ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ฝิ่น การแย่งชิงอำนาจ และการเมือง เบื้องหลังการสู้รบในตอนเหนือของรัฐฉานของพม่า


การสู้รบระหว่างกบฎโกกั้งซึ่งเป็นชาวพม่าเชื้อสายจีนกับทหารของรัฐบาลพม่า ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วหลายสิบคน และผู้ที่ต้องอพยพหนีภัยอีกหลายหมื่นคน

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:55 0:00
Direct link
Myanmar Red Cross members carry injured victim during clash between government troops and Kokang rebels in northeastern Shan State, northeast of Yangon, Feb. 17, 2015.
Myanmar Red Cross members carry injured victim during clash between government troops and Kokang rebels in northeastern Shan State, northeast of Yangon, Feb. 17, 2015.

การสู้รบดังกล่าวทำให้ความหวังของรัฐบาลพม่าที่จะเจรจาหยุดยิงกับฝ่ายกบฎทั่วประเทศก่อนการเลือกตั้งทั่วไปต้องชะงักงันไปก่อนในขณะนี้

คาดกันว่าประเด็นพื้นฐานที่ต้องหาทางทำความเข้าใจกันให้ได้ก่อน คือใครเป็นผู้ควบคุมพื้นที่และทรัพยากร

ในตอนเหนือของรัฐฉาน กองทัพปลดแอกแห่งชาติของชาว Ta’ang (TNLA) ซึ่งเป็นกลุ่มกบฎเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ได้เข้าร่วมมือกับกลุ่ม Kokang กบฎชาวพม่าเชื้อสายจีนที่เป็นกลุ่มใหญ่กว่าและมีกำลังมากกว่า ต่อสู้กับกองทัพรัฐบาลพม่า เพื่อให้ได้สิทธิ์ในการปกครองตนเอง

นาย Tar Win Maw ผู้นำอาวุโสคนหนึ่งของ TNLA บอกว่า ที่สำคัญก็คือ พวกเขาเป็นชนกลุ่มน้อยต่างเชื้อชาติเหมือนกัน และเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างเดียวกัน ถ้าไม่ร่วมมือกันทั้งทางการเมืองและทางสังคมแล้ว ก็จะสู้กับรัฐบาลพม่าไม่ได้

ประเด็นที่ฝ่ายกบฎเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ คือการปราบปรามการปลูกฝิ่น ซึ่งฝ่ายกบฎกล่าวว่า อยู่ในความดูแลของกองทัพบกพม่า

รายงานขององค์การสหประชาชาติกล่าวว่ามีการปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้นในรัฐฉาน ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แม้ปริมาณการปลูกจะลดลงเฉพาะในปีที่แล้ว พวกกบฎกำลังร่วมมือกับชาวเขาชนกลุ่มน้อยทำลายฝิ่นเหล่านี้

นาย Ta Sanai Lay ผู้บัญชาการทหารคนที่สองของ TNLA บอกกับผู้สื่อข่าวของ AsiaReports.com ว่าผู้ที่ได้ผลประโยชน์จากฝิ่น คือแก๊งยาเสพติดที่ชายแดน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลพม่า

เขากล่าวแสดงความหวังว่า สักวันหนึ่งจะกำจัดยาเสพติดออกไปได้หมดจากบริเวณของชาว Ta’ang

รัฐฉานเป็นบริเวณหนึ่งในพม่าที่มีการเพาะปลูกฝิ่นอย่างแข็งขัน และทางการพม่ากล่าวหาว่าพวกกบฎสนับสนุนการค้าฝิ่น ในขณะที่ฝ่ายกบฎปฏิเสธคำกล่าวหาและว่า แม้กระทั่งชาวไร่ชาวนาในพื้นที่ ซึ่งเหนื่อยหน่ายกับแก๊งยาเสพติด ก็ไม่อยากให้มีการค้ายาเสพติดอีกต่อไป

นาย Bertil Lintner ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพม่า บอกว่า บริเวณ Palaung นี้ มีปัญหาเรื่องยาเสพติดมาหลายปีแล้ว และขณะนี้พวก TNLA กำลังเข้าไปร่วมมือกับชาวไร่ชาวนารณรงค์ต่อต้านอย่างจริงจัง

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพม่าให้ความเห็นต่อไปว่าพวก TNLA เข้าไปร่วมมือกับพวก Kokang ก็เพราะต้องการการสนับสนุนทางการเมือง แม้ผู้นำของ Kokang นาย Peng Jiasheng จะเคยพัวพันกับการค้ายาเสพติดมาก่อน แต่ก็ไม่มากเหมือนพวกแก๊งที่เป็นหน่วยอาสาของรัฐบาล

การสู้รบระหว่างทหารพม่ากับฝ่ายกบฎยังคงดำเนินอยู่ต่อไปในตอนเหนือของรัฐฉาน ซึ่งเป็นบริเวณที่ห่างไกล ทำให้ความหวังของประชาชนในที่นั้นที่จะเห็นสันติภาพและสภาพการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น ต้องรอต่อไปก่อน

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG