ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เตรียมเลือก “ประธาน” ตำรวจสากล ท่ามกลางคำถามเรื่องประวัติละเมิดสิทธิมนุษยชน


INTERPOL COLOMBIA
INTERPOL COLOMBIA
Interpol Election Raises Rights Concern
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:01 0:00

ในวันอังคารนี้ องค์การตำรวจสากลหรือ อินเตอร์โพล (Interpol) จัดการประชุมสามัญ ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศประเทศตุรกี

ตัวเเทนประเทศต่างๆ จะเลือกผู้ดำรงตำเเหน่งสำคัญหลายตำเเหน่ง รวมถึงประธาน อินเตอร์โพล ซึ่งจะมีวาระ 4 ปี และสมาชิกคณะกรรมการบริหาร

ผู้ที่ถูกจับตามอง ที่จะชิงตำแหน่ง ประธาน อินเตอร์โพล คือ นายนาเซอร์ อัล-ไรซี่ และ อีกรายหนึ่ง คือนายหู ปินเฉิน​ ที่ต้องการเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหาร

สำหรับ นาเซอร์ อัล-ไรซี่ เขาดำรงตำแหน่ง พลตำรวจตรี และเป็นผู้ตรวจการของกระทรวงกิจการภายใน ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี

ส่วนหู ปินเฉิน มาจากกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีน

สำนักข่าวเอพี รายงานว่า ท่ามกลางความเป็นไปได้ที่ทั้งสองอาจได้รับเลือกในตำแหน่งสำคัญ​ นักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนกังวลว่า อินเตอร์โพล ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฝรั่งเศส จะไม่ได้ทำหน้าที่รักษากฎหมายอย่างเต็มที่

An activist holds a candle during a vigil for the victims of the 1989 Tiananmen Square Massacre, despite permission for the gathering being officially denied, at Victoria Park in Causeway Bay, Hong Kong.
An activist holds a candle during a vigil for the victims of the 1989 Tiananmen Square Massacre, despite permission for the gathering being officially denied, at Victoria Park in Causeway Bay, Hong Kong.

ผู้ที่เเสดงความกังวลระบุว่า แทนที่ อินเตอร์โพล จะทำหน้าที่ไล่ล่านักค้ามนุษย์ รวมถึงปราบปรามขบวนการยาเสพติดและผู้ต้องสงสัยที่มีความคิดสุดโต่ง องค์กรดังกล่าวอาจจะถูกใช้เป็นเครื่องมือไล่ล่าผู้มีความเห็นต่างทางการเมืองของบางประเทศ ตามรายงานของเอพี

พลตำรวจตรี อัล-ไรซี่ ถูกกล่าวหาว่าพัวพันการทรมาน และถูกร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีอาชญากรรมใน 5 ประเทศ รวมถึงฝรั่งเศส และตุรกี

ส่วน นายหู ปินเฉิน เป็นตัวเเทนจากจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ถูกต้องสงสัยว่าใช้หน่วยงานตำรวจสากลกำราบนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลปักกิ่ง

ทั้งนี้ในอดีต นายเมิ่ง หงเหว่ย ตัวเเทนของจีนที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานอินเตอร์โพล เมื่อ 5 ปีที่เเล้ว หายตัวไปขณะเดินทางกลับประเทศจีน และในขณะนี้เขากำลังอยู่ในเรือนจำ ในข้อหาคอรัปชั่นที่มีโทษจำคุก 13 ปีครึ่ง

สำนักข่าวเอพีสัมภาษณ์ภรรยาของเขา ซึ่งกล่าวว่า การเอาผิดเมิ่ง หงเหว่ยมีเหตุผลทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง

This handout photo taken on June 20, 2019 and released by the Tianjin No.1 Intermediate Court
This handout photo taken on June 20, 2019 and released by the Tianjin No.1 Intermediate Court

สำหรับ พลตำรวจตรี อัล-ไรซี่ แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในตอนนี้เขาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารอินเตอร์โพลอยู่แล้ว

เขากล่าวผ่านโพสต์บนเว็บไซต์ LinkedIn ว่ายูเออีให้ความสำคัญต่อ “การปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและในระดับสากล"

อย่างไรก็ตาม ไม่นานนี้หน่วยงานสิทธิมนุษยชน MENA Rights Group ระบุในรายงานว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่เป็นประจำ

รายงานดังกล่าวระบุว่า ภายใต้กิจการความมั่นคงของยูเออี เกิดเหตุการณ์อุ้มหาย และการข่มขู่ ตลอดจนการควบคุมตัวโดยพลการ และการทรมาน โดยมีเหยื่อเป็นนักข่าว นักรณรงค์และทนายความ

และมีเหตุการณ์ที่ชาวอังกฤษสองรายที่กล่าวหาว่าทางการยูเออีใช้อำนาจโดยมิชอบ ในการทรมานพวกเขา และทั้งสองเดินเรื่องฟ้องศาลเพื่อเอาผิด พลตำรวจตรี อัล-ไรซี่ และเจ้าหน้าที่ยูเออีคนอื่นๆ ในอังกฤษ นอกจากนี้ยังร้องเรียนเพื่อดำเนินการทางอาญาในประเทศฝรั่งเศส นอร์เวย์และสวีเดน

หากว่า นายตำรวจผู้นี้ ถูกสั่งดำเนินคดีในฝรั่งเศสเขาอาจจะถูกควบคุมตัวเพื่อให้เจ้าหน้าที่สอบปากคำหากเดินทางเข้าฝรั่งเศส

(ที่มา: สำนักข่าวเอพี)

XS
SM
MD
LG