หลังจากที่เดโมเเครตที่มีรองประธานาธิบดี คามาลา แฮร์ริส เป็นตัวเเทนลงเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ไม่สามารถเอาชนะโดนัลด์ ทรัมป์ได้ กระบวนการถอดบทเรียนจากความพ่ายเเพ้จึงเริ่มขึ้น
นักวิเคราะห์กล่าวว่าประเด็นเศรษฐกิจที่อยู่ในปัจจัยการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชน มีนำ้หนักมากที่สุดที่ทำให้แฮร์ริสแพ้ครั้งนี้ แต่นั่นไม่เช่นปัจจัยเดียวเท่านั้น
เมื่อเกิดการกล่าวโทษประธานาธิบดีโจ ไบเดนว่าลังเลที่จะถอนตัวเพื่อจะให้แฮร์ริสลงเเข่งแทนในนามของพรรค โฆษกทำเนียบขาว คารีน ฌอง-ปิแอร์กล่าวตอบโต้เเนวคิดดังกล่าว
"ในตอนที่ (ไบเดน) ตัดสินใจที่จะส่งต่อหน้าที่ให้กับรองประธานาธิบดีแฮร์ริส เขาเชื่อว่ามันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องในเวลานั้น" เธอกล่าว
นักวิเคราะห์กล่าวว่า โอกาสของเเฮร์ริสในการเเข่งขันกับอดีต ประธานาธิบดีทรัมป์ ถูกบั่นทอนจากการที่เธอเองไม่สามารถสร้างความแตกต่างไปจากนโยบายเศรษฐกิจของไบเดน
ศาสตราจารย์ เดวิด กรีนเบิร์ก ที่สอนวิชาประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยรัตเกอร์ กล่าวว่า "มุมมองที่คนส่วนมากมีต่อ (ไบเดน) คือเขาไม่ได้เป็นผู้ทำหน้าที่บริหารจัดการด้านเศรษฐกิจได้ดี ซึ่งผมจะบอกว่า ส่วนมากเเล้วมีสาเหตุจากเงินเฟ้อที่สูงในช่วงสองปีเเรกของการบริหารประเทศของเขา"
"นั่นเป็นสิ่งกีดขวางที่ยากยิ่งสำหรับเเฮร์ริส" กรีนเบิร์กกล่าว
ในช่วงการหาเสียง ประเด็นเรื่องสิทธิการทำเเท้งถูกจับมองอย่างมาก แต่ดูเหมือนว่าผู้หญิงไม้ได้ออกมาโหวตให้แฮร์ริสมากเท่ากับที่เดโมเเครตคาดหวังไว้
จูลี โอกินสกี นักวางยุทธศาสตร์ของเดโมเเครต กล่าวว่า "มีหลายรัฐ ที่มีการทำประชามติผ่านบัตรลงคะเเนนเรื่องสิทธิการเจริญพันธุ์ ดังนั้นคนจึงสามารถออกมาโหวตสนับสนุนประเด็นดังกล่าว และในเวลาเดียวกันก็โหวตให้ทรัมป์"
เธอกล่าวว่า นอกเหนือไปจากการใช้เวลาไปกับการมองว่าเดโมเเครตพลาดพลั้งเรื่องใดบ้างในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคจะต้องมองหาวิธีแก้ปัญหาโครงสร้างที่มีมานานด้วย
"เรามีประวัติอันน่าภาคภูมิใจ แต่เราไม่รู้ว่าจะสื่อสารออกไปอย่างไร เราไม่ได้ทำให้คนรู้สึกว่าสิ่งที่เราพูดตรงกับส่งที่เราเป็น" เธอกล่าว
แนวทางหนึ่งที่จะส่งแรงหนุนให้กับพรรคอีกครั้งหนึ่ง อาจมากจากคนหน้าใหม่ ๆ ที่เข้ามาทำงานให้พรรค ตามความเห็นของจอห์น เเลปพาย รองศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไพลมัธ สเตท
"พวกเขาต้องมีผู้นำชุดใหม่ ที่อายุน้อยลง และเข้าใจถึงสภาพการณ์ในปัจจุบัน และเเน่นอนนว่าต้องเข้าใจคนชนชั้นเเรงงาน" นักวิชาการผู้นี้กล่าว
เนื่องจากพรรครีพับลิกันมีเสียงข้างมากแบบปริ่มน้ำในสภา อาจารย์แลปพายกล่าวว่า เดโมเเครตน่าจะมีโอกาสทัดทานการผลักดันนโยบายที่พวกเขาไม่เห็นด้วยกับรีพับลิกัน ขณะเดียวกันก็รอโอกาสในการเลือกตั้งสมาชิกสภาในอีกสองปีจากนี้
- ที่มา: วีโอเอ
กระดานความเห็น