ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้รอดชีวิตจาก 'ระเบิดปรมาณูฮิโรชิม่า' ร่วมรำลึกครบรอบ 75 ปีระเบิดสะเทือนโลก


Kazumi Matsui, right, mayor of Hiroshima, and the family of the deceased bow before they place the victims list of the Atomic Bomb at Hiroshima Memorial Cenotaph during the ceremony to mark the 75th anniversary of the bombing at the Hiroshima Peace…
Kazumi Matsui, right, mayor of Hiroshima, and the family of the deceased bow before they place the victims list of the Atomic Bomb at Hiroshima Memorial Cenotaph during the ceremony to mark the 75th anniversary of the bombing at the Hiroshima Peace…

บรรดาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น ทำพิธีรำลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปีของเหตุการณ์ดังกล่าวในวันพฤหัสบดี ท่ามกลางการถกเถียงเรื่องการลงนามในสนธิสัญญาห้ามสะสมอาวุธนิวเคลียร์

นายกเทศมนตรีเมืองฮิโรชิม่า คาซุมิ มัตสุอิ กล่าวกระตุ้นให้บรรดาผู้นำโลกร่วมมือกันยับยั้งการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ พร้อมระบุถึงความล้มเหลวของรัฐบาลญี่ปุ่นในการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว

นายกเทศมนตรีมัตสุอิ กล่าวขอร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นทำตามคำขอร้องของผู้รอดชีวิตจากปรมาณู ด้วยการลงนามรับรองและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามสะสมอาวุธนิวเคลียร์ และกล่าวว่า ในฐานะที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในโลกที่เผชิญกับการโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์ ญี่ปุ่นจำเป็นต้องโน้มน้าวให้ประชาคมโลกร่วมมือกันต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์เพื่อประชาชนฮิโรชิม่า

คำกล่าวของนายมัตสุอิสะท้อนถึงความรู้สึกของบรรดาผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูที่มองว่ารัฐบาลญี่ปุ่นไม่จริงใจต่อพวกตน หลังจากที่ไม่ร่วมลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวที่จัดทำขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว นอกจากนี้ยังยอมให้ทหารอเมริกัน 50,000 คนประจำการในญี่ปุ่น และยอมใช้ระบบป้องกันการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ที่สหรัฐฯ เป็นผู้ติดตั้ง

สหรัฐฯ ปล่อยระเบิดปรมาณูโจมตีเมืองฮิโรชิม่าเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1945 ทำลายแทบทั้งเมืองและสังหารผู้คนราว 140,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านและเด็กจำนวนมาก และในอีกสามวันต่อมา ระเบิดปรมาณูอีกลูกหนึ่งโจมตีใส่เมืองนากาซากิ ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 70,000 คน และทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องยอมพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองในวันที่ 15 สิงหาคม

พิธีรำลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปีนี้ จัดขึ้นที่สวนอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิม่า โดยจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมไม่ถึง 1,000 คน น้อยกว่าปีก่อน ๆ ราว 10 เท่า เพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19

บรรดาผู้ร่วมงานซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณู ปัจจุบันมีอายุเฉลี่ยราว 83 ปี ต่างแสดงความกังวลต่อความล่าช้าของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในการยับยั้งการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์

XS
SM
MD
LG