ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยพบอัตราการเป็น 'โรคความจำเสื่อม' ลดลงในหมู่ผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่า


 72-year-old Kanemasa Ito and his 68-year-old wife Kimiko, who was diagnosed with dementia 11 years ago, chat at their home in Kawasaki, south of Tokyo, Japan, April 6, 2016.
72-year-old Kanemasa Ito and his 68-year-old wife Kimiko, who was diagnosed with dementia 11 years ago, chat at their home in Kawasaki, south of Tokyo, Japan, April 6, 2016.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:07 0:00

นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกนในสหรัฐ กล่าวในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Internal Medicine ว่า ผลการของศึกษาระบุว่าอัตราคนอเมริกันเป็นโรคสมองเสื่อมลดลง แม้จะมีอัตราผู้ป่วยเป็นโรคต่างๆ ที่อาจทำให้เป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และการมีน้ำหนักหรืออ้วนเกินขนาด

ผลของการศึกษาดังกล่าวยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ผู้ป่วยที่มีการศึกษาสูงกว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าที่จะเป็นโรคจิตเสื่อม

ศาสตราจารย์ Kenneth Langa ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน หัวหน้าคณะนักวิจัยชุดนี้ บอกว่า ผลการศึกษาวิจัยที่ว่านี้อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้วางนโยบายเศรษฐกิจของประเทศได้

คณะนักวิจัยชุดนี้พบว่า 11.6% ของผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปี และสูงกว่า ที่ได้สัมภาษณ์ในปีค.ศ. 2000 ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 21,000 คน มีอาการของโรคจิตเสื่อม

แต่ในปีค.ศ. 2012 อัตราดังกล่าวลดลงไปอยู่ที่ 8.8% และนักวิจัยบอกว่าในช่วงเวลา 12 ปีนั้น จำนวนปีที่ผู้ป่วยได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 12 ปี เป็น 13 ปี

คนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่เกิดในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือที่เรียกกันว่า Baby Boomers ทำให้ David R. Weir ผู้ร่วมเขียนรายงานการศึกษาวิจัยฉบับนี้ ให้ความเห็นว่า การลงทุนของรัฐบาลสหรัฐในการศึกษาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แสดงผลให้เห็นว่า ผู้สูงอายุเหล่านี้มีสุขภาพสมองดีกว่าคนรุ่นก่อน

ในอีกด้านหนึ่ง ศาสตราจารย์ Kenneth Langa กล่าวว่า ความแตกต่างด้านฐานะทางเศรษฐกิจและชาติพันธุ์ ส่งผลกระทบต่อการศึกษาที่บุคคลได้รับ ซึ่งอาจส่งผลต่อไปยังสุขภาพสมอง และโอกาสความเป็นไปได้ที่บุคคลจะสามารถทำงานและดำรงชีวิตได้อย่างเป็นอิสระในวัยทอง

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยชี้แนะว่า ยังมีวิธีอื่นๆ ที่จะสามารถใช้สมองให้ทำงานได้อย่างแข็งขันต่อไป ซึ่งรวมถึงการอ่านหนังสือและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ที่อาจช่วยชะลอผลกระทบของโรคจิตเสื่อมได้

XS
SM
MD
LG