ลิ้งค์เชื่อมต่อ

‘เมอร์เซเดส-เบนซ์’ เร่งเครื่องรุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเต็มสูบ


Daimler announces the world premiere of the Mercedes-Benz Vision AVTR concept car at the Daimler Keynote along with a sneak peek of the new Avatar 2 movie, background image, before the CES tech show Monday, Jan. 6, 2020, in Las Vegas. (AP Photo/Ross…
Daimler announces the world premiere of the Mercedes-Benz Vision AVTR concept car at the Daimler Keynote along with a sneak peek of the new Avatar 2 movie, background image, before the CES tech show Monday, Jan. 6, 2020, in Las Vegas. (AP Photo/Ross…
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:06:30 0:00


เดมเลอร์ (Daimler) ผู้ผลิตรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประกาศเร่งเครื่องรุกตลาดรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างเต็มสูบ แต่ได้เตือนว่าการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยียานยนต์ครั้งนี้อาจนำไปสู่การปรับลดแรงงานด้วยเช่นกัน ตามรายงานของรอยเตอร์

บริษัทเดมเลอร์ กางแผนลงทุนกว่า 40,000 ล้านยูโร หรือราว 1.5 ล้านล้านบาท ภายในปี ค.ศ. 2030 เพื่อพร้อมสำหรับการโค่นบัลลังก์รถยนต์ขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าจากเทสลา โดยจะสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้านี้ และภายในปี 2025 โรงงานใหม่ๆ ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ จะผลิตแต่รถขับเคลื่อนไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว และตั้งเป้าให้ยอดขายรถยนต์ราว 50% มาจากรถยนต์ไฟฟ้าและระบบไฮบริดในช่วงเวลาดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ทางเดมเลอร์ ไม่ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับการยุติการจำหน่ายรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม

ก่อนหน้านี้ บริษัท Geely ผู้ผลิตรถยนต์วอลโว ประกาศผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2030 และ General Motors ตั้งเป้าไว้ที่ปี 2035 ขณะที่ท่าทีของเดมเลอร์ มีขึ้นหลังจากสหภาพยุโรป มีแผนจะห้ามจำหน่ายรถที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลในปี 2035 เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน

เดมเลอร์ เตรียมเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 3 รุ่น ภายในปี 2025 และเตรียมสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ 4 แห่งในยุโรป และอีก 1 แห่งในสหรัฐฯ และจะสร้างโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่ในเยอรมนี ซึ่งจะเริ่มเดินเครื่องได้ในปี 2023

อย่างไรก็ตาม แผนลงทุนมหาศาลของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่จะเปลี่ยนจากการผลิตรถยนต์ดั้งเดิมมาเป็นพลังงานไฟฟ้า จะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานอย่างชัดเจน จากที่รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จะมีชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ที่น้อยกว่า และใช้แรงงานน้อยกว่าระบบดั้งเดิม

(ที่มา: Reuters)

XS
SM
MD
LG