ลิ้งค์เชื่อมต่อ

แพลนเที่ยววันหยุดอย่างไร..ไม่ให้กระเป๋าเงินฉีก?


Japan Tourism Boom
Japan Tourism Boom
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:57 0:00

แม้ว่าคุณจะมั่นใจว่าเป็นคนที่รู้จักการใช้เงินมากแค่ไหน แต่เมื่อคราวต้องวางแผนท่องเที่ยวในวันหยุด ก็อาจมีสะดุดได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในวันหยุดเทศกาลที่ทุกสิ่งที่อย่างจะแพงขึ้นเป็นเงาตามตัว ตั้งแต่การค่าตั๋วเครื่องบินไปจนถึงค่าใช้จ่ายช่วงเทศกาลที่จะทบเท่าทวีคูณ

ในปีนี้ผลสำรวจจาก AARP สมาคมสวัสดิการผู้เกษียณแห่งสหรัฐอเมริกา พบว่าในปีนี้ชาวอเมริกันที่อายุมากมีแนวโน้มจะทุ่มเงินสำหรับการท่องเที่ยวมากกว่าคนอายุน้อยกว่า ผู้ที่เกิดในยุคเบบี้บูมเมอร์ในอเมริกา คือ ผู้คนที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2489-2507 ซึ่งตอนนี้จะมีอายุราว 55-73 ปี จะใช้เงินไปกับการท่องเที่ยวเฉลี่ย 6,600 ดอลลาร์ หรือราว 198,000 บาทในปีนี้ ส่วน Gen X วางแผนที่ใช้เงินเฉลี่ย 5,400 ดอลลาร์ หรือราว 162,000 บาทต่อปี และคนรุ่นมิลเลนเนียล มีแผนจะใช้เงินเฉลี่ย 4,400 ดอลลาร์ หรือราว 132,000 บาทในปีนี้

หลายคนอาจจะตกใจกับตัวเลขท่องเที่ยวหลักแสนบาทต่อปี แต่ไม่ต้องกังวลว่ามันจะมากเกินไปหรือไม่ หากเราวางแผนการใช้เงินให้พร้อมสำหรับประสบการณ์การท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึง

ขั้นตอนแรก – รู้ระดับที่รับได้

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้รู้ว่าเราจะพร้อมเปย์ได้แค่ไหนในการท่องเที่ยวแต่ละปี คือ กฏเก็บเงินแบบ 50/30/20

เอริค ไซมอนสัน นักวางแผนการเงินจาก Abundo Wealth อธิบายว่า สมมติว่ามีรายได้ 20,000บาท 50% จากเงินก้อนนั้น คือ 10,000 บาท จะต้องไปอยู่ในส่วนต้นทุนคงที่ คือค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอาหาร ค่าเลี้ยงดูบุตร อีก 30% หรือเท่ากับ 6,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายตามเพื่อความสุข และอีก 20% หรือ 4,000 บาทคือเงินเก็บ

คุณเอริค ขยายความต่อว่า การท่องเที่ยวถือเป็นค่าใช้จ่ายในก้อน 30% เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยมอบความสุขใจให้กับคุณเฉกเช่นค่าใช้จ่ายเพื่อความสุขทั่วไป อย่างไปทานข้าวนอกบ้าน ไปงานคอนเสิร์ต ไปช้อปปิ้ง หรือค่าสมาชิกสนามกอล์ฟ ฟิตเนส หรือการสังสรรค์ปาร์ตี้ หากคุณมองว่าการท่องเที่ยวคือสิ่งสำคัญในการสร้างความพึงพอใจแก่คุณมากที่สุดในจุดนี้ ก็น่าจะลองอดเปรี้ยวไว้กินหวาน ด้วยการลองเจียดเงินที่ต้องเสียไปกับสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น แล้วจะพบว่าคุณอาจได้ความสุขเพิ่มล้นขึ้นจากการท่องเที่ยวด้วยเงินก้อนใหญ่กว่าได้นั่นเอง

ไทเลอร์ รีฟส์ นักวางแผนการเงินจาก Plimsoll Financial Planning ให้คำเตือนตัวใหญ่ของการวางแผนการใช้เงินรูปแบบนี้ คือ ต้องแน่ใจว่าเงินสำหรับท่องเที่ยวของคุณ ไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายที่สำคัญกว่า โดยเฉพาะ 50% ที่เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญ กับอีก 20% ที่เป็นเงินเก็บซึ่งจะกลายเป็นเงินที่ต้องใช้ในอนาคตของคุณ และควรมีเงินเก็บฉุกเฉินที่นำออกมาใช้ในสถานการณ์ไม่คาดฝันด้วย

FILE - MasterCard and VISA credit cards are seen in this illustrative photograph taken in Hong Kong, Dec. 8, 2010.
FILE - MasterCard and VISA credit cards are seen in this illustrative photograph taken in Hong Kong, Dec. 8, 2010.

