ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหรัฐฯ ขอให้เปียงยางยึดมั่นการเจรจา หลังเพิ่งทดสอบยิงขีปนาวุธจากเรือดำน้ำ


People watch a TV showing a file image of North Korea's missile launch during a news program at the Seoul Railway Station in Seoul, South Korea, Wednesday, Oct. 2, 2019. North Korea on Wednesday fired projectiles toward its eastern sea, South Korea…
People watch a TV showing a file image of North Korea's missile launch during a news program at the Seoul Railway Station in Seoul, South Korea, Wednesday, Oct. 2, 2019. North Korea on Wednesday fired projectiles toward its eastern sea, South Korea…

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เรียกร้องให้เกาหลีเหนือยุติการคุกคามประเทศอื่น และขอให้ปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ รวมทั้งให้ยึดมั่นต่อการเจรจาเพื่อนำสันติภาพและความมั่นคงกลับคืนสู่คาบสมุทรเกาหลี หลังจากที่มีรายงานว่าเกาหลีเหนือเพิ่งทดสอบขีปนาวุธสองลูกเมื่อวันอังคาร ซึ่งเชื่อว่าอาจเป็นขีปนาวุธนำวิถีที่ถูกยิงจากเรือดำน้ำ

หากเป็นความจริงจะถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญด้านอาวุธของเกาหลีเหนือ และมีขึ้นก่อนที่จะมีการหารือระดับคณะทำงานระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของกรุงเปียงยาง

กองทัพเกาหลีใต้รายงานในวันพุธว่า มีแนวโน้มสูงที่เกาหลีเหนือได้ทดสอบจรวดแบบที่ยิงจากเรือดำน้ำ หรือ SLBM จากทะเลใกล้เมืองวอนซาน ในจังหวัดกังวอน โดยเชื่อว่าจรวดดังกล่าวลอยไปไกล 450 กม. ในระดับความสูง 910 กม.

แต่ทางเจ้าหน้าที่กลาโหมสหรัฐฯ เชื่อว่า เกาหลีเหนือใช้เรือท้องแบนขนาดใหญ่บรรทุกฐานยิงจรวดกลางทะเล

หากรายงานชิ้นนี้เป็นความจริง จะถือเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีที่เกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธที่สามารถลอยไปไกลเกินระยะทางที่ระบุว่าเป็น "พิสัยใกล้" และเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีเช่นกัน ที่จรวดของเกาหลีเหนือไปตกในพื้นที่ที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของญี่ปุ่น ซึ่งนายกรัฐมนตรี ชินโซ่ อาเบะ ได้ออกมาประณามการทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือครั้งนี้แล้ว

การทดสอบขีปนาวุธครั้งล่าสุดของกรุงเปียงยางยังถือเป็นการคุกคามต่อการเจรจาในระดับคณะทำงานของเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯ ที่กำหนดจะมีขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ แม้ว่าจนถึงขณะนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังมิได้แสดงทีท่าว่าจะชะลอหรือยกเลิกการเจรจาดังกล่าว ขณะที่ดูเหมือนเกาหลีเหนือเองก็ส่งสัญญาณว่าจะทดสอบขีปนาวุธต่อไปแม้กำลังเข้าสู่การเจรจาด้านนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ ก็ตาม

XS
SM
MD
LG