ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยชี้หนอนนกหรือ mealworm ช่วยไขวิธีแก้ปัญหาขยะพลาสติก


A father and son (C) on a makeshift boat made from styrofoam paddle through a garbage filled river as they collect plastic bottles that they can sell in junkshops in Manila on March 19, 2015. They earn three US dollars a day. The Philippines will be obser
A father and son (C) on a makeshift boat made from styrofoam paddle through a garbage filled river as they collect plastic bottles that they can sell in junkshops in Manila on March 19, 2015. They earn three US dollars a day. The Philippines will be obser

ปริมาณพลาสติกที่หนอนเหล่านี้แต่ละตัวกินในแต่ละวัน มีขนาดเท่ากับเม็ดยา

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:18 0:00
Direct link

Styrofoam หรือพลาสติกในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถ้วย จาน หรือภาชนะอื่นๆ เป็นที่นิยมใช้เป็นอย่างมาก เพราะใช้แล้วทิ้งได้เลย ไม่ต้องเก็บไปล้าง

แต่ขยะพลาสติกเหล่านี้ ต้องใช้เวลานานนับร้อยๆปีกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยากลายเป็นขยะธรรมดา และเวลานี้กองขยะทั่วไปมีพลาสติกปะปนอยู่ในสัดส่วนระหว่าง 25-30%

Wei-Min Wu วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัย Stanford บอกว่า หนอนนก หรือ mealworms กินพลาสติกและย่อยออกมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมง

โดยปริมาณพลาสติกที่หนอนเหล่านี้แต่ละตัวกินในแต่ละวัน มีขนาดเท่ากับเม็ดยา

Screenshot of video Mealworms Eat Plastic Waste
Screenshot of video Mealworms Eat Plastic Waste

ศาสตราจารย์ Craig Criddle ซึ่งสอนวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่ Stanford บอกว่า หนอนนกมีเอ็นไซม์พิเศษในลำไส้ที่ช่วยย่อยพลาสติก และว่าเวลานี้นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามพัฒนาเอ็นไซม์ ที่สามารถเลียนแบบการทำงานของเอ็นไซม์พิเศษนี้ของหนอนนก

อาจารย์ Craig Criddle ย้ำส่งท้ายว่า ความพยายามกำจัดขยะพลาสติกนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราแทบจะไม่มีที่เก็บขยะชนิดนี้อีกต่อไปแล้ว โดยเฉพาะในเขตนาครที่แออัด

ส่วนขยะพลาสติกที่ล่องลอยอยู่ในทะเล และสร้างปัญหาให้กับระบบนิเวศในทะเล ก็เป็นเรื่องที่ได้ยินได้ฟังกันทั่วโลกแล้วด้วย

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบด้วยว่า หนอนนกที่กินขยะพลาสติกนี้มีสุขภาพดีเหมือนกับได้กินรำข้าว ซึ่งเป็นอาหารตามปกติของหนอนชนิดนี้

XS
SM
MD
LG