ลิ้งค์เชื่อมต่อ

คณะทำงานอิสระชี้มีเหตุผลน่าเชื่อว่ากองทัพเมียนมา 'ก่ออาชญากรรมสงคราม'


Myanmar's leader Aung San Suu Kyi, right, shakes hands with Philippine diplomat Rosario Manalo, a member of the Independent Commission of Enquiry for Rakhine State, at the Presidential Palace in Naypyitaw, Myanmar, Monday, Jan. 20, 2020. An…
Myanmar's leader Aung San Suu Kyi, right, shakes hands with Philippine diplomat Rosario Manalo, a member of the Independent Commission of Enquiry for Rakhine State, at the Presidential Palace in Naypyitaw, Myanmar, Monday, Jan. 20, 2020. An…

คณะกรรมการอิสระที่รัฐบาลเมียนมาแต่งตั้งขึ้น สรุปการศึกษากรณีเกี่ยวกับชาวโรฮีนจา ว่ามีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าฝ่ายความมั่นคงเมียนมาก่ออาชญากรรมสงครามในปฏิบัติการที่ทำให้ชาวโรฮินจากว่า 700,000 คนต้องอพยพไปยังประเทศบังคลาเทศ

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการที่มีนักการทูตฟิลิปปินส์เป็นประธาน ระบุว่า ไม่พบหลักฐานว่ามีการวางแผนหรือปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้

รายงานของคณะกรรมการชุดนี้ถูกเปิดเผยก่อนการตัดสินใจวันพฤหัสบดีของศาลโลกว่าจะออกคำสั่งชั่วคราวเพื่อยับยั้งปฏิบัติการของทหารเมียนมาต่อชาวโรฮินจาหรือไม่ จนกว่าศาลจะตัดสินข้อกล่าวหาของประเทศแกมเบียที่ว่ารัฐบาลเมียนมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮินจา

เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ประเทศแกมเบียในภูมิภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา ยื่นฟ้องเมียนมาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) โดยกล่าวหาว่าเมียนมา "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ชาวมุสลิมโรฮินจา

ในการดำเนินคดีครั้งนี้ แกมเบีย ซึ่งมีประชากรจำนวนมากนับถือศาสนาอิสลาม ได้รับการสนับสนุนอย่างสมบูรณ์จากองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organization for Islamic Cooperation) ที่มีสมาชิก 57 ประเทศ

การดำเนินคดีลักษณะนี้ผ่านศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติ อาจให้เวลาหลายปี แต่ศาลสามารถออกคำสั่งยับยั้งชั่วคราวเพื่อรอคำตัดสินคดีได้

XS
SM
MD
LG