ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักการศึกษาที่งานประชุมนานาชาติชี้เด็กไทยมีจุดเด่นเรื่องการทำงานเป็นทีม


สัมภาษณ์นักวิชาการศึกษา ไบรอัน ฟิลลิปส์
please wait

No media source currently available

0:00 0:00:52 0:00

สัมภาษณ์นักวิชาการศึกษา ไบรอัน ฟิลลิปส์

อย่างไรก็ตามนักเรียนต้องรู้จักไขว่คว้าหาความรู้ไม่ใช่รอแต่จะรับจากอาจารย์อย่างที่คุ้นเคยในระบบการศึกษาไทย

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:46 0:00
Direct link

ในแต่ละปีนักเรียนจากมหาวิทยาลัยไทยจำนวนมากเข้าโครงการแลกเปลี่ยน เพื่อใช้บางช่วงของการศึกษาไปเก็บหน่วยกิจและประสบการณ์ที่สถาบันต่างประเทศ

การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ เป็นตัวแปรสำคัญที่กำหนดคุณภาพการใช้ชีวิตของนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน ระหว่างช่วงเวลาของโครงการแลกเปลี่ยนในต่างแดน

นักการศึกษาจากประเทศไทยร่วมกันให้ข้อคิดเรื่องนี้ ในบทสัมภาษณ์กับวอยซ์ออฟอเมริกาภาคภาษาไทย ขณะเข้าร่วมงานมหกรรมการศึกษาต่างประเทศ NAFSA Conference and Expo ที่นครเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด้ ซึ่งเพิ่งจบลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

อาจารย์ Brian Phillips ผู้ช่วยคณบดีกิจการต่างประเทศและการสร้างเครือข่าย จากวิทยาลัยนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า อันที่จริงนักเรียนไทยมีพื้นฐานการทำงานเป็นทีมที่ดี ซึ่งช่วยส่งเสริมประสบการณ์การแลกเปลี่ยนความรู้ วัฒนธรรมและมิตรภาพ

แต่ต้องไม่ลืมว่านักเรียนจำนวนมากมักจะขี้อาย

เขาบอกว่า หากนักเรียนลดความขี้อายลงในช่วงแรกๆ และเข้ากับกลุ่มเพื่อนได้ ช่วงที่เหลือของโครงการแลกเปลี่ยนไม่น่าจะมีปัญหา นอกจากนั้นยังฝากบอกว่า การเรียนในบางประเทศ เช่นสหรัฐฯ นักเรียนต้องรู้จักไขว่คว้าหาความรู้ ไม่ใช่รอแต่จะรับจากอาจารย์อย่างที่คุ้นเคยในระบบการศึกษาไทย

รวมถึงการเปิดใจเรียนรู้ เปิดใจให้กับวิธีการเรียนใหม่ๆ ด้วย ตามคำแนะนำของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุรัชย์ ภัทรโกศล จาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Dr. Burat
Dr. Burat

อาจารย์บุรัชย์ บอกว่า ไม่อยากได้ยินคนที่ทำเกรดไม่ดีช่วงโครงการแลกเปลี่ยน ที่บอกว่าได้คะแนนน้อยเพราะต้องเรียนในรูปแบบที่แตกต่าง

ท้ายสุด ดร. สุปรีดี ฤทธิ์รงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บอกกับวีโอเอว่า ปัจจุบันการหาประสบการณ์ต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเรียนมหาวิทยาลัย โดยได้ประโยชน์ทั้งด้านการศึกษา เครือข่ายเพื่อนและอาจารย์ที่กว้างขึ้น

รวมถึงภาษาต่างประเทศซึ่งอาจเป็นภาษาทีสามที่นักศึกษาเพิ่มพูมความรู้ขึ้นมาจากภาษาไทยและอังกฤษด้วย

(โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ / รายงานและเรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG