ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การเปลี่ยน 'ไลฟ์สไตล์' ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหลังบำบัดมะเร็งลำไส้ใหญ่


Colon Cancer
Colon Cancer
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:05 0:00

ผลการศึกษานี้เปิดเผยออกมาก่อนหน้าการประชุมของมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งสหรัฐฯ (American Society of Clinical Oncology) ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยามะเร็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโก (UCSF) ได้วิเคราะห์ข้อมูลที่จัดเก็บได้ในการศึกษาขนาดใหญ่ ที่มีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่โรคก้าวหน้าขั้นที่สามจำนวน 1,000 คนจากทั่วสหรัฐฯ เข้าร่วมการศึกษาในช่วงปีค.ศ. 1999-2001

อาสาสมัครในการศึกษาได้รับการประเมินนาน 7 ปีและผู้ป่วยทั้งหมดเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาล 13 แห่งทั่วประเทศ

ตลอดช่วงการศึกษาวิจัย อาสาสมัครต้องตอบแบบสอบถามสองครั้ง โดยเป็นการสอบถามถึงวิถีการใช้ชีวิตหลังการบำบัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ตรงกับข้อแนะนำด้านการป้องกันจากสมาคมมะเร็งอเมริกัน

ข้อแนะนำดังกล่าวจากสมาคมมะเร็งอเมริกันรวมถึงการรักษาระดับน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับแข็งแรง รับประทานอาหารที่อุดมด้วยผักและผลไม้ ลดการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป ตลอดจนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

จากผลของแบบสอบถาม มีเพียง 9 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยอาสาสมัครทั้งหมดในการศึกษาได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำเหล่านี้ และในกลุ่มคนเหล่านี้ ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตลดลง 42 เปอร์เซ็นต์ และความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่หวนคืนลดลง 31 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับผู้ป่วยอาสาสมัครที่ไม่ปฏิบัติตามข้อแนะนำทางสุขภาพดังกล่าว

การศึกษาที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลนี้และเป็นการศึกษาครั้งแรกถึงโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ภายหลังการบำบัด

มีรายงานว่ามีคนที่รอดชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่หนึ่งล้านคนในสหรัฐฯ ทำให้มะเร็งชนิดนี้เป็นสาเหตุใหญ่อันดับที่สองของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทุกชนิด

Erin Van Blarigan หัวหน้าผู้ร่างผลการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก (UCSF) กล่าวว่า "ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับการบำบัดมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าที่เคยมีมาในอดีต แต่จำเป็นต้องเน้นด้านการดูแลเพื่อส่งเสริมการอยู่รอดและโรคไม่หวนคืน"

ผู้เชี่ยวชาญคนนี้เรียกร้องให้มีการเพิ่มการบริการด้านความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยหลังการบำบัดเพื่อให้ปรับปรุงวิถีชีวิต

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นผู้จัดทำแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ชีวิตหลังการบำบัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในขณะที่ทีมนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโกเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

(รายงานโดย Jessica Berman / ทักษิณา ข่ายแก้ว )

XS
SM
MD
LG