อย่าหวังพึ่งเงินพลาสติกหรือยืมเงินอนาคตมาใช้

“อย่าใช้เงินซื้อความสุขช่วงหยุดยาวมากกว่าที่มีอยู่ในบัญชี” คุณเอริค จาก Abundo Wealth เตือนคำโตอีกครั้ง ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องจริงที่ทุกคนทราบดี แต่มีหลายครอบครัวและตัวบุคคลที่กินเที่ยวในวันหยุดยาวเสียจนบิลบัตรเครดิตยาวเป็นหางว่าว และตามมาด้วยหนี้พร้อมดอกเบี้ยมหาศาล

แต่หากจำเป็นต้องใช้ โปรดนึกไว้เสมอว่า ค่าธรรมเนียมใช้บัตรเครดิตในต่างประเทศที่ประมาณ 3% เป็นอย่างน้อย อาจกระทบกับโอกาสสัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวของคุณได้

ทางแก้ไข คือ ทยอยเก็บเป็นรายเดือนเพื่อการท่องเที่ยว ยกตัวอย่างเช่น หากคุณค่อยๆเก็บเดือนละ 300 ดอลลาร์ต่อเดือน หรือประมาณ 9,000 บาทตั้งแต่เปิดศักราชใหม่ คุณก็สามารถมีเงินเก็บราว 3,600 ดอลลาร์ หรือราว 108,000 บาทพอสำหรับค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวสิ้นปีแบบสบายๆ แต่ถ้าเก็บไม่ทัน ให้อดทนสวดมนต์ข้ามปีให้ผ่านพ้นปีไปโดยไม่ได้เที่ยว และตั้งต้นใหม่ในการเก็บเงินเพื่อการท่องเที่ยวกันใหม่ในปีถัดไปแทน

FILE - The logo for the W Hotel, owned by Starwood Hotels & Resorts Worldwide, in New York's Times Square, July 31, 2013. The information of as many as 500 million guests at Starwood hotels has been compromised.
FILE - The logo for the W Hotel, owned by Starwood Hotels & Resorts Worldwide, in New York's Times Square, July 31, 2013. The information of as many as 500 million guests at Starwood hotels has been compromised.

แต้มสะสมในบัตรคือมายา

บัตรเครดิตที่เพิ่มคะแนนสะสมให้กับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะอาจเป็นเรื่องที่ดี เพราะพอสะสมแต้มการใช้ไปถึงระดับหนึ่ง ก็สามารถนำไปแลกเป็นตั๋วเครื่องบินหรืออัพเกรดที่พักหรูได้ แต่หากบวกลบคูณหารแล้ว เราต้องใช้เงินมหาศาลเพื่อล่าแต้มสะสมเหล่านี้ อาจสะเทือนกระเป๋าสตางค์ในช่วงปลายเดือนอย่างมาก

ทางแก้คือ ใช้บัตรอย่างระมัดระวัง ไม่จำเป็นต้องพลาดพลั้งใช้หนักเพื่อแลกคะแนนสำหรับทริปในฝัน ซึ่งบางครั้งอาจใช้เงินสดซื้อมาได้ถูกกว่าหลายเท่า

Make a travel budget
Make a travel budget

แจกแจงค่าใช้จ่ายของการท่องเที่ยวอย่างละเอียด

ความฝันที่ปราศจากแผนการก็เป็นแค่ภาพลวงตา ดังนั้นการวางแผนท่องเที่ยวโดยไม่ระบุค่าใช้จ่ายก็อาจทำให้ทริปล่มได้ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม

สำหรับข้อนี้พูดง่ายแต่ทำยากเหลือเกิน โดยแกเบรียล อารากอน อดีตที่ปรึกษาด้านการท่องเที่ยวจากบริษัท Aragon Travel ในฟลอริดา บอกว่า ผู้คน 99% ไม่สามารถบอกได้ว่าจะใช้เงินเท่าไหร่ในการเดินทาง เพราะส่วนใหญ่ไม่รู้ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจริง

สิ่งแรกที่ควรทำในมุมมองของแกเบรียล คือ รู้ว่าแค่ไหนที่จ่ายไหว และมีความยืดหยุ่นกับตัวเองหากไม่สามารถจะทุ่มเงินไปได้ในขณะนี้ กล่าวคือ ถ้าหากไม่สามารถหาเงินมาท่องเที่ยวทริปในฝันได้ตอนนี้ ก็มีหนทางที่จะลดระดับลงมาได้บ้าง เช่น การลดระยะเวลาท่องเที่ยวลงไป เช่น หากแพลนที่ตั้งใจไว้คือเที่ยว 2 อาทิตย์แต่ค่าใช้จ่ายสูงไป ก็อาจลดลงมาเป็น 10 วัน หรือหากทริป 7 วันแพงเกินไป ก็อาจลดลงเหลือ 5 วัน

และพึงระลึกไว้เสมอว่า สำหรับการท่องเที่ยวแล้วให้เน้นคุณภาพอย่าเน้นปริมาณ เท่านี้คุณก็จะได้โอกาสเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ แบบสบายกระเป๋าได้ระดับหนึ่งแล้ว

XS
SM
MD
LG