ลิ้งค์เชื่อมต่อ

โควิด-19 กับความสุขที่ห่างหายไปของเด็กๆ และจุดกำเนิดของเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพจิต


Sara Lundberg, an eighth grader at Orefield Middle School in Schnecksville, Pennsylvania, struggled with anxiety and depression during the COVID-19 pandemic. Picture taken April 28, 2021.
Sara Lundberg, an eighth grader at Orefield Middle School in Schnecksville, Pennsylvania, struggled with anxiety and depression during the COVID-19 pandemic. Picture taken April 28, 2021.
How Covid Stole Childrens Joy
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:14 0:00


ภาพเด็กๆ ในสหรัฐฯ ที่พากันเข้าเรียนในชั้นเรียนในช่วงกว่าปีที่ผ่านมานั้น คือ สิ่งไม่ค่อยได้เกิดขึ้นบ่อยนัก หรืออาจไม่เกิดขึ้นเลยในบางพื้นที่ ทำให้เด็กจำนวนมากต้องแยกตัวออกจากสังคมและเพื่อนฝูง ทั้งยังต้องพลาดช่วงเวลาทำกิจกรรมสำคัญๆ ในวัยเรียนไปไม่น้อย ส่งผลให้หลายคนประสบปัญหาด้านสุขภาพจิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นับตั้งแต่วิกฤตการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสรุนแรงขึ้นเมื่อต้นปีที่แล้ว ชีวิตของเด็กๆ ในสหรัฐฯ จำนวนไม่น้อยต้องพลิกผันไปอย่างมาก เนื่องจากต้องใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านและไม่ได้เข้าสังคมพบปะเพื่อนๆ และร่วมทำกิจกรรมปกติที่นักเรียนควรจะได้ทำ

เอเลนา มิคาลเซน หัวหน้าแผนกจิตวิทยา ของโรงพยาบาลเด็ก ซาน อันโตนิโอ ในรัฐเท็กซัส กล่าวว่า “ความสุขของเด็กหลายคนนั้นมาจากการที่ได้เจอเพื่อนฝูง หรือการได้ออกไปเล่น และจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น และถ้าหากมีใครลองถามเด็กๆ ดูว่า ‘อะไรทำให้พวกเขามีความสุข’ ก็จะพบว่า 90% ของคำตอบนั้นคือ การได้อยู่กับเพื่อนๆ หรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ” นั่นเอง

มีรายงานฉบับหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์ออกมาเมื่อไม่นานมานี้และระบุว่า สภาพความไม่แน่นอนและการใช้ชีวิตที่ต้องหยุกชะงักเพราะโควิด-19 มีผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพจิตและอารมณ์ของ 1 ใน 3 ของเยาวชนชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่เสียจน สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics - AAP) และองค์กรด้านเด็กอื่นๆ ต้องออกมาประกาศ ‘สถานการณ์ฉุกเฉินระดับชาติ’ ด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไปแล้ว

นิรมิตา ปานชาล นักวิเคราะห์นโยบายอาวุโสจากมูลนิธิ ไคเซอร์ แฟมิลี่ (Kaiser Family Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานด้านเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพในสหรัฐฯ กล่าวว่า วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของกรณีการป่วยด้วยอาการตื่นตระหนกตกใจ (anxiety) โรคซึมเศร้า (depression) หรือ โรคเครียด (stress) ด้วย

ปานชาล เปิดเผยด้วยว่า ผลกระทบของการระบาดของโคโรนาไวรัสยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของเด็กๆ ดังเช่นกรณีที่มีผู้ปกครองออกมาเปิดเผยว่า บุตรหลานของตนทานไม่ได้และนอนไม่หลับกันมากมาย ขณะที่ ในบางกรณีนั้น เป็นเรื่องของอาการกลัว หรืออาการหงุดหงิด หรืออาการติดพ่อติดแม่ ก็เป็นได้

Kindergarten teacher Nicole Jones gives an online lesson to her virtual students while teaching at Kratzer Elementary School in Allentown, Pennsylvania, U.S. April 13, 2021.
Kindergarten teacher Nicole Jones gives an online lesson to her virtual students while teaching at Kratzer Elementary School in Allentown, Pennsylvania, U.S. April 13, 2021.

นักวิเคราะห์ผู้นี้ยังได้ร่วมทำรายงานที่ชี้ว่า 8% ของเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 ถึง 17 ปีนั้น กำลังประสบภาวะตื่นตระหนกตกใจกลัวอยู่ ขณะที่ สัดส่วนของเด็กที่มีอายุ 12 ถึง 17 ปีที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เพิ่มขึ้นเป็น 13% โดย ปานชาล กล่าวว่า เหตุผลที่เด็กๆ ประสบภาวะปัญหาด้านสุขภาพจิตนั้น เป็นเพราะเด็กเองต้องฟันฝ่าช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การที่โรงเรียนไม่เปิดชั้นเรียนตามปกติ สถานการณ์ด้านการเงินขัดสนภายในครอบครัว การที่ต้องแยกตัวออกจากสังคม หรือแม้กระทั่งการสูญเสียผู้ที่เป็นที่รักไป รวมทั้ง ปัญหาการที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ เป็นต้น

ทั้งนี้ AAP รายงานว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับสุขภาพจิตและอัตราการฆ่าตัวตายในเด็กนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างปี ค.ศ. 2010 และ 2020 ขณะที่ วิกฤตการระบาดของโควิด-19 นั้น ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก โดยพิสูจน์ได้จาก ตัวเลขผู้ป่วยวัยเยาว์ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเพราะปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่พุ่งสูงอย่างรวดเร็ว

