ทุกปี กลุ่ม Annals of Improbable Research ของมหาวิทยาลัย Harvard จะจัดการมอบ Ig Nobel Prizes แนวขำ ๆ เพื่อเรียกเสียงหัวเราะ และกระตุ้นความคิด ถือว่าเป็นการล้อเลียนรางวัลโนเบล และสร้างสีสันให้กับวงการวิทยาศาสตร์และผู้ติดตามข่าวสารบ้านเมือง
ในปีนี้ซึ่งเป็นปีที่ 29 ที่มีการจัดการมอบ Ig Nobel การจัดงานเกิดขึ้นแบบออนไลน์ เพราะการระบาดของโคโรนาไวรัส รางวัลที่ถูกพูดถึงอย่างมากคือการทดลองของนักวิจัยออสเตรเเละญี่ปุ่นที่อยากทราบว่าสัตว์จำพวกจระเข้ ส่งเสียงก้องเหมือนการตะโกนได้ดังมากน้อยตามขนาดของร่างกายหรือไม่ โดยการจับจระเข้ลงในแท้งค์ที่มีสารฮีเลียมอยู่
จุดประสงค์ของการทดลองนี้ก็เพื่อต้องการเข้าใจถึงการสื่อสารของจระเข้นั่นเอง
สำหรับรางวัลอื่น ๆ ประกอบด้วย การศึกษาคิ้วของคนเพื่อหาความสัมพันธ์กับการหลงตัวเอง
ส่วนผู้นำหลายปะเทศได้รับ Ig Nobel ด้วยเหตุผลที่ว่า “ใช้เหตุการณ์การระบาดของโควิด-19 ในการสอนให้โลกรู้ว่า นักการเมืองสามารถชี้ชะตาความเป็นความตายของมนุษย์ได้ปัจจุบันทันด่วนมากกว่านักวิทยาศาสตร์และแพทย์”
ผู้ที่ได้รางวัลนี้คือผู้นำของบราซิล อินเดีย อังกฤษ เม็กซิโก เบรารูส สหรัฐฯ ตุรกี รัสเซีย และเตอร์กเมนิสถาน
และยังมีการให้รางวัลเจ้าหน้าที่การทูตสองประเทศคู่ความขัดแย้ง คืออินเดียและปากีสถานที่ตกเป็นข่าว 2 ปีก่อนจากการแกล้งกันไปมา ด้วยวิธีกดกริ่งหน้าบ้านแล้ววิ่งหนี
การตั้งชื่อรางวัลนี้โดยมีคำว่า Ig อยู่ข้างหน้า Nobel น่าจะต้องการให้เกือบพ้องเสียงกับคำว่า ignoble ในภาษาอังกฤษที่อาจจะแปลว่าน่าอาย ไม่น่ายกย่อง
ทั้งนี้ตัวแทนไทยเคยได้ Ig Nobel เช่นกัน เมื่อ 7 ปีก่อน ที่ผ้จัดมอบ Ig Nobel แก่คณะแพทย์ไทยผู้ศึกษาเทคนิคการต่ออวัยวะเพศชายที่ถูกตัดเมื่อปี 2526
และเมื่อ 5 ปีที่เเล้ว นี้สำนักงานตำรวจนครบาลไทย ได้ Ig Nobel สาขาจากผลงานสร้างแรงจูงใจให้ตำรวจทำดี โดยที่ตำรวจด้วยกันเองให้รางวัลเงินสดแก่ตำรวจมือสะอาด