ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อย.สหรัฐฯ เตือนอย่าใช้ยาไอเวอร์เมกตินรักษาผู้ป่วยโควิด - เตรียมอนุมัติวัคซีนไฟเซอร์เต็มรูปแบบจันทร์นี้


Medical supplies are lined up on shelf at one of the 32-bed Samaritan's Purse Emergency Field Hospital set up in one of the University of Mississippi Medical Center's parking garages, Aug. 17, 2021, in Jackson, Miss.
Medical supplies are lined up on shelf at one of the 32-bed Samaritan's Purse Emergency Field Hospital set up in one of the University of Mississippi Medical Center's parking garages, Aug. 17, 2021, in Jackson, Miss.

องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA มีคำเตือนทางทวิตเตอร์ในวันเสาร์ อย่าใช้ยาไอเวอร์เมกติน (Ivermectin) ซึ่งเป็นยาฆ่าพยาธิที่มักใช้กับปศุสัตว์ ที่ปัจจุบันหลายคนนำมาใช้ในการรักษาอาการโควิด-19

FDA ทวีตว่า "คุณไม่ใช่ม้า ไม่ใช่วัว ดังนั้นอย่าใช้" โดยที่ผ่านมา FDA เผยว่า มีรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยโควิดหลายรายที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน หลังจากพยายามรักษาตัวเองด้วยยาไอเวอร์เมกติน

คำเตือนของ FDA มีออกมาหลังจากที่สำนักงานสาธารณสุขรัฐมิสซิสซิปปีเปิดเผยทางเว็บไซต์ว่า มีรายงานเพิ่มขึ้นจากประชาชนที่ได้รับยาไอเวอร์เมกตินเข้าไปในร่างกายเพื่อรักษาหรือป้องกันอาการโควิด-19 และว่า "85% ของผู้ที่รายงานว่าได้รับยาดังกล่าวมีอาการไม่รุนแรง แต่มีหนึ่งรายที่ต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติมเนื่องจากได้รับยาไอเวอร์เมกตินเกินระดับ"

เว็บไซต์ของ FDA ระบุว่า ปัจจุบันมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมากมาย รวมทั้งข้อมูลเรื่องการใช้ยาไอเวอร์เมกตินปริมาณมาก ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผิด

เตรียมอนุมัติวัคซีนไฟเซอร์เต็มรูปแบบจันทร์นี้

ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า FDA จะรับรองวัคซีนโควิดของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) แบบเต็มรูปแบบ ในวันจันทร์นี้

สื่อนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า ก่อนหน้านี้ FDA มีแผนรับรองวัคซีนไฟเซอร์เต็มรูปแบบตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา แต่ยังมีความติดขัดเรื่องเอกสารต่าง ๆ และการเจรจาต่อรองกับทางบริษัทไฟเซอร์

เดิมที FDA กำหนดเส้นตายอย่างไม่เป็นทางการสำหรับการรับรองวัคซีนของไฟเซอร์แบบเต็มรูปแบบก่อนวันที่ 6 กันยายน โดยทางรัฐบาลสหรัฐฯ เชื่อว่า การรับรองแบบเต็มรูปแบบจะช่วยโน้มน้าวให้คนอเมริกันจำนวนมากที่ยังไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด ออกมารับวัคซีนกันมากขึ้นเมื่อ FDA รับประกันความปลอดภัยและประสิทธิผลของวัคซีนดังกล่าว

(ข้อมูลบางส่วนจากเอพี และรอยเตอร์)

XS
SM
MD
LG