ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยค้นพบทฤษฎี “ไดโนเสาร์เนิร์สเซอรี่” สถานที่เลี้ยงดูไดโนเสาร์น้อยเพิ่งออกจากไข่


please wait

No media source currently available

0:00 0:02:25 0:00
Direct link

นักวิจัยด้านไดโนเสาร์จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียค้นพบข้อสันนิษฐานความเป็นไปได้ที่ไดโนเสาร์จะมีการจัดสถานที่เลี้ยงตัวอ่อนหรือเนิร์สเซอรี่สำหรับทารกไดโนเสาร์ที่เพิ่งลืมตาดูโลกด้วยการมอบหมายให้ไดโนเสาร์พี่เลี้ยงคอยดูแล

การค้นพบครั้งใหม่ว่าสัตว์ดึกดำบรรพ์อย่างไดโนเสาร์อาจจะมีการจัดการการเลี้ยงตัวอ่อน แบบศูนย์เลี้ยงดูเด็กอ่อนหรือ เนิร์สเซอรี่เหมือนคนเรามาตั้งแต่เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน

ข้อสันนิษฐานนี้ มีเหตุผลสนับสนุนจากงานวิจัยของ ศาสตราจารย์ Peter Dodson นักบรรพชีวินวิทยา (Paleontology) ที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตยุคโบราณ และคุณ Brandon Hedrick ลูกศิษย์ที่เป็นนักวิจัยในระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่วิเคราะห์แผ่นหินที่พบในประเทศจีน บรรจุซากฟอสซิลของไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก 25 ตัว สายพันธุ์ซิตตะโกซอรัส (Psittacosaurus) หรือไดโนเสาร์ปากนกแก้ว ที่มีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 100-123 ล้านปีก่อน และสิ่งที่นักวิจัย 2 ท่านได้วิเคราะห์จากกระดูกก็คือ ซากไดโนเสาร์ 24 ตัวล้วนเป็นตัวอ่อนที่เพิ่งเกิดใหม่ ขณะที่อีก 1 ตัวเป็นไดโนเสาร์ที่ยังไม่โตเต็มวัย

ลักษณะแผ่นหินที่พบมีความกว้างไม่ถึง 1 เมตร ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุที่เจ้าไดโนเสาร์เสียชีวิตพร้อมกันทั้งหมดน่าจะเป็นเพราะติดอยู่ในกระแสลาวาร้อนที่ไหลเข้าท่วมจนทั้งหมดถูกฝังกลายเป็นฟอสซิลหินไปพร้อมกัน

นักบรรพชีวินวิทยา ทั้งสองสันนิษฐานว่า ที่เจ้าไดโนเสาร์อาศัยอยู่น่าจะเป็นรังที่ใช้เลี้ยงดูไดโนเสาร์ตัวอ่อนหรือเนิร์สเซอรี่ ที่ไดโนเสาร์ตัวพี่จะทำหน้าที่คอยดูแลเจ้าตัวเล็กที่เพิ่งลืมตาดูโลก เพราะที่พบลักษณะพฤติกรรมการดูแลตัวอ่อนแบบนี้ในสายพันธุ์นกหลายชนิดในโลกยุคใหม่อีกด้วย

อย่างไรก็ตามการการศึกษาครั้งนี้ยังคงต้องการหลักฐานและการศึกษาเพื่อยืนยันทฤษฎีไดโนเสาร์เนิร์สเซอรี่นี้เพิ่มเติม และคุณผู้ฟังสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดงานวิจัยนี้ได้จาก วารสารวิจัย ครีเทเซียส หรือ Journal Cretaceous Research

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG