ก่อนเกิดการระบาดของโคโรนาไวรัส สหรัฐฯ เชื่อมั่นในศักยภาพการรับมือกับวิกฤตด้านสาธารณสุขของประเทศตน แต่เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งปี เป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธได้ว่าอเมริกาได้รับผลกระทบที่ร้ายเเรงอย่างยิ่งจากโควิด-19
เเละเมื่อพิจารณาว่าชาวอเมริกันเสียชีวิตไปแล้วมากกว่าห้านเเสนคน ผู้คนจำนวนมากจึงมองว่าการบริหารจัดการกับการระบาดสะท้อนถึง "ปัญหา" มากกว่า "ความสำเร็จ"
ลอว์เรนซ์ กอสติน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมาตรการสาธารณสุขระดับโลกจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ กล่าวว่า “ความสามารถในการรับมือเเละฟื้นฟูผลจากการปัญหาด้านสาธารณสุข (ของสหรัฐฯ) สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลว จากตัวอย่างของโควิด-19”
ผู้เชี่ยวชาญรายนี้กล่าวด้วยว่า อเมริกาเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก แต่ขณะเดียวกันผลงานเรื่องการรับมือกับการระบาดของโคโรนาไวรัส “ย่ำเเย่ที่สุด” ซึ่งถือว่า “เป็นเรื่องที่ไม่น่าหาข้อแก้ตัวได้”
เขากล่าวว่าระบบสาธารณสุขสหรัฐฯ ขาดทุนรอน และขาดบุคคลากรอย่างเพียงพอมาหลายปี
ส่วน ทอม ฟรีเดน อดีตผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ หรือ Centers for Disease Control and Prevention กล่าวว่า การ การรับมือโควิดของสหรัฐฯ ขาดการทำงานอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาสู่ประชาชน
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวหาอดีตประธานาธิบโดนัลด์ ทรัมป์ ว่ามีส่วนให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น ส่งเสริมการรักษาที่ไม่น่าเชื่อถือ ลดความสำคัญของคำเเนะนำจากนักวิทยาศาสตร์และทำให้เรื่องการป้องกันการระบาดเป็นเรื่องการเมือง
อย่างไรก็ตาม อดีตประธานาธิบดีทรัมป์ ได้รับคำชมเรื่องการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ได้รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์การพัฒนาวัคซีน และผลงานนี้ของโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังสร้างผลดีต่อความพยายามต่อสู้กับการระบาด
และเมื่อสหรัฐฯ มีผู้นำคนใหม่ คือนายโจ ไบเดน หลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน ผู้เชื่ยวชาญหลายคนรู้สึกโล่งอก
นายเเพทย์แอนโธนี เฟาชี ผู้อำนวยการผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ กล่าวว่า การที่ได้พูดถึงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และให้หลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นแนวทางนำมาตรการต่าง ๆ สร้างความรู้สึกใหม่และเหมือนได้หลุดพ้นจากสิ่งกดดันบางอย่าง
แม้ผู้เชี่ยวชาญเห็นสัญญาณเชิงบวกในด้านต่าง ๆ หลังเวลาผ่านไปหนึ่งปี แต่พวกเขายอมรับว่าศึกนี้ยังอีกยาวสำหรับการต่อสู้กับโคโรนาไวรัส ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการแจกจ่ายวัคซีนยังคงไม่ราบรื่นนัก และมีความเหลื่อมล้ำตามชุนชน รายได้และกลุ่มชาติพันธุ์ ขณะที่ก็มีความคิดของคนบางกลุ่มที่ไม่เชื่อในประสิทธิภาพของวัคซีน
อาจารย์ ลอว์เรนซ์ กอสติน จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ กล่าวว่าทุกคนคงจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป และต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด-19 ต่อไป แต่เขาเชื่อว่าการรับมือต่อโรคดังกล่าวจะทำได้ดีขึ้น