ลิ้งค์เชื่อมต่อ

โรงเรียนอเมริกันใช้ “แนวทางดูเเล-บำบัดจิตใจ” ช่วยสุขภาพจิตของนักเรียน


A student pets Wilson, a therapy dog, in a hallway at French Middle School, Wednesday, Nov. 3, 2021, in Topeka, Kansas. The dog is one of the tools designed to relieve stresses faced by students as they return to classrooms amid the ongoing pandemic.
A student pets Wilson, a therapy dog, in a hallway at French Middle School, Wednesday, Nov. 3, 2021, in Topeka, Kansas. The dog is one of the tools designed to relieve stresses faced by students as they return to classrooms amid the ongoing pandemic.

Therapy Based Program in The US Schools
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:08 0:00


ในตอนเช้าๆ ที่โรงเรียนประถม Paw Paw Early Elementary School ที่อยู่ในแถบชนบททางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐมิชิแกน จะมีนักสังคมสงเคราะห์คนหนึ่งกับสุนัขบำบัดขนาดเล็กชื่อ ทริกซี่ (Trixie) ยืนคอยทักทายอยู่ที่ประตูทางเข้า โดยบรรดาเด็กๆ ที่สวมหน้ากากอนามัยและวิ่งลงจากรถโรงเรียนในตอนเช้าที่อากาศหนาวเย็นนั้น บ้างก็ก้มตัวลูบหัวเจ้าลูกสุนัขขนฟูก่อนที่จะเดินเข้าไปข้างในโรงเรียน

เช่นเดียวกับเด็กๆ ตามเมืองน้อยใหญ่ทั่วโลก เยาวชนในเขตการศึกษา Van Buren Intermediate School District ของรัฐมิชิแกน ได้ผ่านอะไรมามากมายในช่วงสองปีที่ผ่านมา และการระบาดใหญ่ที่ยังไม่จบไม่สิ้นทำให้ชั้นเรียนต่างๆ ต้องหยุดชะงัก เพื่อนฝูงและบุคคลอันเป็นที่รักต้องเจ็บป่วย และทำให้บางครอบครัวต้องตกงานและไร้ที่อยู่อาศัย

นอกจากนี้ ยังมีนักเรียนพยายามฆ่าตัวตายสามคนในเคาน์ตี้ ตั้งแต่กลับมาเปิดเรียนในชั้นเรียนเต็มเวลาอีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วงนี้ และมีนักเรียนสองคนฆ่าตัวตายเมื่อปีที่แล้ว และในตอนนี้ มีเหตุการณ์กราดยิงที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาที่โรงเรียนซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 2-3 ชั่วโมง

ด้วยเงินช่วยเหลือวิกฤตโควิดจากรัฐบาลกลาง และกองทุนของรัฐในปีนี้ บวกกับความเชื่อของเจ้าหน้าที่โรงเรียนในท้องถิ่นว่าเด็กๆ จะไม่สามารถประสบความสำเร็จด้านวิชาการได้หากพวกเขาประสบปัญหาทางด้านอารมณ์

นักเรียนกว่า 15,000 คนของเขตการศึกษา Van Buren จึงได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมเป็นพิเศษ โดยการเปิดตัวโปรแกรมการศึกษาตามหลักจิตวิทยาสมัยใหม่เพื่อการบำบัดพฤติกรรมด้านการรับรู้ ซึ่งถูกรวมอยู่ในหลักสูตรและเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์

ทั้งนี้ นักเรียนทุกระดับชั้นจะถูกสอนว่า ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมเชื่อมโยงกันอย่างไร และการเรียนรู้วิธีควบคุมและปรับความคิดใหม่จะนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวกได้อย่างไร โดยโปรแกรมนี้ได้รวมบทเรียนที่เข้มข้นขึ้นสำหรับเด็กที่มีปัญหาเรื่องความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า หรือความบอบช้ำทางจิตใจ ไปพร้อมๆ กับวิธีการป้องกันการฆ่าตัวตาย ขณะที่ เจ้าหน้าที่ของเขตการศึกษาทุกคนก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

ในขณะที่โรงเรียนในสหรัฐฯ และที่อื่นๆ สอนทักษะการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์มากขึ้น หลายๆ แห่งใช้วิธีการเข้าหานักเรียนแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยการสร้างชั้นเรียนสำหรับการพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึก หรือเน้นความสนใจเฉพาะกับเด็กที่มีปัญหามากที่สุด

แต่ยังมีโรงเรียนหลายๆ ที่แห่งขาดเงินทุนและทรัพยากรที่จะใช้วิธีการนี้ ซึ่งโรงเรียน Paw Paw และโรงเรียนอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียงพยายามนำมาใช้ และนั่นก็คือ การใช้วิธีที่มีหลักฐานทางจิตวิทยาเป็นพื้นฐานในหลักสูตร

Students walk up to the school bus on the first day of school in Louisville, Kentucky, U.S. August 11, 2021.
Students walk up to the school bus on the first day of school in Louisville, Kentucky, U.S. August 11, 2021.

โอลกา อะคอสตา ไพรซ์ (Olga Acosta Price) ผู้อำนวยการศูนย์ระดับชาติ Center for Health and Health Care in Schools กล่าวว่า การเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์อย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะบางช่วงเวลาของวันหรือกับบางคนเท่านั้น แต่ควรจะสะท้อนให้เห็นในการดำเนินงานและการปฏิบัติของโรงเรียนทั้งหมด และว่า การหยุดชะงักต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการระบาดใหญ่ ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางดังกล่าวในตอนนี้มากกว่าที่ผ่านๆ มา

เอริค คลาร์ค (Eric Clark) ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรม ซึ่งร่วมสอนนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่งกล่าวว่า โปรแกรมที่เน้นด้านจิตวิทยาที่เขตการศึกษาของเขาใช้ในการรับมือกับปัญหาท้าทายในขณะนี้มีชื่อเรียกว่า “TRAILS” ที่สร้างขึ้นโดยมหาวิทยาลัยแห่งมิชิแกน (University of Michigan)

การศึกษาพบว่า โปรแกรมการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์สามารถช่วยพัฒนาผลการเรียน พฤติกรรมในห้องเรียน และการจัดการกับความเครียดได้ นอกจากนี้ การวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าการใช้โปรแกรม TRAILS สำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงนั้น สามารถลดภาวะซึมเศร้าและช่วยพัฒนาทักษะด้านการเผชิญปัญหาได้

อลิซาเบธ โคชแมนน์ (Elizabeth Koschmann) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งมิชิแกน ผู้พัฒนาโปรแกรมนี้กล่าวว่า โรงเรียนในสหรัฐฯ เกือบ 700 แห่งได้จ่ายเงินทำสัญญาเพื่อรับการช่วยเหลือและนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในโรงเรียนของตน โดยเว็บไซต์ของบริษัทยังให้บริการสื่อออนไลน์ฟรีซึ่งมีการดาวน์โหลดมากกว่า2,000 ครั้งต่อวัน และมีผู้ใช้โปรแกรมนี้มาจากทั่วทุกมุมโลก ขณะที่ การดาวน์โหลดเหล่านี้มีอัตราที่สูงขึ้นมากในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19

โคชแมนน์ กล่าวด้วยว่า โรงเรียนต่างๆ ติดต่อมาที่เธอเกือบทุกวันเพื่อสอบถามว่า พวกเขาจะสามารถรับมือกับนักเรียนที่มีสภาพจิตใจย่ำแย่ เจ้าหน้าที่ที่สูญเสียขวัญและกำลังใจและประสบกับภาวะหมดไฟอย่างมาก มีเพียงความรู้สึกหมดแรง และสิ้นหวัง ได้อย่างไร

ทั้งนี้ หลักฐานที่สนับสนุนความจำเป็นในการให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของนักเรียนให้มากขึ้นนั้นมีอยู่มากมาย

ห้องฉุกเฉินตามโรงพยาบาลทั่วสหรัฐฯ มีจำนวนของเด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ภาวะซึมเศร้า และความผิดปกติในเรื่องการกิน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และนักบำบัดสุขภาพจิตในเด็กนั้นหายากในหลายๆ พื้นที่ และเด็กๆ มักจะต้องรอรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกนานเป็นเดือนๆ เลยทีเดียว

นายแพทย์ วิเวก เมอร์ธี (Vivek Murthy) แพทย์ใหญ่ของสหรัฐฯ อ้างถึงงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า อาการซึมเศร้าและวิตกกังวลเพิ่มขึ้นสองเท่าในหมู่เยาวชนทั่วโลกในช่วงการระบาดใหญ่ และกล่าวว่า การขยายโปรแกรมด้านสุขภาพจิตตามโรงเรียนจึงเป็นหนึ่งในคำแนะนำของเขา

(ที่มา: สำนักข่าวเอพี)

XS
SM
MD
LG