ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ปมระบบ 5 จี ทดสอบ ‘มิตรภาพเก่าแก่’ อังกฤษ-สหรัฐฯ และอิทธิพลของจีน


Britain's Prime Minister Boris Johnson, right, welcomes U.S. Secretary of State Mike Pompeo to Downing Street, London, ahead of a private meeting, July 21, 2020.
Britain's Prime Minister Boris Johnson, right, welcomes U.S. Secretary of State Mike Pompeo to Downing Street, London, ahead of a private meeting, July 21, 2020.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:40 0:00


ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่คุกรุ่นระหว่างสหรัฐฯและจีน ผู้ที่สนใจการเมืองระหว่างประเทศจับตาการหาแนวร่วมโดยฝ่ายอเมริกา

ตัวอย่างล่าสุดเห็นได้ในกรณีของอังกฤษพันธมิตรเก่าแก่ของสหรัฐฯ ที่พยายามสานสัมพันธ์การค้ากับจีน​

รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ อยู่ระหว่างเดินทางเยือนกรุงลอนดอน เพื่อพบกับนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน

ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน นายกรัฐมนตรีจอห์นสัน อ้างเหตุผลด้านความมั่นคงในการตัดสินใจห้ามบริษัทหัวเหว่ยของจีนร่วมพัฒนาโครงการ 5 จี ของอังกฤษ

สหรัฐฯ พยายามโน้มน้าวในอังกฤษ ทำเช่นนั้นมาเป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้ว และเมื่อผลออกมาเช่นนั้น นักวิเคราะห์เห็นว่า อังกฤษมีท่าทีที่คล้องจองกับสหรัฐฯมากขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนผู้นำสหรัฐฯ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทวีตในวันจันทร์เพื่อชื่นชมการตัดสินใจเรื่องหัวเหว่ยของนายกฯจอห์นสัน

รัฐมนตรีพอมเพโอ กล่าวหลังการหารือกับ นายบอริส จอนห์นสัน ว่าความสัมพันธ์ที่มีมายาวนานของทั้งสองประเทศเป็นพื้นฐานที่ดีต่อการคุยกันในวันนี้อย่างตรงไปตรงมา ในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่เทคโนโลยีโทรคมนาคม 5 จี และการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯและอังกฤษ

รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ยังได้ชื่นชมอังกฤษที่แสดงจุดยืนที่ไม่อ่อนข้อต่อจีน ทั้งในเรื่องหัวเหว่ยและฮ่องกง ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

ไมค์ พอมเพโอกล่าวด้วยว่า สหรัฐฯ ต้องการให้ทุกประเทศทำงานร่วมกันเพื่อต้านความพยายามของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

นักวิเคราะห์กล่าวว่ากรณีการตัดสินใจเรื่องหัวเหว่ยเป็นบททดสอบสำคัญ ของอังกฤษที่เคยโน้มเอียงไปในที่จะให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนรายนี้เข้าช่วยพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสาร 5 จี

Huawei headquarters building is pictured in Reading, Britain, July 14, 2020.
Huawei headquarters building is pictured in Reading, Britain, July 14, 2020.

ด้านหนึ่งจีนดำเนินโยบายเข้าหาอังกฤษอย่างเเข็งขัน เพื่อให้ได้มาซึ่งความสัมพันธ์ทางการค้า ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 2016 ที่มีการลงประชามติให้อังกฤษออกจากสหภาพยุโรป หรือเบร็กซิต

แต่อีกด้านหนึ่งสหรัฐฯ ซึ่งเป็นพันธมิตรเก่าแก่ของอังกฤษ ต้องการให้รัฐบาลกรุงลอนดอน เป็นแนวร่วมในการคานอำนาจของทางการปักกิ่ง

การเดินเกมอย่างรักษาสมดุลของอังกฤษทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆเมื่อสหรัฐฯโต้เเย้งกับจีนเรื่องการระบาดของโคโรนาไวรัส และเมื่อจีนยกระดับท่าทีที่เเข็งกร้าวทั้งในประเด็นทะเลจีนใต้ และเรื่องกฎหมายต่อกาะฮ่องกง

ในสัปดาห์นี้ อังกฤษประกาศระงับความตกลงส่งผู้ต้องสงสัยข้ามแดนกับฮ่องกง เพื่อเป็นการตอบโ้ต้จีนแผ่นดินใหญ่ที่ประกาศกฎหมายรักษาความมั่นคงต่อเกาะแห่งนี้

และรัฐบาลกรุงลอนดอนยังได้ใช้มาตรการลงโทษทางการค้า โดยการไม่ขายเครื่องมือหรืออาวุธที่อาจใช้ในการกดขี่ประชาชนภายในของฮ่องกง

รัฐมนตรีต่างประเทศ โดมินิค ราบของอังกฤษกล่าวว่ามาตรการนี้เป็นสิ่งที่จำเป็น และ ‘สมนำ้สมเนื้อ’ กับการที่ปักกิ่งใช้กฎหมายความมั่นคงต่อฮ่องกง

In this photo made available by 10 Downing Street, Britain's Foreign Secretary Dominic Raab gestures during a coronavirus media briefing at 10 Downing Street, in London, April 16, 2020.
In this photo made available by 10 Downing Street, Britain's Foreign Secretary Dominic Raab gestures during a coronavirus media briefing at 10 Downing Street, in London, April 16, 2020.

จีนตอบโต้ในวันจันทร์ว่า อังกฤษจะต้องแบกรับผลพวงที่ตามมาจากการกระทำครั้งนี้ และว่าอังกฤษ ‘เดินทางผิดโดยไม่สนใจจุดยืนที่ขึงขังของจีน’ ทางการปักกิ่งกล่าวด้วยว่า เรื่องฮ่องกงเป็นเรื่องภายในของจีน และอังกฤษต้องยุติการแทรกแซงโดยทันที

และการตัดสินใจกลับลำของอังกฤษเรื่องหัวเหว่ย น่าจะทำลายโอกาสที่รัฐบาลลอนดอนจะสามารถโน้มน้าวจีนในเรื่องการค้าที่กำลังเจรจากันอยู่ โดยอังกฤษเคยหวังว่าการค้ากับจีนจะมาทดแทนรายได้ที่หายไปเนื่องจากเบร็กซิต

นั่นอาจหมายความว่า บริษัทอังกฤษอย่างเช่น AstraZeneca, GlaxoSmithKline, Burberry และ Jaguar Land Rover ซึ่งมีธุรกิจอยู่ในจีนต้องรีบตั้งรับให้ทันกับการตอบโต้กลับของทางการปักกิ่ง ในอีกไม่ช้านี้

XS
SM
MD
LG