แมรี คาราพีเทียน อัลวอร์ด นักจิตวิทยาจากรัฐแมรีแลนด์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัย จอร์จ วอชิงตัน กล่าวว่า คนไข้วัยเยาว์ที่เธอทำการรักษามานั้น รู้สึกว่า ชีวิตของตนไม่ได้ก้าวหน้าไปไหน ทำให้เกิดอารมณ์โกรธ หงุดหงิด เศร้า และตื่นกลัว เพราะแต่ละคนคิดว่า ตนเสียเวลาในช่วงที่ผ่านมา โดยไม่ได้เรียนรู้ทักษะการศึกษาใดๆ ใหม่ และไม่ได้รู้สึกว่าตนเติบโตขึ้นเลย

Students play instruments during a socially distanced band practice at Orefield Middle School in Orefield, Pennsylvania, April 12, 2021.
Students play instruments during a socially distanced band practice at Orefield Middle School in Orefield, Pennsylvania, April 12, 2021.

นอกจากกรณีการขาดโอกาสเข้าเรียนและเจอเพื่อนฝูงแล้ว การที่โรงเรียนต่างๆ เริ่มกลับมาเปิดชั้นเรียนอีกครั้ง กลับทำให้หลายคนเกิดอาการตื่นตระหนกกลัวด้วยเช่นกัน

เนคีเชีย แฮมมอนด์ อดีตประธานสมาคมจิตวิทยาฟลอริดา (Florida Psychological Association) กล่าวว่า เด็กบางคนรู้สึกกลัวที่จะต้องกลับไปเรียนอีกครั้ง เพราะกลัวติดโควิด-19 กลัวการเปลี่ยนแปลงที่โรงเรียน หรือกลัวว่า ถ้าไปเรียนแล้วอาจจะเกิดอะไรขึ้นกับตน ซึ่งยิ่งทำให้อาการตื่นตระหนกกลัว หรืออาการซึมเศร้าในเด็กหลายคนยิ่งย่ำแย่ลงไปอีก

ทั้งนี้ ภาวะระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสทำให้ความรู้สึกปลอดภัยของเด็กๆ ส่วนใหญ่สั่นคลอนไปทั่ว โดยเฉพาะเมื่อมีรายงานว่า เด็กกว่า 140,000 คนในสหรัฐฯ ได้สูญเสียผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่รับผิดชอบเลี้ยงดูตนไป เพราะโควิด-19

นอกจากนั้น รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า เด็กๆ ที่เป็นสมาชิกครอบครัวคนผิวสี หรือไม่ใช่คนผิวขาวในสหรัฐฯ นั้น ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียเพราะโควิด-19 หนักหนากว่าเด็กผิวขาวมาก โดยในกรณีนี้ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการเสียชีวิตของคนในครอบครัวเท่านั้น แต่หมายถึงการสูญเสียทางการเงิน สังคมและเศรษฐกิจด้วย

Students play socially distanced during gym class at Kratzer Elementary School in Allentown, Pennsylvania, April 13, 2021.
Students play socially distanced during gym class at Kratzer Elementary School in Allentown, Pennsylvania, April 13, 2021.

เอเลนา มิคาลเซน จากโรงพยาบาลเด็ก ซาน อันโตนิโอ ในรัฐเท็กซัส ซึ่งทำงานใกล้ชิดกับเยาวชนที่เป็นสมาชิกคนกลุ่มน้อยภายในพื้นที่รัฐแห่งนี้ เปิดเผยว่า เด็กๆ หลายคนที่เธอได้พูดคุยด้วยบอกกับเธอว่า พวกเขาถูกบังคับให้ต้องใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพื่อการเรียนออนไลน์ เพราะเด็กๆ เหล่านั้นไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ ขณะที่ ปัญหาสัญญาณอินเตอร์เน็ตติดๆ ดับ ก็เป็นประเด็นที่ทำให้เด็กๆ กลุ่มดังกล่าวไม่สามารถเรียนหนังสือ ทำการบ้านหรือสอบไม่ได้อย่างเต็มที่

มิคาลเซน กล่าวด้วยว่า เด็กบางคนที่เธอได้พบต้องอยู่ที่บ้านเพียงลำพังทั้งวัน เพราะผู้ปกครองเป็นเจ้าหน้าที่แถวหน้าที่ต้องออกไปปฏิบัติงานทำหน้าที่แม้ในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 รุนแรง

สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกาได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลกลางจัดสรรงบประมาณมาช่วยดูแลปัญหาด้านสุขภาพจิต ทั้งในด้านการคัดกรองและการรักษา สำหรับเด็กๆ ที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยรุ่น โดยขอให้เน้นการให้ความช่วยเหลือนี้ไปยังกลุ่มเด็กที่มาจากครอบครัวด้อยโอกาสแล้ว

แมรี คาราพีเทียน อัลวอร์ด นักจิตวิทยาจากรัฐแมรีแลนด์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สังคมไม่ควรจะต้องรอให้สถานการณ์ที่ว่ารุนแรงจนเกินเยียวยา และสหรัฐฯ ควรมีระบบการให้บริการต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ในช่วงเวลาที่กำลังมีปัญหามากกว่า เพราะทุกคนล้วนมีความเกี่ยวพันกันและกัน กล่าวคือ ถ้าครอบครัวหนึ่งๆ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และเด็กๆ ได้กลับไปเรียนในชั้นเรียนและมีชีวิตที่ดี ระบบสังคมการศึกษาภายในโรงเรียนก็จะดีไปตาม ขณะที่ ครูก็จะสามารถให้การศึกษาที่จำเป็นได้อย่างดี แทนที่จะต้องมาดูแลปัญหาวิกฤตสุขภาพจิตของเด็กๆ

XS
SM
MD
LG