ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รายงานการพัฒนาด้านดิจิทัล จัดอันดับ "ไทย" อยู่ในกลุ่ม 'ล้าหลังระดับปานกลาง'


FILE - People surf the web at an Internet cafe which in Bangkok.
FILE - People surf the web at an Internet cafe which in Bangkok.

นักวิจัยผู้จัดกลุ่มประเทศต่างๆ ตามระดับความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีและพลวัตรแห่งการเปลี่ยนแปลง

นักวิจัยที่รัฐแมสซาชูเสทส์ ศึกษาระดับการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศต่างๆ และจำแนกกลุ่มตามระดับการพัฒนาและอัตราเร่งของการเติบโตทางเทคโนโลยี

ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้จากสถาบัน Fletcher School of International Affairs ที่มหาวิทยาลัย Tufts ยังพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการค้า การใช้สื่อ รวมทั้งสังคมและการเมือง

ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในการศึกษานี้ รวมถึงการที่คนจำนวนมากเลิกใช้เงินสดและเปลี่ยนมาใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในการจ่ายเงินเมื่อซื้อสินค้า ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

ผู้วิจัยจำแนกประเทศต่างๆ ออกเป็น 4 กลุ่ม

กลุ่มแรกเรียกว่า Stand Out ซึ่งมีทั้งระดับการพัฒนาที่สูงและอัตราเร่งของการเปลี่ยนแปลงที่ส่งต่อให้เกิดการเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง

ประเทศกลุ่มนี้ประกอบด้วย สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และนิวซีแลนด์ เป็นต้น มาเลเซียอยู่ในจุดที่เข้าใกล้เป็นกลุ่มประเทศ Stand Out เช่นกัน

Bhaska Chakravorti นักวิจัยที่เขียนผลงานวิชาการนี้ กล่าวว่าประเทศกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของตน

ประเทศกลุ่มที่สองเรียกว่า Stall Out กล่าวคือเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านดิจิทัลในระดับสูง แต่อัตราเร่งของการเปลี่ยนแปลงชะลอลง

กลุ่ม Stall Out ประกอบด้วยประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง เช่น นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก

นักวิจัยบอกว่าแม้ระดับการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เป็นตัวชี้วัดจะล้ำหน้ากว่าหลายประเทศ แต่แรงส่งการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเริ่มแผ่วลงสำหรับกลุ่มนี้ โดย Bhaska Chakravorti กล่าวว่าประเทศยุโรปหลายแห่งขาดการลงทุนที่จำเป็นเพิ่มเพิ่มความก้าวหน้าของเทคโนโลยี

กลุ่มที่สามเรียกว่า Break Out ซึ่งได้แก่ประเทศอินเดีย และเม็กซิโก ลักษณะสำคัญของกลุ่มนี้คือ แม้ระดับการพัฒนาอาจจะไม่สูงแต่มีแรงส่งแห่งการเปลี่ยนแปลงสูง

นักวิจัยระบุว่าอินเดียเป็นตลาดดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ทมากถึง 462 ล้านคน แต่ปัญหาคือระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พร้อมและประชาชนใช้ภาษาที่หลากหลาย

ท้ายสุดคือกลุ่มที่เรียกว่า Watch Out คือยังมีระดับการพัฒนาที่ต่ำและไม่มีแรงส่งต่อการเปลี่ยนแปลงเท่าที่ควร ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มนี้ ร่วมกับแอฟริกาใต้ อียิปต์ ปากีสถานและเปรู

ข้อมูลการศึกษาชี้ว่าแม้ไทยจะอยู่ในกลุ่มนี้ แต่มีระดับพัฒนาที่สูงกว่าและพลวัตรขับเคลื่อนที่ดีกว่าประเทศร่วมกลุ่ม

ลิงค์สำหรับข้อมูลการวิจัยเรื่องนี้
https://hbr.org/2017/07/60-countries-digital-competitiveness-indexed]

(รัตพล อ่อนสนิท เรียบเรียงจากรายงานของ Max Cotton)

XS
SM
MD
LG