ลิ้งค์เชื่อมต่อ

"เทคโนโลยีอนุภาคนาโน" จะช่วยให้การบำบัดเบาหวานทำได้ง่ายขึ้น


Scientists Creating New Devices to Battle Diabetes
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:17 0:00

Scientists Creating New Devices to Battle Diabetes

นักวิทยาศาสตร์ในอังกฤษและในเกาหลีใต้กำลังพัฒนาวิธีบำบัดเบาหวานให้มีประสิทธิภาพและเจ็บปวดน้อยลง

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:36 0:00
Direct link

มีปัจจัยสองอย่างที่ช่วยให้การบำบัดผู้ป่วยเบาหวานให้มีประสิทธิภาพ ปัจจัย เเรก คือการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องว่าเป็นเบาหวานประเภทใด และปัจจัยที่สองคือการให้ยาบำบัดที่ถูกต้องกับชนิดของโรค

การวินิจฉัยโรคที่ผิดพลาด กับการบำบัดไม่ถูกต้องกับชนิดของโรค จะก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา

คุณ Richard Oram ผู้เชี่ยวชาญแห่งNational Institute of Health แห่งอังกฤษ กล่าวว่าหากวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ว่าเป็นเบาหวานประเภทที่ 1 ผู้ป่วยจะต้องบำบัดด้วยสารอินซูลินไปตลอดชีวิต ทั้งที่ไม่มีความจำเป็น

และหากวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 1 ว่าเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ผู้ป่วยจะไม่ได้รับการบำบัดด้วยสารอินซูลิน ผู้ป่วยจะเกิดโรคเเทรกซ้อนที่ร้ายเเรงถึงชีวิตตามมาได้

ขณะนี้มีการตรวจวินิจฉัยหาโรคแบบใหม่ที่ไม่แพงซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยทีมนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยการแพทย์ Exeter วิธีการตรวจแบบใหม่นี้ตรวจวัดลักษณะทางพันธุกรรมหลากหลายแบบด้วยกันในดีเอ็นเอของผู้ป่วย และคำนวณระดับความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานประเภทที่ 1 หรือเบาหวานประเภทที่ 2

นอกจากนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังกำลังพยายามพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคโดยใช้ดีเอ็นเอ ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม และใช้ได้กับโปรแกรมโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนอีกด้วย

ในขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ในเกาหลีใต้กำลังพัฒนาแถบกาวอนุภาคนาโนที่ช่วยกำจัดความเจ็บปวดและความเครียดของผู้ป่วย จากการฉีดสารอินซูลินเป็นประจำทุกวัน

คุณ Kim Dae-Hyeong ผู้เชี่ยวชาญแห่ง Seoul National University กล่าวว่า แถบกาวติดบนผิวหนังอนุภาคนาโน ช่วยผู้ป่วยเบาหวานเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในกระเเสเลือดได้ผ่านการตรวจเหงื่อ โดยไม่ต้องเจาะเลือดตรวจหรือฉีดยาอินซูลินบำบัด เพราะแผ่นเเถบกาวอนุภาคนาโนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการฉีดยาอินซูลินสู่ร่างกายผู้ป่วยโดยอัตโนมัติ

แผ่นแถบกาวอนุภาคนาโนนี้ติดเข็มขนาดจิ๋วจำนวนมากที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นอยู่ภายใน ซึ่งจะฝังเข้าไปในเนื้อเยื่อชั้นที่อยู่ใต้ผิวหนังของผู้ป่วย ทันทีที่ตัวชิพที่ติดอยู่ในแผ่นเเถบกาวระบุว่าระดับน้ำตาลในกระเเสเลือดสูงขึ้นเกินระดับปกติ ตัวทำความร้อนขนาดเล็กในแถบกาวจะละลายยาบำบัดในแถบกาวก่อนจะฉีดเข้าไปในกระเเสเลือด

ผลการทดสอบหลายครั้งในหนูทดลองสร้างความหวังแก่ทีมนักวิจัย ว่าพวกเขาจะสามารถนำแผ่นแถบกาวบำบัดเบาหวานนี้ไปทดลองในคนได้ในอนาคตอันใกล้

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG