ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทึ่ง! นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ สามารถปลูกถ่าย 'เซลล์ตั้งต้นของมนุษย์' ให้เติบโตได้ในร่างกายสัตว์


นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ พบว่าเซลล์ตั้งต้นของคนเติบโตได้ในร่างกายสัตว์

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:01 0:00

ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ Salk Institute ชี้ว่าการสร้างอวัยวะมนุษย์ภายในร่างกายของสัตว์นี้ เริ่มต้นจากการฉีดเซลล์ตั้งต้นของมนุษย์เข้าไปในตัวอ่อนของหมู แล้วหลังจากนั้นจะตรวจดูว่าเซลล์ตั้งต้นของมนุษย์มีการเเบ่งตัวและเติบโตหรือไม่

Juan Carlos Izpisua Belmonte นักวิทยาศาสตร์แห่ง Salk Institute กล่าวว่า ทีมงานนำสเต็มเซลล์ของคนไปปลูกในร่างกายของสัตว์ซึ่งเป็นสภาพเเวดล้อมธรรมชาติ และในสภาพเเวดล้อมนี้ เซลล์สามารถเติบโตได้ และสามารถควบคุมให้เซลล์สร้างเป็นอวัยวะต่างๆ ได้ ตั้งเเต่ หัวใจ ตับหรือ ตับอ่อน

เขากล่าวว่าน่าตื่นเต้นมาก เพราะนี่เป็นครั้งเเรกที่่นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาว่า เซลล์ของมนุษย์เติบโตในร่างกายสัตว์ได้อย่างไร

หมูเป็นสัตว์ที่มีขนาดของร่างกายโตพอในการทดลองปลูกสร้างอวัยวะคน เเละสเต็มเซลล์ที่ใช้จะมาจากคนที่ต้องการอวัยวะนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบภูมิต้านทานในร่างกายไม่ต่อต้านอวัยวะ

Juan Carlos Izpisua Belmonte นักวิทยาศาสตร์แห่ง Salk Institute กล่าวว่า ความเป็นไปได้ในการปลูกสร้างอวัยวะคนในร่างกายสัตว์ เป็นก้าวย่างเเรกที่น่าตื่นเต้นในการค้นหาทางปลูกสร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะเพื่อใช้ปลูกถ่ายแก่ผู้ป่วย

เขากล่าวว่าหนทางยังยาวไกลและยังต้องทดลองในห้องแล็บต่อไป เพื่อให้เข้าใจถึงการตอบสนองต่อกันเเละกันระหว่างสเต็มเซลล์ของคนกับเซลล์ของหมู

ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานว่า ตัวอ่อนหมูที่ได้รับการปลูกสเต็มเซลล์ของคนทั้งหมดถูกทำลายทิ้ง และเทคโนโลยีนี้ก่อให้เกิดการถกเถียงด้านจรรยาบรรณหลายอย่างด้วยกัน

ทาง National Institute of Health แห่งสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้ยุติการใช้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลในการวิจัยการปลูกสร้างอวัยวะคนในสัตว์ ในปี ค.ศ. 2015

แต่ในสหรัฐฯ มีคนเสียชีวิตวันละ 22 คน ขณะรอรับอวัยวะบริจาคที่จะใช้ในการปลูกถ่าย หากประเด็นด้านจรรยาบรรณได้รับการสะสาง และทีมนักวิทยาศาสตร์ทีมนี้สามารถเดินหน้าการทดลองเพื่อปรับปรุงขั้นตอนการปลูกสร้างอวัยวะคนในหมูให้ดีขึ้น การวิจัยนี้มีจะบทบาทในการช่วยรักษาชีวิตคนเอาไว้ได้นับไม่ถ้วนในอนาคต

(รายงานโดย Kevin Enochs / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG