ลิ้งค์เชื่อมต่อ

"ปลูกผักแนวตั้งในตัวอาคาร" การเกษตรแนวใหม่ให้ผลผลิตสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม


การปลูกผักในร่มปลอดสารเคมีกำลังเปลี่ยนโฉมหน้าการเกษตรกรรมในสหรัฐฯ เพราะประหยัดทั้งน้ำเเละปุ๋ย

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:16 0:00
Direct link

สวนผักในตัวอาคารที่เรียกว่า Vertical Farming ของบริษัท AeroFarms ในรัฐ New Jersey ต่างจากสวนผักแบบดั้งเดิมที่เราเห็นกันทั่วไป เพราะตั้งอยู่ภายในตัวอาคารที่อยู่ในตัวเมือง Newark

บริษัทนี้ปลูกผักใบเขียวได้ตลอดทั้งปี โดยใช้เเสงจากหลอดไฟระบบ LED ที่ประหยัดและทนทานกว่า ใช้ระบบให้สารอาหารผ่านทางรากที่เรียกว่า aeroponic mist และใช้ผ้าในการปลูกซึ่งยังนำไปหมุนเวียนใช้ใหม่ได้

นาย David Roseberg ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของบริษัท AeroFarms กล่าวว่า การตัดสินใจพัฒนาการเพาะปลูกผักใบเขียวเเบบใหม่นี้ เป็นผลดีต่อทั้งบริษัทและต่อสิ่งเเวดล้อม

วิธีปลูกผักในร่มนี้ลดการใช้น้ำลงมาได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ และภายในราว 16 วัน สวนผักในตัวอาคารของบริษัทให้ผลผลิตต่อหนึ่งตารางฟุต สูงกว่าการปลูกในไร่นาทั่วไปถึง 80 เท่าตัว การปลูกผักในตัวอาคารของบริษัท AeroFarms ยังใช้ปุ่ยน้อยกว่าการปลูกผักวิธีดั้งเดิมถึงครึ่งหนึ่งและไม่ใช้สารเคมีฆ่าเเมลง

บริษัท AeroFarms ดำเนินธุรกิจปลูกผักในร่มเเล้วใน 4 ทวีปด้วยกัน และสวนผักในอาคารพื้นที่รวม 65,000 ตารางเมตรภายในตัวเมือง Newark กำลังจะเริ่มดำเนินการในเร็ววันนี้ ทางบริษัทได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตให้สูงขึ้น และจะขยายธุรกิจปลูกผักในร่มออกไปทั่วโลก

นาย Marc Oshima หัวหน้าฝ่ายการตลาดบริษัท AeroFarms กล่าวว่า ทางบริษัทมองว่าเมืองใหญ่เป็นโอกาสทางธุรกิจปลูกผักในร่ม โดยดูปัจจัยของความหนาเเน่น จำนวนประชากร และผู้บริโภคผักใบเขียว

สวนผักในร่มของบริษัทยังมีห้องทดลองชิมผักอีกด้วย Alina Zolotareva นักโภชนาการอาหารที่บริษัท AeroFarms กล่าวว่า เป้าหมายของเธอคือการกระตุ้นให้คนอเมริกันรับประทานผักใบเขียวกันมากขึ้น เพื่อผลดีต่อสุขภาพ ดังนั้นรสชาดของผักจึงเป็นปัจจัยสำคัญ

เธอกล่าวว่าชาวอเมริกันรับประทานผักน้อย ทางบริษัทจึงมุ่งผลิตผักที่มีรสชาดหลากหลายเพื่อทำให้ผักกินง่ายและไม่น่าเบื่อ

โรงเรียนมัธยมต้น Phillip’s Academy ที่ตั้งอยู่ใกล้กับสวนผักของบริษัท ก็ได้นำวิธีปลูกผักใบเขียวในร่มไปทดลองในโรงเรียนเเล้ว เพื่อเก็บผลผลิตผักที่ได้เข้าโครงการอาหารกลางวันที่โรงเรียน

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน )

XS
SM
MD
LG