ลิ้งค์เชื่อมต่อ

โลกร้อนทำแนวปะการังใหญ่ที่สุดในโลก ‘เกรท แบริเออร์ รีฟ’ สูญเสียปะการังแล้วกว่าครึ่ง


An undated handout photo received from the ARC Centre of Excellence Coral Reef Studies on October 14, 2020 shows a damaged part of the Great Barrier Reef
An undated handout photo received from the ARC Centre of Excellence Coral Reef Studies on October 14, 2020 shows a damaged part of the Great Barrier Reef

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า “เกรท แบริเออร์ รีฟ” (Great Barrier Reef) ของออสเตรเลียสูญเสียปะการังมากกว่าครึ่งหนึ่งในช่วงระยะเวลา 22 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2560

นักวิจัยที่ ARC Centre of Excellence for Coral Reef Studies ซึ่งเป็นศูนย์ศึกษาแนวปะการังของออสเตรเลีย บอกว่าเกิดภาวะฟอกขาวของประการังในวงกว้าง ในกลุ่มปะการังหลากหลายสายพันธุ์และต่างอายุ

ปะการังฟอกขาว หรือ coral bleaching นี้ เป็นกระบวนการที่ปะการังมีสีซีดจางลง หลังจากที่สูญเสียสาหร่ายขนาดเล็ก ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันภายในเนื้อเยื่อของปะการัง ซึ่งสาเหตุเกิดมาจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร อันเป็นผลกระทบอย่างหนึ่งจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หรือ climate change นั่นเอง

นักวิจัยยังค้นพบด้วยว่าการที่ท้องทะเลมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปี 2016-2017 ทำให้เกิดประการังฟอกขาวเป็นบริเวณกว้าง ทำให้มีประการังเกิดใหม่ และปะการังเติบโตที่สามารถให้กำเนิดปะการังลูกได้น้อยลงเรื่อย ๆ บั่นทอนความสามารถของแนวปะการังที่จะฟื้นฟูขึ้นมา

นอกจากนี้ นักวิจัยยังบอกด้วยว่า เกิดภาวะปะการังฟอกขาวที่รุนแรงที่สุดในเดือนมีนาคมในปีนี้ โดยเฉพาะบริเวณแนวปะการังในทะเลด้านใต้ของออสเตรเลีย

Great Barrier Reef เป็นแนวปะการังที่ยาวถึง 2,300 กิโลเมตร ในฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย เป็นแหล่งที่อยู่สำคัญของชีวิตใต้ทะเลหลากหลายประเภท และยังเป็นระบบนิเวศแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก “เกรท แบริเออร์ รีฟ” ได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในมรดกโลก โดยองการยูเนสโก (UNESCO) ในปี พ.ศ.2524

XS
SM
MD
LG