ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ยานอวกาศอินเดียเตรียมสร้างประวัติศาสตร์! ร่อนลงขั้วใต้ดวงจันทร์วันพุธนี้


Arun Haryani, an enthusiast with his body painted in tri-colours reacts as he holds up a model of LVM3 M4 which was used in launching of Chandrayaan-3 spacecraft on the eve of its moon landing, in Ahmedabad, India, Aug. 22, 2023.
Arun Haryani, an enthusiast with his body painted in tri-colours reacts as he holds up a model of LVM3 M4 which was used in launching of Chandrayaan-3 spacecraft on the eve of its moon landing, in Ahmedabad, India, Aug. 22, 2023.

นักวิทยาศาสตร์อินเดียตั้งเป้านำยานอวกาศร่อนลงบนดวงจันทร์ในวันพุธนี้ โดยหวังว่าจะเป็นประเทศแรกที่สามารถสำรวจขั้วใต้ของดวงจันทร์ได้

ความพยายามของอินเดียมีขึ้นหลังจากที่ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ยานสำรวจ ลูน่า-25 ของรัสเซียตกลงบนดวงจันทร์ขณะพยายามลงจอดที่ขั้วใต้เช่นกัน

องค์กรวิจัยด้านอวกาศของอินเดีย (Indian Space Research Organization - ISRO) แสดงความมั่นใจว่าจะสามารถนำยานลงจอดได้ พร้อมระบุทางสื่อสังคมออนไลน์ X ว่า "ภารกิจนี้เป็นไปตามกำหนดการ มีการตรวจสอบระบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น"

ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่อินเดียพยายามไปให้ถึงขั้วใต้ของดวงจันทร์ หลังจากที่เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ยานอวกาศของอินเดียตกระหว่างภารกิจลงจอดขั้นสุดท้าย

ภาพพื้นผิวดวงจันทร์ที่ส่งมาจาก จันทรายาน-3 ระหว่างการวนรอบดวงจันทร์เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม (ภาพจาก ISRO เผยแพร่ผ่าน Reuters)
ภาพพื้นผิวดวงจันทร์ที่ส่งมาจาก จันทรายาน-3 ระหว่างการวนรอบดวงจันทร์เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม (ภาพจาก ISRO เผยแพร่ผ่าน Reuters)

หากทำสำเร็จ อินเดียจะเป็นประเทศที่ 4 ต่อจากสหรัฐฯ รัสเซีย และจีน ที่สามารถนำยานอวกาศลงจอดบนดวงจันทร์ได้ แต่จะสร้างประวัติศาสตร์เป็นประเทศแรกที่ลงจอดในขั้วใต้ของดวงจันทร์ที่มีพื้นผิวที่ขรุขระและยากต่อการเข้าถึง

ยาวอวกาศ จันทรายาน-3 (Chandrayaan-3) เริ่มเดินทางออกจากโลกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ซึ่งตามกำหนดการนั้น ยานสำรวจของอินเดียจะใช้เวลาสำรวจพื้นผิวขั้วใต้ของดวงจันทร์ราวสองสัปดาห์ เพื่อหาร่องรอยของน้ำ แร่ธาตุ และศึกษาภูมิประเทศ

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ปล่องภูเขาในแถบขั้วใต้ของดวงจันทร์อาจมีร่องรอยของน้ำที่สามารถนำไปใช้สำหรับการตั้งอาณานิคมของมนุษย์บนดวงจันทร์ในอนาคต

การลงจอดบนพื้นผิวขั้วใต้ของดวงจันทร์จะตรงกับเวลา 18:04 น. ของวันพุธตามเวลาที่อินเดีย และสามารถรับชมสดได้ทางเว็บไซต์หรือทางช่องยูทูบของ ISRO

  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG