ลิ้งค์เชื่อมต่อ

‘ภาวะออกซิเจนในทะเลลดลง’ ภัยคุกคามความอยู่รอดของแนวปะการัง


Para penyelam melakukan transplantasi karang di titik yang rusak akibat gempa dan tsunami tahun 2004, dekat pulau Weh, provinsi Aceh, 18 Juni 2008. (Foto: AP)
Para penyelam melakukan transplantasi karang di titik yang rusak akibat gempa dan tsunami tahun 2004, dekat pulau Weh, provinsi Aceh, 18 Juni 2008. (Foto: AP)
Coral Reef Lack Oxygen
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:08 0:00


ปัญหาอุณหภูมิในมหาสมุทรที่สูงขึ้นและค่าความเป็นกรดของน้ำทะเลที่เพิ่มมากขึ้น ได้ทำลายพื้นที่แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศทางทะเลอันหลากหลายนี้ ให้ลดลงไปราว 30-50% นับตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 และตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญต่างกังวลว่า แนวปะการังจะหายไปจากผืนทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ภายในอีก 20 ปีข้างหน้า

อีกทั้งในการศึกษาล่าสุด ค้นพบภัยคุกคามความอยู่รอดของแนวปะการัง นั่นคือ ระดับออกซิเจนในน้ำทะเลที่ลดลงอย่างฉับพลัน

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications ยืนยันการค้นพบภัยคุกคามความอยู่รอดของแนวปะการัง อันเป็นบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล นอกเหนือจากปัญหาอุณหภูมิและค่าความเป็นกรดในน้ำทะเลที่สูงขึ้น นั่นคือ ภาวะระดับออกซิเจนในน้ำทะเลที่ลดลงอย่างฉับพลัน

แมกกี จอห์นสัน (Maggie Johnson) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศตามแนวปะการัง จาก Woods Hole Oceanographic Institute หัวหน้าการศึกษาครั้งนี้ เล่าถึงเมื่อครั้งที่เธอลงพื้นที่ดำน้ำสำรวจบริเวณชายฝั่ง Bocas del Toro ของปานามา ภายใต้โครงการวิจัยระบบนิเวศตามแนวปะการังของสถาบัน Smithsonian Tropical Research Institute เมื่อปี 2017 และได้ค้นพบพฤติกรรมที่ผิดปกติของสิ่งมีชีวิตที่พยายามหลบหนีจากบริเวณพื้นทะเลที่มีน้ำขุ่น และหลังจากกลับขึ้นบนผิวน้ำเธอก็ได้พบกลิ่นฉุนจากน้ำทะเล

ทีมวิจัยค้นพบว่าการปรับลดลงของออกซิเจนอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำชายฝั่งในปานามา ทำลายทั้งแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตซึ่งอาศัยตามแนวปะการังเป็นจำนวนมาก เพราะจากการที่ออกซิเจนคือสิ่งสำคัญของการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต เมื่ออุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น น้ำจะมีระดับออกซิเจนลดลงไปด้วย

ขณะเดียวกัน ทีมวิจัยพบว่า ปัจจัยของน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น รวมกับความเร็วลมที่ต่ำทำให้น้ำทะเลไม่ไหลเวียน และถูกซ้ำเติมด้วยปริมาณสาหร่ายในทะเลที่มากขึ้นจากการปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล จะยิ่งทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำน้อยลงไปอีก

สัตว์น้ำหลายชนิด อย่างพวกปลา สามารถแหวกว่ายไปจากน้ำที่ระดับออกซิเจนร่อยหรอไปได้ แต่สิ่งมีชีวิตในทะเลชนิดอื่นอาจไร้ทางหลบหนี และภาวะระดับออกซิเจนในน้ำที่ลดฮวบลง อาจทวีความรุนแรงภายในเวลาไม่กี่วันได้

จอห์นสัน หัวหน้าการวิจัยนี้ เพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ยังมีแนวปะการังจำนวนมากที่ยังมีชีวิตอยู่ และเป็นแนวปะการังอายุมากเป็นร้อยๆ ปี แต่หลังจากเกิดปรากฎการณ์ระดับออกซิเจนในน้ำทะเลลดลงอย่างฉับพลัน แนวปะการังเหล่านี้ก็หายไป

ทีมวิจัยลงพื้นที่เก็บตัวอย่างของปะการังและสิ่งมีชีวิตในพื้นที่หลังเกิดปรากฎการณ์ระดับออกซิเจนในน้ำทะเลลดลงอย่างฉับพลัน และพบว่า ภายใน 6 วันหลังเกิดปรากฎการณ์นี้ แนวปะการังหายไปถึง 50% และหลังผ่านพ้นไป 1 ปี จากเหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งมีชีวิตตามแนวปะการังต่างๆ ยังไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศวิทยาทางทะเล ยังแสดงความกังวลถึงผลกระทบจากระดับออกซิเจนในน้ำทะเลที่ลดลงอย่างฉับพลัน ว่าอาจทำให้เกิด ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ หรือกระบวนการที่ปะการังมีสีซีดจางลง หลังจากสูญเสียสาหร่ายขนาดเล็ก ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันภายในเนื้อเยื่อของปะการัง ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาระบุให้เป็นสาเหตุสำคัญของการล้มตายของแนวปะการังทั่วโลกได้

ฟรานซิส ชาน (Francis Chan) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศวิทยาทางทะเล ที่ศึกษาเรื่องปรากฎการณ์ระดับออกซิเจนในน้ำทะเลลดลงในมหาสมุทรแปซิฟิก จาก Oregon State University ให้ทรรศนะว่า เมื่อพูดถึงปัญหานี้ แนวปะการังอาจไม่ใช่พื้นที่แรกที่เรานึกถึง แต่เป็นพิกัดที่เห็นผลกระทบได้ชัดเจน และตอนนี้เห็นได้ชัดว่า ภาวะโลกร้อนจะยิ่งลดระดับออกซิเจนในน้ำที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล

ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศวิทยาทางทะเล ต่างแนะว่า หนทางในการรับมือกับปรากฎการณ์ระดับออกซิเจนในน้ำทะเลลดลงตามแนวปะการัง มีทั้งการติดตามตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงตามแนวปะการัง การใช้นโยบายเพื่อควบคุมการปล่อยของเสียลงสู่ทะเล รวมทั้งการศึกษาแนวปะการังที่ทนทานต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

และคุณฟรานซิส ชาน ทิ้งท้ายว่าขณะนี้จะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นว่าภาวะโลกร้อนมีผลทำให้ออกซิเจนในระบบนิเวศทางทะเลลดลง

XS
SM
MD
LG