ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยเตือน 'อย่าการ์ดตก' ต่อเหตุการณ์เสี่ยงเเพร่โควิดในวงกว้าง


People enjoy the Ipanema beach amid the new coronavirus pandemic in Rio de Janeiro, Brazil, Sunday, Sept.6, 2020. Brazilians are packing the beaches and bars this weekend, taking advantage of a long holiday to indulge in normal life even as the…
People enjoy the Ipanema beach amid the new coronavirus pandemic in Rio de Janeiro, Brazil, Sunday, Sept.6, 2020. Brazilians are packing the beaches and bars this weekend, taking advantage of a long holiday to indulge in normal life even as the…

นักวิจัยเตือนให้ระวังกิจกรรมที่เร่งการระบาดของโควิด-19 ขณะที่วัคซีนซึ่งปลอดภัยอาจยังไม่มีให้ใช้อย่างน้อยจนกลางปีหน้า

การชุมนุมรวมตัวของคนจำนวนมากในกิจกรรมหรือสถานที่ต่างๆ เช่นพิธีแต่งงาน งานปาร์ตี้ ไนท์คลับ และภัตตาคารในสถานที่ปิด หรือการชุมนุมในโบสถ์ล้วนเป็นตัวอย่างของเหตุการณ์ที่เรียกว่า super spreading event ที่ทำให้มีการแพร่เชื้อโควิด-19 อย่างกว้างขวางและรวดเร็วได้ ตัวอย่างเช่นการชุมนุมของผู้นิยมมอเตอร์ไซค์บิ๊คไบค์ที่เมือง Sturgis ในรัฐเซาท์ดาโกตาเมื่อกลางเดือนสิงหาคมซึ่งประมาณว่ามีผู้ไปร่วมกิจกรรมราว 250,000 คนนั้น ขณะนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้วอย่างน้อยในสิบรัฐจำนวน 236 คน

นักระบาดวิทยาชี้ว่าการแพร่เชื้อโดยบุคคลที่เรียกว่า super spreader นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะเคยเกิดขึ้นสำหรับโรคระบาดอื่นๆ อย่างเช่นโรค MERS และ SARS มาแล้ว และว่าโดยปกติแล้วการระบาดดังกล่าวมักจะเป็นไปตามกฎที่เรียกว่า 20/80 คือคนราว 20% มีส่วนสำหรับการระบาด 80% แต่สำหรับในกรณีโควิด-19 นี้ตัวเลขดังกล่าวอาจจะเป็นสัดส่วน 10/90 ซึ่งหมายถึงว่ามีผู้ติดเชื้อราว 10% ที่รับผิดชอบสำหรับการระบาดส่วนใหญ่ 90%

A waiter wearing a mask to curb the spread of the new coronavirus tends to a couple of customers outside a restaurant in the Usaquen neighborhood of Bogota, Colombia, Thursday, Sept. 3, 2020. Restaurants are reopening in most of Colombia as the…
A waiter wearing a mask to curb the spread of the new coronavirus tends to a couple of customers outside a restaurant in the Usaquen neighborhood of Bogota, Colombia, Thursday, Sept. 3, 2020. Restaurants are reopening in most of Colombia as the…

คำถามคือว่าอะไรทำให้เกิด super spreader ขึ้น?

ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบคำตอบที่ชัดเจนแต่เชื่อว่าอาจมาจากเหตุผลสองสามประการ คือระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้ผู้รับเชื้อไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าและนานกว่าคนอื่น รวมทั้งพฤติกรรมและสถานที่กับสิ่งแวดล้อมด้วย นักวิจัยยกตัวอย่างว่าการใช้เวลานานเช่นกว่า 15 นาทีในสถานที่ปิดซึ่งไม่มีระบบระบายอากาศที่ดีและมีคนอยู่มาก รวมทั้งไม่สามารถเว้นระยะห่าง เช่นในร้านอาหารซึ่งเป็นสถานที่ปิด คอลเซ็นเตอร์ หรือในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สร้างสภาพแวดล้อมทำให้เกิดการแพร่เชื้อแบบ super spreader ได้ทั้งสิ้น

นอกจากนั้นพฤติกรรมหรือกิจกรรมบางอย่างของบุคคลก็อาจช่วยส่งเสริมการแพร่ระบาดของเชื้อในวงกว้างได้ อย่างเช่นพฤติกรรมการเปล่งเสียง การร้องตะโกน การเชียร์กีฬา การพูดเสียงดัง หรือการร้องเพลง ซึ่งจะทำให้มีโอกาสปล่อยเชื้อออกมาได้มากกว่าปกติ

อีกด้านหนึ่งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐรวมทั้งสมาคมแพทย์อเมริกันรายงานว่าไม่ควรคาดหวังเรื่องการใช้วิธีตรวจหาแอนตี้บอดี้ในฐานะใบเบิกทางหรือพาสปอร์ตให้สามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติหรือใช้ชีวิตตามปกติได้ เนื่องจากขณะนี้นักวิจัยยังไม่มีคำตอบอย่างชัดเจนว่าแอนตี้บอดี้ของผู้ที่เคยรับเชื้อนั้นจะสามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำสองได้ดีมากแค่ไหนหรือเป็นระยะเวลายาวนานเพียงใด ดังนั้นประโยชน์จากการตรวจหาแอนตี้บอดี้ในขณะนี้คืออย่างน้อยจะช่วยให้เห็นภาพว่าไวรัสโควิด-19 กระจายออกไปมากน้อยแค่ไหนในเขตพื้นที่รวมทั้งในกลุ่มประชากรต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสืบสวนติดตามและควบคุมการระบาดของโรค

ขณะเดียวกันองค์การอนามัยโลกก็เตือนว่ายังไม่ควรคาดหวังว่าจะมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ปลอดภัยและได้ผลให้ใช้ได้ก่อนกลางปีหน้า ขณะนี้วงการแพทย์ตั้งเป้าหมายไว้ว่าวัคซีนที่ทดลองจะต้องประสบความสำเร็จในกลุ่มอาสาสมัครอย่างน้อย 50% จึงจะสามารถนำมาใช้ในกลุ่มประชากรทั่วไปได้ และมีบริษัทเภสัชกรรมอย่างน้อยสามแห่งที่ทำการทดลองวัคซีนเข้าสู่ระยะที่สามซึ่งมีอาสาสมัครเข้าร่วมการทดลองอย่างน้อย 30,000 คนแล้ว

FILE - Director General of the World Health Organization (WHO) Tedros Adhanom Ghebreyesus attends a news conference in Geneva, Switzerland, Feb. 28, 2020.
FILE - Director General of the World Health Organization (WHO) Tedros Adhanom Ghebreyesus attends a news conference in Geneva, Switzerland, Feb. 28, 2020.

แต่องค์การอนามัยโลกเตือนว่าในขณะที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องวัคซีนนั้นการปฎิบัติตัวอย่างระมัดระวัง เช่น การสวมหน้ากาก การเว้นระยะห่าง และการเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ปิดซึ่งมีผู้คนจำนวนมากดูจะเป็นวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดก่อนที่โลกจะมีวัคซีนให้ใช้ได้นั่นเอง

XS
SM
MD
LG