ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยพบ 'แสงอินฟราเรด' ที่ใช้บำบัดโรคจอประสาทตาเสื่อม ใช้ได้ผลในการบำบัดผึ้งที่ถูกพิษยาฆ่าเเมลง


นักวิจัยอังกฤษใช้เเสงอินฟราเรดบำบัดผึ้งที่ได้รับพิษจากยาฆ่าเเมลง

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:30 0:00

ศาสตราจารย์ Glen Jeffery จากมหาวิทยาลัย University College London อธิบายว่ากระบอกไฟฉายเเสงสีเเดงที่เขาคิดค้นขึ้น ใช้บำบัดอาการจอประสาทตาเสื่อมซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุตาบอด โดยนอกจากจะได้ผลดีแล้ว ยังมีราคาประหยัดอีกด้วย

เขากล่าวว่าผู้ป่วยควรฉายเเสงอินฟราเรดไปที่ดวงตาทีละข้าง นานครั้งละหนึ่งถึงสองนาทีเป็นประจำทุกวัน การบำบัดด้วยการฉายเเสงอินฟราเรดที่ดวงตานี้ ช่วยปรับปรุงความสามารถของดวงตา โดยเฉพาะในการมองเห็นเเสงจุดเล็กๆ ในความมืด

อย่างไรก็ตาม เขาได้ทดลองนำการบำบัดด้วยเเสงอินฟราเรดนี้ไปใช้บำบัดฝูงผึ้งในรังที่กำลังตายลง ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการใช้สารเคมีฆ่าเเมลงประเภทสารนีโอนิโคตินอยด์ส (neonicotinoids) พบว่าได้ผลอย่างน่าพอใจ

ศาสตราจารย์ Glen Jeffery นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ กล่าวว่ายาฆ่าเเมลงทำให้ผึ้งน้ำหวานตายลง เพราะไปดึงพลังงานออกจากเซลล์ในร่างกายของผึ้ง

ในเซลล์ของผึ้งเเต่ละตัวมีการเก็บกักพลังงานเอาไว้เป็นชุดๆ เรียกว่า ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) แต่ยาฆ่าเเมลงจะไปดูดเอาพลังงานออกจากเซลล์จนหมด ทำให้ผึ้งอ่อนเเอเเละตายลงในที่สุด

เขากล่าวว่า แสงอินฟราเรดที่ฉายเข้าไปในรังผึ้ง จะถูกเซลล์ในตัวผึ้งดูดเข้าไปเก็บกักเอาไว้ ช่วยให้มีพลังงานมากขึ้น สามารถบำบัดการทำงานของเซลล์ให้กลับไปดีดังเดิม

ศาสตราจารย์ Jeffery กล่าวว่า หลังจากทดลองบำบัดฝูงผึ้งด้วยเเสงอินฟราเรด ตนพบว่าฝูงผึ้งในรังที่ไม่ได้รับเเสงสีเเดงบำบัด จะดูมีสีซีดๆ เป็นสีเทา เคลื่อนไหวผิดปกติ

ส่วนฝูงผึ้งในรังที่ได้รับการบำบัดด้วยเเสงอินฟราเรด ดูเเข็งเเรง เคลื่อนไหวไปมาเป็นปกติดี จนดูแทบไม่ออกว่าเคยป่วยด้วยพิษของยาฆ่าเเมลงมาก่อน

ศาสตราจารย์ Jeffery ชี้ว่าการบำบัดด้วยเเสงอินฟราเรดนี้เป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาประชากรผึ้งน้ำหวานลดลงจากการใช้ยาฆ่าเเมลง ซึ่งเป็นปัญหาที่ประสบกันทั่วโลก

ศาสตราจารย์ Jeffery กล่าวว่า การบำบัดด้วยแสงอินฟราเรดนี้มีราคาประหยัดมาก อยู่ที่ราว 12-20 ปอนด์อังกฤษ หรือประมาณ 20-25 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะเเค่ติดตั้งหลอดไฟ LEDs เข้าไปภายในรังผึ้งเท่านั้น

เรียกว่าทั้งถูกเเละง่ายดาย นอกจากนี้ ผึ้งยังมองไม่เห็นเเสงไฟนี้จึงไม่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผึ้ง

(รายงานโดย Kevin Enochs / เรียบเรียงทักษิณา ข่ายแก้ว )

XS
SM
MD
LG