ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้เชี่ยวชาญเตือนอย่าละเลยมาตรการป้องกันโควิด-19 แม้จะเริ่มมีวัคซีนใช้ 


FILE - A volunteer receives an injection from a medical worker during the country's first human clinical trial for a potential vaccine against the novel coronavirus, at Baragwanath Hospital in Soweto, South Africa, June 24, 2020.
FILE - A volunteer receives an injection from a medical worker during the country's first human clinical trial for a potential vaccine against the novel coronavirus, at Baragwanath Hospital in Soweto, South Africa, June 24, 2020.
Covid Measures Won't End With Vaccine
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:55 0:00


ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ William Schaffner จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ในรัฐเทนเนสซีกล่าวว่า วัคซีนไม่ใช่ชุดเกราะ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือวัคซีนไม่น่าจะใช้ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์

ตัวอย่างเช่นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลได้ผลที่ดีที่สุดเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนวัคซีนที่มีประสิทธิผลน้อยที่สุดก็ใช้ได้ผลเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ก่อนหน้านี้องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA ได้ตั้งเป้าหมายให้วัคซีนโควิด-19 มีประสิทธิผลอยู่ที่เกณฑ์ 50 เปอร์เซนต์

Jesse Goodman ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและอดีตหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ FDA ซึ่งปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ในกรุงวอชิงตันกล่าวว่าถึงแม้วัคซีนที่มีประสิทธิผลบางส่วนอาจสามารถช่วยกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่นบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับประชากรทั่วๆ ไป

เขากล่าวว่าวัคซีนไม่ใช่สิ่งที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชากรทุกคนทั้งประเทศได้ เพราะถึงแม้ทุกคนจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แต่ก็อาจยังไม่มีภูมิคุ้มกันในหมู่ประชาชนอย่างเพียงพอที่ะหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ได้

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่าแม้แต่วัคซีนที่ไม่สมบูรณ์ก็อาจช่วยลดความรุนแรงของอาการป่วยเพื่อจะได้ไม่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ก็ย้ำว่ายังมีความเสี่ยงที่แม้แต่ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วจะแพร่เชื้อได้โดยไม่รู้ตัว

ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่า สถานการณ์ที่แย่ที่สุดก็คือ การที่วัคซีนทำงานได้ดีพอที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ติดเชื้อมีอาการเจ็บป่วย แต่ยังไม่ดีพอที่จะยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ ทั้งนี้เพราะวัคซีนอาจสามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่ไม่สามารถปิดกั้นไวรัสได้อย่างสมบูรณ์ แต่เพียงแค่ลดความรุนแรงไม่ให้ผู้ป่วยต้องทรมานกับอาการป่วยของโรค แต่ผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนและแม้ไม่ได้มีอาการก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้ต่อไป และนั่นคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้โควิด-19 ยากที่จะควบคุม

FILE PHOTO: FILE PHOTO: A person wears a scarf as a protective face mask in Melbourne, the first city in Australia to enforce mask-wearing to curb a resurgence of COVID-19
FILE PHOTO: FILE PHOTO: A person wears a scarf as a protective face mask in Melbourne, the first city in Australia to enforce mask-wearing to curb a resurgence of COVID-19

นอกจากนั้น Paul Duprex ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวัคซีนแห่งมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์กยังกล่าวว่าวัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันทุกคนได้อย่างเท่าเทียมกัน เพราะอาจมีความแตกต่างมากมายในกลุ่มเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะสุขภาพบางอย่างรวมทั้งยังอาจมีความแตกต่างกันในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เรื่องการตอบสนองต่อวัคซีนด้วย

ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญจึงเตือนว่าการที่เราจะสามารถเลิกใส่หน้ากากอนามัยได้เมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่ได้รับวัคซีนและการสร้างภูมิต้านทานหมู่ด้วย ทั้งนี้เพราะนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทราบในทันทีว่าวัคซีนใหม่ที่ใช้เวลาพัฒนาเพียงแค่ไม่ถึงปีจะสามารถปกป้องสุขภาพของแต่ละคนได้นานแค่ไหน

ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แนะด้วยว่าทุกคนควรจะยังใช้หน้ากากอนามัยต่อไปอย่างน้อยที่สุดตลอดปีหน้า ขณะที่นักวิทยาศาสตร์พยายามเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโควิด-19 และว่าต่อไปเชื้อไวรัสนี้อาจจะไม่หายไปโดยสิ้นเชิง เพราะโควิด-19 อาจจะกลายเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพที่พบเห็นได้บ่อยครั้งนั่นเอง

XS
SM
MD
LG