การค้นพบครั้งนี้คือซากบางส่วนของ pterosaur ซึ่งคาดว่ามีชีวิตอยู่เมื่อ 77 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งพบที่จังหวัด British Columbia ของประเทศแคนาดา เมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว และถือว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวแรกที่บินได้
ผู้เขียนรายงานการวิจัยนี้คือ Elizabeth Martin-Silverstone นักศึกษาปริญญาเอกทาง Palaeobiology ที่มหาวิทยาลัย Southampton ในอังกฤษ
รายงานการศึกษานี้คาดว่า pterosaur ตัวนี้มีปีกยาวเพียง 1.5 เมตร ในขณะที่ pterosaurs ร่วมยุคสมัยโดยทั่วไปมีปีกยาวระหว่าง 4-11 เมตร
ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบนั้น ตัวใหญ่เท่ากับยีราฟ และมีปีกยาวพอๆ กับปีกเครื่องบินขนาดเล็ก
ในขณะนี้นักวิจัยยังลงความเห็นไม่ได้แน่นอนว่า pterosaur ตัวนี้เป็นพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนหรือเปล่า แต่ที่ตัดสินลงไปได้ก็คือ pterosaur ตัวเล็กตัวนี้อยู่ในประเภทของไดโนเสาร์ที่เรียกชื่อว่า azhdarchoids ซึ่งมีปีกสั้น และไม่มีฟัน
นักวิจัยบอกส่งท้ายว่า การค้นพบครั้งนี้เป็นหลักฐานที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกทีว่า ในช่วงปลายยุคไดโนเสาร์ หรือ Cretaceous นี้ มีความหลากหลายมาก คือมีไดโนเสาร์ประเภท pterosaur หรือไดโนเสาร์บินได้ทั้งพันธุ์ใหญ่และเล็ก