ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เปิดเส้นทางตามรอยพระยุคลบาท 'เจ้าฟ้ามหิดลฯ' ฉลองครบรอบ 100 ปีเสด็จแมสซาชูเซทส์ : ปฐมบทแห่งการแพทย์และสาธารณสุขไทย


Ceremony of celebrating the Legacy of HRH Prince Mahidol at Gloucester City Hall, Gloucester,MA Aug,27.
Ceremony of celebrating the Legacy of HRH Prince Mahidol at Gloucester City Hall, Gloucester,MA Aug,27.

ทางการท้องถิ่นรัฐแมสซูเซทส์และชาวอเมริกัน ในเมือง Gloucester ร่วมจัดงานเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีการเสด็จถึงรัฐแมสซาชูเซทส์ ของ'สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดล'และเปิดเส้นทางตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ณ สถานที่ทรงประทับครั้งแรกเพื่อรักษาความทรงจำและสืบทอดหน้าประวัติศาสตร์อันภาคภูมิใจร่วมกันของคนทั้งสองประเทศ

please wait

No media source currently available

0:00 0:05:53 0:00

พิธีเปิดแผ่นป้ายจารึกเพื่อบันทึกเรื่องราวการเสด็จถึงรัฐแมสซาชูเซทส์เป็นครั้งแรก ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ พระบรมราชชนก เมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม พุทธศักราช 2459 ณ สถานที่ซึ่งเคยเป็นโรงแรมที่ประทับแห่งแรก เมื่อ 100 ปีก่อน บริเวณริมชายฝั่งมหาสุมทรแอตแลนติค ที่เมืองกลอสเตอร์ เมืองพักตากอากาศและชุมชนชาวประมง ฝั่งตะวันออกของแมสซาชูเซทส์ มีความหมายสำคัญต่อชาวไทยและชาวอเมริกันที่เดินทางไปร่วมงาน

​เพราะนอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมพระเกียรติ ‘สมเด็จฯเจ้าฟ้ามหิดล’ ที่ชาวชุมชนไทยในรัฐแมทซาชูเซทส์ โดยมูลนิธิสถานที่พระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ The King of Thailand Birthplace Foundation หรือ KTBF ร่วมกับทางการเมืองกลอสเตอร์ จัดกิจกรรมร่วมรำลึกเก็บรักษาประวัติศาสตร์สำคัญเมื่อศตวรรษก่อนให้ยั่งยืนต่อไปแล้ว ยังสะท้อนถึงมิตรภาพและความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่าง 2 ประเทศ

Ceremony of celebrating the Legacy of HRH Prince Mahidol at Gloucester City Hall,Gloucester,MA Aug,27
Ceremony of celebrating the Legacy of HRH Prince Mahidol at Gloucester City Hall,Gloucester,MA Aug,27

Valerie Gilman สมาชิกสภาเมืองกลอสเตอร์ บอกว่า ชาวเมืองกลอสเตอร์ มีความภาคภูมิใจที่พระองค์เสด็จมาประทับที่นี่เป็นที่แรก และทรงพระเกษมสำราญในทุกครั้งของการเสด็จมาประทับอีกหลายครั้งหลังจากนั้น

เธอบอกด้วยว่า มีความปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณในสิ่งที่พระองค์ทรงทำหลายๆด้าน ทั้งการสานความสัมพันธ์ระหว่างไทยสหรัฐ และด้านการสาธารณสุขรวมทั้งถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่พระองค์ทรงเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์อันแสนวิเศษของชาวเมืองกลอสเตอร์

นอกจากที่เมืองกลอสเตอร์แล้วในช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองวาระ 100 ปีการเสด็จถึงรัฐแมสซาชูเซสท์ ทางคณะแพทยศาสตร์และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ร่วมกับมูลนิธิ KTBF จัดการประชุมเสวนาเชิงวิชาการด้วยการรวบรวมและสะท้อนพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงเป็นผู้วางรากฐานวงการสาธารณสุขและการแพทย์ของไทย โดยมีบุคลากรชาวไทยจากองค์กรด้านการแพทย์ในอเมริกา และมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยถึง 4 แห่ง คือมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่งตัวแทนมาร่วมงานและนำเสนอความก้าวหน้าทางการแพทย์ของไทย

Unveiling ceremony of the historic plaque of HRH Prince Mahidol at the Gloucester Inn by the Sea,MA.
Unveiling ceremony of the historic plaque of HRH Prince Mahidol at the Gloucester Inn by the Sea,MA.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภัทร อัยรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอ ไทย เกี่ยวกับการเดินทางมาครั้งนี้ ว่า มีการนำเสนอผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ได้ยึดถือพระปณิธานของพระองค์โดยเฉพาะปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ทุกคนจะยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

เช่นเดียวกับศาสตราจารย์คลีนิค นพ.อุดม คชินทร อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เดินทางไปร่วมการจัดงาน บอกว่า เป็นความโชคดีในหลายๆด้าน ที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ามหิดล เสด็จมาศึกษาที่แมสซาชูเซทส์ พระองค์ยังได้ทรงพบกับสมเด็จย่า ก่อนที่จะมีพิธีภิเษกและมีพระโอรสที่มีพระประสูติกาลที่นครแห่งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งพิเศษ ที่ยิ่งทำให้นครแห่งนี้เหมือนเป็นสถานที่สำคัญ เพราะว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา นั้นไม่เคยมีกษัตริย์ และการมีกษัตริย์มีพระประสูติกาลที่นี่ จึงเป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันหลายคนภาคภูมิใจ

ขณะที่ นายแพทย์ Scott Podolsky จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด บอกว่า การได้เห็นผู้คนได้รับแรงบันดาลใจจากพระองค์ท่าน ในการช่วยและยกระดับการแพทย์และสาธารณสุขในเมืองไทยและในเอเชียนั้นถือเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก

การเสด็จรัฐแมสซาชูเซทส์เพื่อทรงศึกษาด้านการแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด ในนครเคมบริดจ์ของ ที่‘สมเด็จฯเจ้าฟ้ามหิดล’ นั้น ไม่เพียงจะทรงมีส่วนยกระดับและพัฒนาวงการสาธารณสุขและการแพทย์ของไทยในเวลาต่อมาแล้วยังเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้รัฐแมสซาชูเซทส์ โดยเฉพาะนครเคมบริดจ์ มีความเกี่ยวเนื่องและผูกพันกับชาวไทยอย่างแนบแน่น ในฐานะ ‘นครแห่งพระราชสมภพ’ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงประสูติที่โรงพยาบาลเมาท์ออร์เบิร์น เมื่อปีพุทธศักราช 2470 อีกด้วย

XS
SM
MD
LG