆ สามารถพัฒนาความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นมากขึ้น ขณะที่ราวหนึ่งในห้าบอกว่าเรื่องนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้นได้

แคลร์ ฮิวส์ อาจารย์ผู้สอนด้านจิตวิทยาพัฒนาการ ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของอังกฤษ ผู้ศึกษาเรื่องนี้ บอกว่า เรื่องที่เธอได้พบและผู้ปกครองทั้งหลายควรได้ทราบก็คือ เด็ก ๆ เหล่านี้มีโอกาสใช้เวลาเพื่อทำความรู้จักและเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

อาจารย์แคลร์ ฮิวส์ บอกด้วยว่า พ่อแม่ควรเข้าใจเรื่องที่สำคัญ 3 อย่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของลูก

ประการแรก เนื่องจากไม่มีใครสามารถเลือกพี่หรือน้องของตัวเองได้ ดังนั้นความสัมพันธ์แบบทั้งรักและเกลียดจึงเป็นเรื่องธรรมดา

ประการที่สอง คือความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องมักจะยืนยาวที่สุดในบรรดาความสัมพันธ์ทั้งหมดที่เรามีอยู่ในชีวิต จากการได้เติบโตมาด้วยกันและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกันมา และความสัมพันธ์นี้สำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เราต้องผ่านวิกฤติที่สำคัญในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการหย่าร้าง ความเจ็บป่วย หรือการตกทุกข์ได้ยาก เป็นต้น

มีการศึกษาบางชิ้นที่บอกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องนั้นมีอิทธิพลและยืนยาวมากกว่าความสัมพันธ์กับเพื่อน กับคู่สมรส หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ที่เรามีกับทายาทของเราเองด้วยซ้ำ

ประการที่สาม คือความสัมพันธ์ในหมู่พี่น้องไม่ว่าจะรกระเหินเพียงใด แต่เรื่องนี้ก็มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาด้านอารมณ์และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการฝึกเด็กให้ได้เรียนรู้เรื่องการแก้ปัญหาและควบคุมอารมณ์ของตัวเอง รวมทั้งได้เข้าใจความรู้สึกและความต้องการของคนอื่น อันเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ทั้งในทางลบและในแง่บวกนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้องนั้นส่วนหนึ่งมักถูกกำหนดด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความแตกต่างด้านอายุ เพศ ลำดับการเกิด และสภาพแวดล้อมของการเลี้ยงดูเป็นต้น

แต่อย่างน้อยที่สุด อาจารย์ลอรี่ เครเมอร์ ผู้สอนด้านจิตวิทยาประยุกต์ ที่มหาวิทยาลัยนอร์ธอีสเทิร์น แนะว่า พ่อแม่ผู้ปกครองจะมีส่วนช่วยส่งเสริมเรื่องนี้ได้ เช่น แทนที่จะเป็นคนตัดสินใจว่าลูกอยากทานอะไร ก็อาจลองถามลูกคนหนึ่งให้คิดว่าอีกคนนั้นอยากกินอะไร เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้พยายามเข้าใจหรือศึกษาซึ่งกันและกัน

หรือในขณะที่พี่หรือน้องมีความถนัดในวิชาแตกต่างกัน ก็ควรจะเปิดโอกาสให้คนใดคนหนึ่งผลัดกันสอนหรือติวในวิชาที่ตัวเองทำได้ดี เป็นต้น

ส่วนอาจารย์โจนาทาน แคสปี ผู้สอนเรื่องพัฒนาการของมนุษย์ ที่มหาวิทยาลัยมอนท์แคร์ ก็เตือนว่า พ่อแม่ควรจะเบาใจได้ถ้าลูก ๆ มีการทะเลาะทุ่มเถียงกันบ้าง โดยเรื่องนี้ไม่น่าเป็นห่วงอะไร เพราะหากความสัมพันธ์ลักษณะนี้ไม่เกิดขึ้นแล้ว ก็แสดงว่าเด็ก ๆ ของเรานั้นมีความเหินห่าง ไม่เข้าใจ และไม่ได้อยู่ในโลกของกันและกันเลย

ซึ่งเรื่องนี้ก็อาจเป็นจริงดังคำกล่าวที่ว่า สำหรับความสัมพันธ์ทั้งหลายในชีวิตเรานั้นมิตรภาพอาจมีโอกาสพังทลายได้ แต่ภราดรภาพนั้นเป็นเหมือนสายใยที่ยากจะตัดได้ขาด เพราะสายเลือดนั้นย่อมข้นกว่าสายน้ำอย่างแน่นอน

XS
SM
MD
LG